เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (อังกฤษ: The Most Noble Order of the Crown of Thailand) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม ของทุกปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2412 เดิมมีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2484 [1]
ข้อมูลเบื้องต้น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย, มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย ...
ปิด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย มีศักดิ์รองจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกในชั้นที่เท่ากัน เช่น ชั้นที่ 3 ต้องประดับ ดวงตราช้างเผือกก่อนแล้วจึงต่อด้วยดวงตรามงกุฎไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2412 เดิมมีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2484 [2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีทั้งหมด 8 ชั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้[5]
- ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ประกอบด้วย
- สายสะพาย เป็นแพรแถบมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีครามแก่ มีริ้วแดงและขาว อยู่ริมทั้งสองข้าง สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา
- ดวงตรา เป็นกลีบบัวทอง แววลงยาสีแดงสี่กลีบ มีพระมหาวชิราวุธเงินแทรกสลับตามระหว่าง กลางดวงตรามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ร.ร." กับเลข 6 ไทย เป็นเพชรสร่ง มีเนื้อเงินล้อมรอบอยู่ภายใต้พระมหามงกุฎทอง เบื้องบนมีพระมหาเศวตฉัตร รัศมีทอง
- ดารา เป็นรัศมีเงินสี่ทิศ มีรัศมีสายฟ้าทองแทรกสลับตามระหว่าง กลางดาราเหมือนอย่างดวงตรา แต่อักษรพระปรมาภิไธยย่อประดับเพชร และไม่มีพระมหาเศวตฉัตร ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ประกอบด้วย
- สายสะพาย เป็นแพรแถบขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร สีน้ำเงินริมเขียว มีริ้วเหลืองรื้วแดงขนาดใหญ่คั่นทั้งสองข้าง สะพายบ่าขวาเฉียงลงบ่าซ้าย
- ดวงตรา เป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ในลายหว่านล้อมทอง พื้นลงยาสีน้ำเงินและสีแดง มีกระจังเงินใหญ่และเล็ก อย่างละสี่ทิศ มีรัศมีทองสลับตามระหว่าง ด้านหลังเปลี่ยนพระมหามงกุฎเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." เบื้องบนมีจุลมงกุฎ
- ดารา เป็นรูปอย่างด้านหน้าดวงตรา ด้านหลังเป็นทอง และไม่มีจุลมงกุฎ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร มีสีเดียวกับสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย
- ดวงตรา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ด้านหลังเป็นทองเกลี้ยง บุรุษใช้ห้อยแพรแถบสวมคอ สตรีใช้ห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ดารา มีลักษณะอย่างประถมาภรณ์มงกุฎไทย ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีลักษณะ ขนาด และสีอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ดวงตรา มีลักษณะและการประดับอย่างทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ลักษณะการประดับเหมือนทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ขั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร มีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
- ดวงตรา มีลักษณะอย่างตริตาภรณ์มงกุฎไทย แต่มีขนาดย่อมกว่า บุรุษใช้ห้อยแพรแถบประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย สตรีใช้ห้อยแพรแถบผุกเป็นรูปแมลงปอ
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย แต่ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- ดวงตรา มีลักษณะและการประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- เหรียญ เป็นเหรียญเงินกลมกะไหล่ทอง ด้านหน้าเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ในลายหว่านล้อม ด้านหลังเป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." เบื้องบนมีจุลมงกุฎ การประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.) ประกอบด้วย
- แพรแถบ มีขนาดและสีอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย ไม่มีดอกไม้จีบบนแพรแถบ
- เหรียญ เป็นเหรียญเงินกลม มีลักษณะอย่างเหรียญทองมงกุฎไทย การประดับอย่างจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
สำหรับพระราชทานสตรี จะมีขนาดย่อมกว่าของบุรุษ
สายสะพาย ดวงตรา ดารา และดุมแพรแถบย่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ
ภาพจำหลักไม้รูปสายสะพายและดวงตรามหาสุราภรณ์ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย) ณ บานประตูพระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
สายสะพาย ดวงตรา และดาราประถมาภรณ์มงกุฎไทย
ดวงตราประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ด้านหน้า)
ดวงตราประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ด้านหลัง)
ดารามหาสุราภรณ์ (ประถมาภรณ์มงกุฎไทย) และจุลสุราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย) (ก่อน พ.ศ. 2454)
ดาราประถมาภรณ์มงกุฎไทยและทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
ดวงตราจุลสุราภรณ์ (ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย) และมัณฑนาภรณ์ (ตริตาภรณ์มงกุฎไทย) (ก่อน พ.ศ. 2454)
ดวงตราทวีติยาภรณ์มงกุฎไทยและตริตาภรณ์มงกุฎไทย
ดวงตราจตุรถาภรณ์มงกุฎไทย สำหรับสตรี
ดวงตราเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
เหรียญเงินมงกุฎไทย สำหรับสตรี
ตัวอย่างแพรแถบย่อชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย ร่วมกับแพรแถบย่ออื่น ๆ
ตัวอย่างแพรแถบย่อชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ชั้นสูงสุดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้) ร่วมกับแพรแถบย่ออื่น ๆ
