Loading AI tools
องค์กรตำรวจของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อังกฤษ: Royal Thai Police) เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาไม่สังกัดกระทรวงใดและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย[4] จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2541 โดยเปลี่ยนจากกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย[5] ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ Royal Thai Police | |
---|---|
เครื่องหมายราชการ | |
ตราอาร์ม | |
ธงประจำหน่วยงาน | |
อักษรย่อ | ตร. / RTP |
คำขวัญ | พิทักษ์สันติราษฎร์ |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2403 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เจ้าหน้าที่ | ประมาณ 230,000 นาย[1][2] |
งบประมาณรายปี | 125,304,728,300 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานแห่งชาติ | ประเทศไทย |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
แผนที่เขตอำนาจของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | |
บัญญัติตราสาร |
|
สำนักงานใหญ่ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร |
ได้รับเลือกเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ |
|
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี |
สำนักงาน | 12
|
ส่วนภูมิภาค | 9
|
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์ของสำนักงาน |
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีผู้บังคับบัญชาสูงสุดคือ พลตำรวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมีโฆษกประจำสำนักงานฯ คือ พลตำรวจโท อาชยน ไกรทอง
ในช่วงแรก ตำรวจเรียกโดยคำทับศัพท์ว่า โปลิศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Police สำหรับเรียกหน่วยตำรวจที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นระบบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ (Capt. Samuel Joseph Bird Ames) เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศในปี พ.ศ. 2403 มีภารกิจในการรักษาความสงบภายในประเทศ แทนที่ตำแหน่งเดิมคือข้าหลวงกองจับ และกองตระเวนซ้ายขวา ซึ่งในช่วงเริ่มต้นได้มีการจ้างแขกมลายูและอินเดียมาเป็นตำรวจ เรียกว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล และค่อย ๆ เปลี่ยนมาใช้คนไทยในเวลาต่อมา[ต้องการอ้างอิง]
สำหรับอีกคำคือคำว่า พลตระเวน ซึ่งยังมีใช้งานปัจจุบันอยู่บนตราของตำรวจภูธร มาจากการแปลงคำเรียกตำรวจในภาษาอังกฤษ คำว่า COP ซึ่งย่อมาจาก Constable of Patrol แปลว่า ตำรวจลาดตระเวน หรือ พลตระเวน ซึ่งคำนี้ภายหลังใช้งานแทนชื่อเดิมเมื่อครั้งก่อตั้งคือกองโปลิศ และแบ่งออกเป็น 2 หน่วยตามหน้าที่ความรับผิดชอบ คือ กองพลตระเวน สังกัดกระทรวงนครบาล และกรมตำรวจภูธร สังกัดกระทรวงมหาดไทย[ต้องการอ้างอิง]
อีกคำที่เรียกตำรวจคือคำว่า หมาต๋า มาจากภาษาจีน ซึ่งแปลว่าตำรวจเช่นกัน โดยใช้เรียกโดยคนจีนในเกาะฮ่องกง และประเทศจีนทางตอนใต้ คำว่า มา หรือ หม่า แปลว่าชาวมุสลิม และคำว่า ต๋า หรือ ต๊า มาจากคำว่าตี โดยใช้เรียกชาวกุรข่าที่ทางการอังกฤษในยุคนั้นจ้างมาทำหน้าที่ตำรวจ จึงใช้เรียกชาวกุรข่าเหล่านั้นตามลักษณะและการทำหน้าที่[7]
ตำรวจในยุคเริ่มต้นก่อนการจัดตั้งกองตำรวจสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยจากหลักฐานที่พบ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถปกครองในรูปแบบของจตุสดมภ์ ซึ่งกิจการตำรวจแบ่งออกเป็นตำรวจพระนครบาล และตำรวจภูธร สังกัดอยู่กับเวียง และตำรวจหลวงสังกัดวัง จากนั้นในปี พ.ศ. 1918 ได้โปรดเกล้าตราให้ตำแหน่งตำรวจเป็นตำแหน่งนายพลเรือนเช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น คนที่ทำหน้าที่ตำรวจต้องคัดเลือกจากผู้สืบเชื้อสายตระกูลที่ประกอบคุณงามความดี จนได้รับความไว้วางใจ ขึ้นตรงการบังคับบัญชาตรงกับพระมหากษัตริย์และปฏิบัติงานในขอบเขตจำกัด[6]
ในยุครัตนโกสินทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้ง ข้าหลวงกองจับ ซึ่งมีภารกิจคล้ายกับตำรวจ เรียกอีกชื่อว่า ตำรวจหวาย แต่งกายด้วยชุดพลเรือนพร้อมกับมัดหวาย ช่วยเหลือตุลาการในการทำงานคล้ายคลึงกับตำรวจในลอนดอนที่ชื่อว่า โบสตรีทรันเนอร์ส (Bow Street Runners) ซึ่งข้าหลวงกองจับที่ตั้งขั้นมานั้นไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ (Capt. Samuel Joseph Bird Ames) มาจัดตั้งกองตำรวจในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแบบยุโรปในปี พ.ศ. 2403 และจัดตั้งกองโปลิศคอนสเตบิล[8]
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กองโปลิศคอนสเตเบิลที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 นั้นยังมีกำลังพลไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน รวมถึงกำลังพลทั้งหมดยังคงเป็นชาวต่างชาติ ทำให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับราษฎรในขณะนั้นยังเป็นปัญหาในการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงได้ปรับปรุงกองตำรวจนั้นให้ทันสมัย ขยายพื้นที่ความรับผิดชอบไปทั่วทั้งมณฑลกรุงเทพ และพระราชทานนามว่า กองโปลิส และรับสมัครชาวไทยเข้าทำหน้าที่ตำรวจ และประกาศตรากฎหมายจำนวน 53 ข้อเพื่อกำหนดขอบเขตหน้าที่ รวมถึงกำหนดยศสำหรับสายการบังคับบัญชาตามรูปแบบของตะวันตก ประกอบไปด้วย[8]
ภายหลังการตรากฎหมายดังกล่าว ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ในปี พ.ศ. 2420 ว่า กองตะเวน ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระยศในเวลานั้น) เนื่องจากเคยเป็นทูตประจำประเทศอังกฤษ ทำให้มีความเข้าใจการปฏิบัติงานของตำรวจในอังกฤษจากการศึกษาดูงานมาช่วงดำรงตำแหน่ง โดยหลังจากได้รับตำแหน่ง ได้ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่ให้มีความทันสมัย โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงานแยกจากกันอิสระ บังคับบัญชาโดยเจ้ากรม[8] คือ
โดยมีการฝึกอบรมให้กับตำรวจใหม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และการฝึกระเบียบและอาวุธ ซึ่งมีอาวุธ 4 ชนิดคือ ปืนไรเฟิล ปืนสั้น ดาบ และกระบอง ห้ามใช้อาวุธในการจับผู้กระทำผิด นอกจากมีการต่อสู้ด้วยอาวุธ รวมถึงมีการกำหนดเครื่องแบบตามอย่างตำรวจประเทศอังกฤษ[8]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการปฏิรูปการปกครองของแผ่นดินให้มีความทันสมัยตามแบบตะวันตก จึงมีการโปรดเกล้าฯ ตั้งกระทรวงตามรูปแบบใหม่ทั้งหมด 12 กระทรวง และมอบหมายให้เสนาบดีเป็นหัวหน้าในแต่ละกระทรวง โดยกรมกองตระเวนนั้นเป็นกรมใหญ่ จึงให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีประจำกระทรวงนครบาลได้ดูแลไปก่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์จึงได้กราบบังคมทูลให้ทรงว่าจ้างชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ในงานกองตระเวนมาดูแลกรมกองตระเวน จึงได้มีพระบรมราชานุญาตให้จ้าง มิสเตอร์เอ เย เอ ยาร์ดิน (อาร์เธอร์ จอห์น อเล็กซานเดอร์ ยาร์ดิน – Mr.Arthur John Alexander Jardine) ซึ่งเป็นข้าราชการประจำกองตระเวนอังกฤษในประเทศอินเดีย สังกัดกรมกองตระเวนเมืองพม่า ตำแหน่งเจ้ากรมแขวงผาปูน เมืองพม่า ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษได้ยินยอมให้มีการยืมตัวเป็นระยะเวลา 9 ปี เพื่อมารับตำแหน่ง ผู้บังคับการกองตระเวน (Chief Commissioner) เพื่อมาบริหารกรมกองตระเวน ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2440[9]
