Loading AI tools
อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ต.จ.ว. (เกิด 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[1] เป็นประธานชั่วคราวของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 ในการประชุมครั้งแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาในขณะนั้น รวมถึงเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคชาติไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
วิโรจน์ เปาอินทร์ | |
---|---|
วิโรจน์ ใน พ.ศ. 2562 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 (0 ปี 212 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (0 ปี 48 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | เจริญจิตต์ ณ สงขลา |
ถัดไป | วีระ ปิตรชาติ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 193 วัน) | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548 (9 ปี 187 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | ทั้งจังหวัด (2538, 2539) อำเภอเมืองอ่างทอง, อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ (ยกเว้นตำบลม่วงเตี้ย) (2544) |
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (0 ปี 247 วัน) | |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา (2498–2500) ประชาธิปัตย์ (2500–2501) ประชากรไทย (2535–2539) ชาติไทย (2539–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วินิจ เปาอินทร์ |
ลายมือชื่อ | |
พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นบุตรของนายเซ้ง กับนางกี เปาอินทร์ [2] และเป็นอดีตสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่[3]
พล.ต.ท.วิโรจน์ สมรสกับนางวินิจ เปาอินทร์ ผู้พิพากษาสมทบ ศาลเด็กจังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4] มีบุตรชายได้แก่พันตำรวจโท นราวิทย์ เปาอินทร์ ผู้อำนวยการโรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต อดีตผู้อำนวยการโรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ พันตำรวจเอก อนันต์ เปาอินทร์
พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538, 2539 และ 2544 เขาเคยสังกัดพรรคประชากรไทย และพรรคชาติไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)[5] และก่อนที่เกษียณอายุ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 2 สมัย คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[6] และเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2543 แต่ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ กลับพ่ายการเลือกตั้งให้กับนางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เขาลงสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนลำดับที่ 5 ของกลุ่มที่ 7 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของรัฐสภา[8] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และรับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[9] จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 17 ของพรรคเพื่อไทยด้วย[10]พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร โดยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการคนที่ 4 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งจากกรรมการบริหารพรรคให้ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[11] แทนยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 119[12]
วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี ส.ส. ไม่ปฏิบัติตามมติพรรคร่วมฝ่ายค้านของพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 1[13] และได้รับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เขาจึงเป็นประธานชั่วคราวในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ต่อไป[14]
วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.