Loading AI tools
หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย คือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายตามที่ได้บัญญัติไว้ ทั้งรัฐธรรมนูญ รัฐบัญญัติ ประมวลกฎหมาย หรือกฎหมายอื่น ๆ มอบอำนาจไว้ให้ในการปฏิบัติการและบังคับใช้[1] ภายใต้เขตอำนาจศาลที่ได้บัญญัติไว้
เขตอำนาจ คือขอบเขตที่เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมายนั้น ๆ มีอำนาจในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนหรือจับกุมตามขอบเขตอำนาจที่ได้กำหนดไว้
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจของตนตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งมีหลายระดับ ทั้งในระดับประเทศ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในระดับภูมิภาคของประเทศ เช่น ตำรวจภูธรภาค 2 ในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย และในระดับระหว่างประเทศ เช่น ตำรวจสากล
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับสากล มักจะให้การสนับสนุนกิจการรมในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศสมาชิกของตน โดยแบ่งปันข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่จำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับหน่วยงานในประเทศนั้น ๆ แทนการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง เพราะไม่มีอำนาจสั่งการเหนืออธิปไตยประเทศนั้น ๆ
เขตอำนาจการสอบสวน หรือ เขตอำนาจสอบสวน,[3] เขตสอบสวน[4] คือขอบเขตที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการดำเนินงาน ในคดีอาญานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากพนักงานสอบสวนดำเนินการไปทั้งที่ไม่มีอำนาจจะทำให้อัยการไม่สามารถฟ้องคดีได้[5]
สำหรับในประเทศไทย เขตอำนาจการสอบสวนจะแบ่งตามความรับผิดชอบของสถานีตำรวจที่มีอาณาเขตความรับผิดชอบในท้องที่นั้น ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็น สถานีตำรวจนครบาล สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล นอกเหนือจากนั้นเป็น สถานีตำรวจภูธร สังกัดตำรวจภูธรจังหวัด อยู่ภายใต้ตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาคทั่วประเทศ
เขตอำนาจศาล คือพื้นที่และประเภทคดีที่ศาลนั้นมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายที่บัญญัติ[6] ซึ่งอาจแบ่งเขตอำนาจของแต่ละศาลได้ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ปริมาณคดีในท้องที่ และอำนวยความสะดวกผู้มาติดต่อราชการ[7]
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายมีมากมายหลายประเภท ทั้งบังคับใช้กับคนทั่วไปในชุมชนหรือประเทศ และบังคับใช้เฉพาะด้านโดยเฉพาะ เพื่อสอดส่องดูแลให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กสทช. และเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ อาทิ กรมศุลกากร โดยในแต่ละประเทศจะมีรูปแบบการบังคับใช้แตกต่างกันไป
ในประเทศที่เคร่งศาสนา จะมีการบังคับใช้กฎหมายศาสนาอย่างเคร่งครัด เช่น กฎหมายชะรีอะฮ์ ในศาสนาอิสลามที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับชาวมุสลิมใช้ บังคับใช้โดยตำรวจศาสนา ใช้ระบบพิจารณาคดีโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเรียกว่าผู้พิพากษา ซึ่งคำตัดสินเล่านั้นเรียกว่าฟัตวา (Fatwa)[8]
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายศาสนานั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามหลักพื้นฐานของศาสนาและประเทศ อาทิ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย คือตำรวจศีลธรรมชื่อว่า "มุตาวา"[9]
ในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายแต่ละหน่วยงาน จะมีหน่วยตรวจสอบภายใน เพื่อตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานนั้น ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น สำนักงานจรรยาบรรณวิชาชีพ ภายในสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ของสหรัฐอเมริกา สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทย[10] โดยในบางประเทศมีการตั้งหน่วยตรวจสอบภายในองค์กรแยกออกมาจากองค์กรนั้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นหน่วยงานตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย[11]
ตำรวจ คือหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมายที่แพร่หลายที่สุดในโลก เนื่องจากมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับคนในสังคมมากที่สุด ทั้งที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง และเกี่ยวกับการรักษาความสงบรวมถึงการเข้าถึงเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจจะไม่ได้ระบุไว้ในกฎหมายในฐานะหน่วยงานแรกที่ต้องตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งมีเขตอำนาจที่หลากหลายตามบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เช่น ตำรวจรัฐในสหรัฐอเมริกา มีอำนาจการสืบสวนสอบสวนแค่ภายในมลรัฐที่ตัวเองสังกัด[12]
ในหน่วยหรือองค์กรทางทหาร มีหน่วยงานสำหรับบังคับใช้กฎหมายของกองทัพ เรียกว่าสารวัตรทหาร (Military police หรือ Military provost) มีสังกัดและภารกิจที่หลากหลายตามที่ได้รับมอบหมาย อยู่ในกองทัพต่าง ๆ ในทุกประเทศ
ในบางประเทศใช้กองกำลังกึ่งหทารหรือสารวัตรทหารในการบังคับใช้กฎหมายในพลเรือนด้วย เช่น ฌ็องดาร์เมอรี
สำหรับสารวัตรทหาร มีอำนาจหน้าที่หลัก ดังนี้[13]
ตัวอย่างรายชื่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับต่าง ๆ ตามเขตอำนาจ
ในประเทศที่ปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ จะมีหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับรัฐบาลกลาง มีเขตอำนาจในการสืบสวนสอบสวนทุกรัฐภายในประเทศ อาทิ
หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับรัฐ หรือในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด เป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในประเทศที่ปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ โดยอาจจะร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับท้องถิ่นในการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมายในรัฐหรือภูมิภาคนั้น ๆ ส่วนมากพบในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียใต้[14] และโอเชียเนีย[15] อาทิ
เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกลางในระดับชาติ ส่วนมากพบในประเทศที่ปกครอบในรูปแบบรัฐเดี่ยว มีเขตอำนาจในการปฏิบัติการทั่วทั้งประเทศ อาทิ
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.