จากนั้นมิสเตอร์ยาดินได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานและบังคับบัญชาใหม่ โดยยุบรวมกองตระเวนต่าง ๆ และจัดลำดับขั้นการบังคับบัญชา ให้มีอธิบดี (Inspector General) รองอธิบดี (Deputy Inspector General) เจ้ากรมแขวง (Superintendents of Divisions) ปลัดกรม (Assistant Superintendents) และสารวัตรใหญ่ (Chief Inspectors) ให้มีการจัดตั้งกองตระเวนม้าโดยคัดเลือกพลตระเวนชาวอินเดียมาทำหน้าที่ และเปลี่นยแปลงสีของเครื่องแบบเป็นสีกากีตามแบบกองตระเวนอินเดีย เนื่องจากสีน้ำเงินเดิมเมื่อใช้งานในเขตร้อนเมื่อเวลาผ่านไปสีจะซีด จัดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ายามประจำการมีนกหวีด จัดหากุญแจมือและโซ่ล่ามผู้ต้องหาในแต่ละโรงพัก รวมถึงกำหนดเงินเดือนที่เพียงพอเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน[9]
ต่อมาได้ปรับปรุงหน่วยกองตระเวนชั้นนอก เนื่องจากมีพื้นที่รับผิดชอบที่กว้างขวางมาก โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้แนวคลองแสนแสบและคลองภาษีเจริญเป็นเส้นแบ่งเขตแนวรับผิดชอบ ประกอบไปด้วย กองตระเวนชั้นนอก แขวงฝ่ายเหนือ และกองตระเวนชั้นนอก แขวงฝ่ายใต้[9]
ก่อนหน้านั้นในส่วนภูมิภาคไม่มีตำรวจเป็นของตนเอง หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยจึงเป็นของเจ้าเมือง โดยมีกรมการเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ช่วยในการรักษาความสงบ และเมื่อเกินความสามารถก็มีการตั้งกองตระเวนเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อควบคุมสถานการณ์เหล่านั้นเป็นการชั่วคราวด้วยเงินภาษีของเมือง และเกณฑ์กำลังพลจากในเมืองเอง ในปี พ.ศ. 2440 หลังจากการยกฐานะกองตระเวนขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกรมมาแล้ว 5 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอลเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น มอบหมายให้ ร้อยเอก ยี เชา (G. Schau) หรือหลวงศัลวิธานนิเทศ ซึ่งเป็นนายทหารจากกรมมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทำหน้าที่เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร สังกัดกระทรวงมหาดไทยที่มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งเสนาบดี[9]
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 ได้มีการโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราเครื่องหมายโล่กับดาบ เป็นเครื่องหมายประจำกรมพลตระเวน และในปี พ.ศ. 2454 ได้ทรงอนุญาตให้ใช้ ตราพระแสงดาบเขนและโล่ เพื่อประกอบที่บริเวณมุมธงประจำกรมตำรวจภูธร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน[10]
นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้จัดตั้งกรมนักสืบขึ้นมา (C.I.D) และให้รวมเจ้าหน้าที่มาส่วนหนึ่งเพื่อจัดตั้งกรมที่ชื่อว่า ตำรวจภูบาล สังกัดกรมตำรวจภูธร มีภารกิจในการช่วยเหลือตำรวจท้องที่สืบสวนปราบปรามความไม่สงบและงานในสายวิทยาการ[11] ต่อมาเนื่องจากงบประมาณและการบังคับบัญชาที่แยกออกจากกัน ทำให้การบริหารจัดการกิจการตำรวจเกิดความยากลำบาก จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมตำรวจภูธรและกรมกองตระเวนเข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน[11] ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458[11] และมอบหมายให้ พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดี และให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาล ที่ดูแลโดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่เป็นเสนาบดี[12] และในช่วงปลายปีได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล[13]
