คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

กองบัญชาการตำรวจนครบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองบัญชาการตำรวจนครบาล
Remove ads

กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นหน่วยงานอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีกองบังคับการทั้งหมด 15 กองบังคับการ และ 1 กองกำกับการที่ขึ้นตรงผู้บัญชาการ [1] ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ [2]พ.ศ. 2568 ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล คือ พลตำรวจโท สยาม บุญสม รองผู้บัญชาการได้แก่ พลตำรวจตรี ธีรเดช ธรรมสุธีร์ [3]พลตำรวจตรี ชัยพัชร์ ศรีประเสริฐ [4]พลตำรวจตรี วสันต์ เตชะอัครเกษม พลตำรวจตรี สมควร พึ่งทรัพย์ พลตำรวจตรี นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ พลตำรวจตรี พลทิต ไชยรส พลตำรวจตรี อำนาจ ไตรพจน์ พลตำรวจตรี ชรินทร์ โกพัฒน์ตา พลตำรวจตรี วัชระ วงศ์สง่า พลตำรวจตรี มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์ พลตำรวจตรี พัลลภ แอร่มหล้า พลตำรวจตรี ชูสวัสดิ์ จันทร์โรจนกิจ

ข้อมูลเบื้องต้น กองบัญชาการตำรวจนครบาล Metropolitan Police Bureau, อักษรย่อ ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

  • พ.ศ. 2405 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กัปตัน เอส.เย.เบิร์ด เอมส์ ชาวอังกฤษ เป็นผู้ตั้งกองตำรวจในพระนครเป็นครั้งแรกโดยนำเอารูปแบบอย่างมาจากตำรวจอังกฤษ
  • พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ทรงพระกรุณา กิจการตำรวจในสมัยโบราณ โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ รับตำแหน่ง เสนาบดีว่าการ กรมมหาดไทย ดูแลตำรวจภูธร และให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเรศวรฤทธิ์ เป็นเสนาบดีว่าการกรมพระนครบาล ดูแลตำรวจนครบาล (ขณะนั้นเรียก พลตระเวน) พระราชภารกิจในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
  • พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศรวมพลตระเวนกับกรมตำรวจภูธรเป็นกรมเดียวกัน และได้มีประกาศแต่งตั้งอธิบดีกรมตำรวจและกรมพลตระเวน
  • พ.ศ. 2465 ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งนับได้ว่า คำว่า ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางราชการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฐานะการเงินของประเทศอยู่ในวิกฤติมีการยุบหน่วยงานไปมาก ซึ่งปรากฏว่า กองบัญชาการตำรวจนครบาล ก็ถูกยุบลงคงเหลือแต่เพียงกองบังคับการเท่านั้น
  • พ.ศ. 2491 ได้มีการรื้อฟื้นจัดตั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งปรากฏตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ ในกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2491
  • พ.ศ. 2504 กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้มีสถานที่ทำการเป็นของตนเองที่สะพานผ่านฟ้า จนกระทั่งต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 กองบัญชาการตำรวจนครบาลที่ผ่านฟ้าได้ถูกเผาทำลายเสียหายจนหมดสิ้น จึงต้องย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่รวม กองบังคับการตำรวจดับเพลิงพญาไท
Remove ads

รายชื่อผู้บัญชาการ

สรุป
มุมมอง

ยศตำรวจเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

Remove ads

หน่วยงานในสังกัด

Thumb
รถของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
Thumb
รถตำรวจนครบาลรุ่น BMW
  • กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.อก.บช.น.)
  • กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บก.สส.บช.น.)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 (บก.น.2)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 3 (บก.น.3)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 4 (บก.น.4)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 (บก.น.5)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (บก.น.6)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 (บก.น.7)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 (บก.น.8)
  • กองบังคับการตำรวจนครบาล 9 (บก.น.9)
  • กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.)
  • กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก.สปพ.)
  • กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.)
  • ศูนย์ฝึกอบรม กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ศฝร.บช.น.)
  • กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ)

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads