Loading AI tools
เครื่องราชอิสริยาภรณ์หลักลำดับที่ 6 ของไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (อังกฤษ: The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือประชาชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปกติแล้ว ในรัชกาลนี้ จะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม ของทุกปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือก | |
---|---|
ดวงดาราชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก | |
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
อักษรย่อ | ดูในบทความ |
ประเภท | สายสะพายพร้อมดารา, ดวงตราพร้อมดารา, ดวงตรา, เหรียญ (8 ชั้น) |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2404 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
ผู้สมควรได้รับ | พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการ, ผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี |
มอบเพื่อ | ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายล่าสุด | 5 สิงหาคม พ.ศ. 2567 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย |
หมายเหตุ | รัฐบาลไทยเป็นผู้เสนอชื่อเพื่อขอรับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2404 แต่มิได้กำหนดให้มีสายสะพาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดชั้นและสายสะพายประกอบ
แพรแถบย่อ | ดุมเสื้อ | ชั้น | ชื่อ[1] | อักษรย่อ | ชื่อเดิม[2] | วันสถาปนา | ลำดับเกียรติ[3] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชั้นสูงสุด | มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก | ม.ป.ช. | - | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 | 8 | ||
ชั้นที่ 1 | ประถมาภรณ์ช้างเผือก | ป.ช. | มหาวราภรณ์ | พ.ศ. 2412 | 10 | ||
ชั้นที่ 2 | ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก | ท.ช. | จุลวราภรณ์ | พ.ศ. 2412 | 15 | ||
ชั้นที่ 3 | ตริตาภรณ์ช้างเผือก | ต.ช. | นิภาภรณ์ | พ.ศ. 2412 | 23 | ||
ชั้นที่ 4 | จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก | จ.ช. | ภูษนาภรณ์ | พ.ศ. 2412 | 28 | ||
ชั้นที่ 5 | เบญจมาภรณ์ช้างเผือก | บ.ช. | ทิพยาภรณ์ | พ.ศ. 2416 | 33 | ||
ไม่มี | ชั้นที่ 6 | เหรียญทองช้างเผือก | ร.ท.ช. | - | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 | 52[4] | |
ชั้นที่ 7 | เหรียญเงินช้างเผือก | ร.ง.ช. | - | 55[4] |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีทั้งหมด 8 ชั้น
ดวงตรา ดารา และสายสะพายสำหรับพระราชทานสตรีนั้นจะมีขนาดย่อมกว่าบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างไอราพตลงยาสีขาว
หมายเหตุ: สำหรับพระมหากษัตริย์ ดาราประดับเพชรตรงขอบสร่งเงิน
ดวงตรา ดารา และสายสะพายสำหรับพระราชทานสตรีนั้นจะมีขนาดย่อมกว่าบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ในดอกบัวบาน กลีบลงยาสีแดงสลับเขียว เกสรเงิน
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายประดับแพรแถบย่อและดุมเสื้อ มีลักษณะเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ในดอกบัวบานทอง เกสรเงิน
สำหรับบุรุษห้อยแพรแถบสวมคอ สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูก เป็นรูปแมลงปอประดับเสื้อหน้าบ่าซ้าย
สำหรับบุรุษห้อยแพรแถบประดับอกเสื้อเบื้องซ้าย สำหรับสตรีห้อย แพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอประดับเสื้อหน้าบ่าซ้าย ดวงตราชั้นที่ 4 เล็กกว่าดวงตราชั้นที่ 3 และมีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
ดวงตราชั้นที่ 5 เหมือนดวงตราชั้นที่ 4 แต่ไม่มีดอกไม้จีบติดบน แพรแถบวิธีประดับเหมือนชั้นที่ 4
ต่อมาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ข้าราชการสตรีต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญแพรแถบในลักษณะเดียวกับบุรุษทุกประการ[5]
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลช้างเผือกนี้ กำหนดให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564[6] การขอพระราชทานในครั้งแรกในกรณีข้าราชการ จะต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ของปี โดยให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน ดังนี้
ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ในกรณีข้าราชการเริ่มที่
ชั้นสายสะพาย หรือ ข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ สามารถขอรับพระราชทานโกศประดับเมื่อสิ้นชีวิต
การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด 32 บัญชี
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.