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรื้อฟื้นตำรวจภูบาลอีกครั้งหลังจากสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ กลับเข้ามารับตำแหน่งทางการเมืองในฐานะอภิรัฐมนตรี เพื่อปฏิบัติการอีกครั้ง โดยเป็นหน่วยที่ปฏิบัติงานด้านการข่าวในทางการเมือง ซึ่งในขณะนั้นมีข่าวเกี่ยวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มบอลเชวิคในรัสเซียช่วงปี พ.ศ. 2460 ทำให้มีความกังวลว่าจะมีการเคลื่อนไหวดังกล่าวในประเทศไทย[11]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าด้วยกัน เหลือเพียงกระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล จึงได้ย้ายมาสังกัดต่อกระทรวงมหาดไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนชื่อ กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล เป็น กรมตำรวจภูธร[14] โดยยังแบ่งโครงสร้างภายในเป็น 2 ส่วนเช่นเดิม คือตำรวจภูธร และตำรวจนครบาล[13]
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะกรรมการราษฎรได้มีการเสนอญัตติให้สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาการจัดวางโครงการกรมตำรวจในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 แถลงญัตติโดย พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) ภายหลังการประชุม ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ กรมตำรวจภูธร เป็น กรมตำรวจ[11] โดยมีตำแหน่งอธิบดี และมีรองอธิบดีเป็นผู้ช่วย และแบ่งโครงสร้างในขณะนั้นออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันคือ
ในทางการเมืองขณะนั้น ตำรวจไม่ได้มีบทบาทใดเลยในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง หลังการรัฐประหารโดย พลตรี เผ่า ศรียานนท์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และได้โอนจากทหารเข้ามาคุมกรมตำรวจ ได้รับยศพลตำรวจเอก และพัฒนากรมตำรวจอย่างก้าวกระโดดจนเทียบเท่าเหล่าทัพหนึ่งในขณะนั้น[15][16] ซึ่ง พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ได้มีประโยคที่สร้างการจดจำภาพลักษณ์ของตำรวจมาจนถึงทุกวันนี้คือ
ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และกฎหมายบ้านเมือง[16]
หลังจากนั้นตำรวจได้กลายเป็นเหมือนเครื่องมือทางการเมืองชิ้นหนึ่งของผู้มีอำนาจ ในการใช้แสวงหาและใช้ในการรักษาฐานอำนาจ โดยฝ่ายการเมืองนั้นสามารถที่จะควบคุมการทำงานของตำรวจผ่านการควบคุมผู้นำองค์กรและแทรกแซงการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจมาโดยตลอด ทั้งจากฝั่งของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และนายทหารที่มาจากการรัฐประหาร[17]
ในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 กรมตำรวจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ถ่ายโอนไปขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[18] โดยหลังการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้มีการกราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นประธานในการทำพิธีเจิมป้ายชื่อใหม่ โดยมี พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรกเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย[19]
ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอด เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[ต้องการอ้างอิง]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการระดับกรมมีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยไม่อยู่ในสังกัดกระทรวงใด ๆ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547[20]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งหน่วยงานในสังกัดตามรูปแบบการปฏิบัติงาน[21] ประกอบไปด้วย
เครื่องแบบของตำรวจไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษ[6] โดยในช่วงแรกตำรวจไทยแต่งกายด้วยเสื้อสีน้ำเงิน กางเกงตามสมัย และสวมหมวกยอด (Helmet) ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นสีกากีตามความต้องการของ มิสเตอร์เอ เย เอ ยาร์ดิน ผู้บัญชาการตำรวจคนแรกของไทย เนื่องจากสีน้ำเงินเมื่อใช้นานไปสีจะซีด ทำให้มีโทนสีที่ไม่สม่ำเสมอกัน[9]