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลมงกุฎไทยนี้ กำหนดให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ กำหนดระยะเวลา และความดีความชอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564[6] การขอพระราชทานในครั้งแรกในกรณีข้าราชการ จะต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม โดยให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน ดังนี้
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย
- ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย
- ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก
ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ในกรณีข้าราชการเริ่มที่
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
- ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
ชั้นสายสะพาย หรือ ข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ สามารถขอรับพระราชทานโกศประดับเมื่อสิ้นชีวิต
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (สายสะพาย 1)
- ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 2)
- ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (สายสะพาย 3)
- ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (สายสะพาย 4)
การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีทั้งหมด 32 บัญชี
- บัญชี 1 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่รัฐมนตรี
- บัญชี 2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการการเมือง ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้แทนการค้าไทย กรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร และกรรมการประสานงานวุฒิสภา
- บัญชี 3 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา
- บัญชี 4 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการการเมืองในกรุงเทพมหานคร
- บัญชี 5 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร
- บัญชี 6 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่น
- บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- บัญชี 8 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการการเลือกตั้ง
- บัญชี 9 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน
- บัญชี 10 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- บัญชี 11 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
- บัญชี 12 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- บัญชี 13 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- บัญชี 14 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ราชบัณฑิต และกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
- บัญชี 15 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
- บัญชี 16 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- บัญชี 17 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
- บัญชี 18 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการทหาร
- บัญชี 19 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
- บัญชี 20 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
- บัญชี 21 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
- บัญชี 22 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ดะโต๊ะยุติธรรม และผู้พิพากษาสมทบ
- บัญชี 23 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการอัยการ
- บัญชี 24 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- บัญชี 25 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ
- บัญชี 26 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ
- บัญชี 27 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน ยกเว้นที่ปรากฏในบัญชีอื่น
- บัญชี 28 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมายที่ไม่เป็นข้าราขการ
- บัญชี 29 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นข้าราชการ
- บัญชี 30 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
- บัญชี 31 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้มีผลงานความดีความชอบอย่างยิ่ง
- บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้แทนทางการทูตของต่างประเทศและชาวต่างประเทศ
ตัวอย่างการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
กรณีข้าราชการพลเรือน
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้
ประเภททั่วไป
- ระดับปฏิบัติงาน เริ่มขอ บ.ม. ถึง จ.ช.
- ระดับชำนาญงาน เริ่มขอ ต.ม. ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช.
- ระดับอาวุโส เริ่มขอ ท.ม. ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
- ระดับทักษะพิเศษ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
ประเภทวิชาการ
- ระดับปฏิบัติการ เริ่มขอ ต.ม.
- ระดับชำนาญการ เริ่มขอ ต.ช. ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ท.ม.- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช.
- ระดับชำนาญการพิเศษ เริ่มขอ ท.ช. ได้รับเงินเดือนขั้นสูง - ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
- ระดับเชี่ยวชาญ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช.
- ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
ประเภทอำนวยการ
- ระดับต้น เริ่มขอ ท.ช. ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม.
- ระดับสูง ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
ประเภทบริหาร
- ระดับต้น ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อย 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.
- ระดับสูง ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง, หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือตำแหน่งเทียบเท่า เริ่มต้นขอพระราชทาน ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ ขอ ม.ป.ช.