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการพระราชทานสีของเครื่องแบบใหม่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือสี สนว.01 เนื่องจากสีกากีเดิมที่ใช้งานอยู่มีหลายเฉดสี ไม่มีสีมาตรฐาน โดย พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้นได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบในการปฏิบัติงานให้เป็นสีดังกล่าวภายในระยะเวลา 3 เดือน[25] และเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายต้องตัดผมสั้นเกรียน โดยเรียกกันอย่างลำลองว่า ต้องขาวสามด้าน[26] เพื่อความมีระเบียบวินัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายป้องกันปราบปราม[27] เพื่อความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงาน โดยเปลี่ยนเครื่องหมายเป็นผ้า จากเดิมเป็นโลหะ และเปลี่ยนเนื้อผ้าให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการป้องกันปรามปรามอาชญากรรม[28] โดยเริ่มนำร่องใช้งานในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นพื้นที่แรก
พาหนะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วยพาหนะที่หลากหลาย ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยน อากาศยานปีกหมุนและปีกตรึง รวมถึงเรือตรวจการณ์ ตามภารกิจและหน้าที่ของตำรวจหน่วยนั้น โดยใช้สีพื้นฐานของพาหนะเป็นสีเลือดหมู ซึ่งเป็นสีประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติประดับอยู่บนยานพาหนะ
ในอดีตรถตำรวจท้องที่จะเป็นรถสีเลือดหมูในพื้นที่ตำรวจภูธร และสีดำในพื้นที่ตำรวจนครบาล แล้วคาดสีขาวในช่วงกลางของรถ แต่ปัจจุบันรถตำรวจท้องที่จะใช้สีเดิมของรถ (ส่วนใหญ่สีบรอนซ์เงิน) และคาดแถบสีแดงเลือดหมูขอบดำบนแนวยาวของรถ พร้อมอักษรบอกสังกัดตอนท้ายของรถ[29] สำหรับรถยนต์นั้นปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการใช้งานทั้งในรูปแบบของการซื้อขาดเป็นทรัพย์สินของทางราชการ[30] และในรูปแบบของการเช่าใช้งานโดยกำหนดระยะเวลา[31]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีปืนประจำกายไว้ให้ตำรวจใช้งาน[32] แต่ปืนเหล่านั้นมีจำนวนไม่เพียงพอต่ออัตราและความต้องการใช้งานของเจ้าหน้าที่[33] รวมถึงมีความล้าสมัย และระเบียบที่ยุ่งยากในการดูแลรักษา ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่มักซื้ออาวุธปืนประจำกายใช้เอง ผ่านโครงการจำหน่ายปืนสวัสดิการข้าราชการตำรวจซึ่งมีราคาต่ำกว่าท้องตลาด[33] ซึ่งถึงแม้ว่าปืนประจำกายในโครงการดังกล่าวจะมีราคาต่ำกว่าท้องตลาด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายยังคงต้องกู้เงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์มาเพื่อซื้อปืนประจำกาย และผ่อนชำระเอากับสหกรณ์ในภายหลัง[34]
สำหรับอาวุธปืนประเภทอื่น ๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดหาไว้ประจำการสำหรับใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ ตามความจำเป็นของแต่ละหน่วย โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2564 สัดส่วนการจัดหาอาวุธของกองสรรพาวุธ สำนักส่งกำลังบำรุง มีอัตราการจัดหาอาวุธสูงสุดคือ ปืนลูกซอง ปืนพก ปืนเล็กยาว และประเภทปืนที่ได้รับงบประมาณสูงที่สุดคือ ปืนเล็กยาว ปืนลูกซอง ปืนกลมือ[35] โดยอาวุธปืนพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ในอดีตคือ ปลย.11[36] ปัจจุบันได้มีการจัดหาอาวุธปืนเล็กสั้นแบบ เอ็ม 4[37][38] ให้ตำรวจท้องที่ได้ใช้งานตามสถานการณ์และความจำเป็นต่าง ๆ และอาวุธปืนกลมือและปืนเล็กยาวจู่โจมสำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษต่าง ๆ[39]
นอกจากนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดหาอาวุธปืนชนิดพิเศษต่าง ๆ สำหรับใช้ในการรักษาความสงบ อาทิ ปืนควบคุมฝูงชนแบบ FN 303[40] ในกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ปืนช็อตไฟฟ้า[41][42] สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจในการระงับเหตุต่าง ๆ[40]
ภาพ | แบบ | ชนิด | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|
ปืนพก | ||||||
เอ็ม 1911 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | สหรัฐ ไทย | ปืนพกเอ็ม1911เอ1 ของไทยผลิตภายใต้ใบอนุญาต ในประเทศนี้รู้จักในฐานะปืนพก แบบ 86 (ปพ.86) | ||
เฮคเลอร์แอนด์คอช ยูเอสพี | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | เยอรมนี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
เอชเอส 2000 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | โครเอเชีย | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261[43] | ||
ซีแซด 75 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | สาธารณรัฐเช็ก | |||
เบเรตตา 92 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | อิตาลี | ใช้ในตำรวจนครบาลและตำรวจจราจร | ||
เบเรตตา เอ็มเม1951 | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | อิตาลี | |||
เบเรตตา ปีx4 สตอร์ม | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | อิตาลี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
บราวนิง ไฮ-พาวเวอร์[44] | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เบลเยียม | |||
ซิก ซาวเออร์ พี 226[45] | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
ซิก ซาวเออร์ เพ320เอสเพ | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ปืนพกหลักมาตรฐาน | ||
กล็อก 17[46] | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | ออสเตรีย | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
แอฟแอ็น ไฟฟ์-เซเวน | ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | แอฟแอ็น 5.7×28 มม. | เบลเยียม | |||
ปืนลูกซอง | ||||||
เรมิงตัน โมเดล 870 | ปืนลูกซอง | 12 เกจ | สหรัฐ | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
มอสเบิร์ก 500 | ปืนลูกซอง | 12 เกจ | สหรัฐ | |||
ฟรันกี เอ็สเซปีอาเอ็สเซ-12 | ปืนลูกซอง | 12 เกจ | อิตาลี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
ปืนกลมือ | ||||||
เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5 | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ปัจจุบันถูกลดสถานะเป็นอาวุธสำรองราชการของหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 และถูกแทนที่โดย ซิก ซาวเออร์ เอ็มพีเอกซ์ เนื่องจากการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ และลดภาระในการบำรุงรักษา | ||
เฮ็คเลอร์อุนท์ค็อค อูเอ็มเพ | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เยอรมนี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ7 | ปืนกลมือ | ฮาคา 4.6×30 มม. | เยอรมนี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
ซิก ซาวเออร์ เอ็มพีเอกซ์ | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | สหรัฐ เยอรมนี | ปืนกลมือหลักมาตรฐานของหน่วยปฏิบัติการพิเศษของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ||
เอฟเอ็น พี90 | ปืนกลมือ | 5.7x28 มม. | เบลเยียม | ปืนกลมือเอฟเอ็น พี90 ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
อูซี | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | อิสราเอล | ใช้ในตำรวจสันติบาล | ||
คริสเวกเตอร์ | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | สหรัฐ | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | ||
ซีแซด สกอร์เปียน อีโว 3 | ปืนกลมือ | 9×19 มม. พาราเบลลัม | เช็กเกีย | ปืนกลมือหลักมาตรฐาน | ||
ปืนเล็กยาวจู่โจม | ||||||
เอ็ม 16 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ใช้ในตำรวจตระเวนชายแดนเป็นหลัก และใช้งานโดยตำรวจท้องที่บางส่วน | ||
เอ็ม 4 คาร์ไบน์ | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | รุ่นยิง 3 นัดส่วนใหญ่มักจะใช้ตำรวจท้องที่เป็นหลักโดยมีตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติประทับไว้บนด้านขวาของโครงปืนส่วนล่างเพื่อป้องกันการโจรกรรม แต่อย่างไรก็ตามยังมีรุ่น 3 นัดยังมีใช้บางส่วนในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 และหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 อยู่บ้างซึ่งส่วนใหญ่แล้วอรินทราช 26 และ นเรศวร 261 จะใช้ เอ 1 เป็นหลัก | ||
แอฟแอ็น แอฟอาแอล | ปืนเล็กกล และปืนเล็กยาว | 7.62×51 มม. นาโต | เบลเยียม | แต่ยังมีใช้งานบางส่วนของตำรวจตระเวนชายแดนและตำรวจท้องที่ และมีชื่อราชการ คือ ปลย./ปลก. 05 | ||
แอฟแอ็น ซีอาแอล | ปืนเล็กกล และปืนเล็กยาว | 5.56×45 มม. นาโต | เบลเยียม | แต่ยังมีใช้งานบางส่วนของตำรวจตระเวนชายแดนและตำรวจท้องที่ และมีชื่อราชการ คือ ปลย./ปลก. 14 | ||
เฮคเลอร์แอนด์คอช เอชเค 33 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี | ส่วนใหญ่ปลดประจำการแล้วปัจจุบันใช้เป็นปืนในพิธีทบทวนคำปฏิญาณและสวนสนามในวันตำรวจ และยังมีใช้อยู่ในบางหน่วยอยู่บ้าง | ||
G36C | เฮคเลอร์แอนด์คอช จี 36 |
|
5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษนเรศวร 261 | |
เบเร็ตตา เออาร์เอ็ก 160 | ปืนเล็กสั้นจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | อิตาลี | ใช้ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษอรินทราช 26 | ||
ปืนปราบจลาจล | ||||||
เอฟเอ็น 303 | ปืนปราบจลาจล | 17.3 มม. (0.68 นิ้ว) | เบลเยียม | ใช้ในกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน | ||
ปืนช็อตไฟฟ้า | ||||||
ไททั่น 86 | อาวุธช็อกไฟฟ้า | ไต้หวัน | ใช้ในกองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ[47] | |||
เทเซอร์ เอกซ์ 2 | อาวุธช็อกไฟฟ้า | สหรัฐ | ใช้ในการระงับเหตุในตำรวจท้องที่[42] |
วันตำรวจ เดิมตรงกับวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" จึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี[11] ในปี พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้จัดให้มีพิธีเดินสวนสนาม[15] และปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2500 หลังจากนั้นได้ระงับการจัดพิธีเดินสวนสนามที่เป็นการรวมหน่วยทุกหน่วยของตำรวจ ประกอบแต่พิธีทางศาสนาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว
ต่อมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้อนุมัติหลักการให้มีการจัดพิธีกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในวันตำรวจ ณ ลานฝึกศรียานนท์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยการสนธิกำลังนักเรียนนายร้อยตำรวจร่วมกับข้าราชการตำรวจจากกองบัญชาการต่าง ๆ ในทุก ๆ ปี ทั้งนี้โดยเชิญธงชัยประจำหน่วยตำรวจเข้าร่วมในพิธีจำนวน 6 ธง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน[48][49] รวมถึงได้มีการจัดการสวนสนามของตำรวจในจังหวัดต่าง ๆ ในวันนี้ด้วย[50]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 มีการเปลี่ยนแปลงวันตำรวจเป็นวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี โดยยึดตามวันที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541[51][52]
และอันเนื่องมาจากวันที่ 13 ตุลาคม ตรงกับวันนวมินทรมหาราช อันตรงกับวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.