Loading AI tools
สภานิติบัญญัติของประเทศไทย บางโอกาสเป็นสภาล่างของรัฐสภาไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาผู้แทนราษฎรไทย เป็นสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 500 คน แบ่งการได้มาออกเป็น 2 แบบ ได้แก่แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง โดยให้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จำนวน 100 คน ทั้งนี้อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สภาผู้แทนราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 | |
ตรารัฐสภาไทย | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
รองประธานคนที่ 1 | |
รองประธานคนที่ 2 | |
ประธานวิปฝ่ายรัฐบาล | |
ประธานวิปฝ่ายค้าน | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 500 |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล
|
คณะกรรมาธิการ | 35 คณะ |
ระยะวาระ | ไม่เกิน 4 ปี |
การเลือกตั้ง | |
แบบคู่ขนาน แบ่งเขตเลือกตั้ง (400) บัญชีรายชื่อ (100) | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 14 พฤษภาคม 2566 |
การเลือกตั้งครั้งหน้า | ไม่ช้ากว่า 27 มิถุนายน 2570 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมพระสุริยัน สัปปายะสภาสถาน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | |
เว็บไซต์ | |
เว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย มีหน้าที่โดยตรงในทางนิติบัญญัติ และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งกระทู้ถาม และการเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 97 บัญญัติให้บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 98 บัญญัติให้บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ | จำนวนสมาชิก | ระยะการดำรงตำแหน่ง | การสิ้นสุดสมาชิกสภาพ | รัฐธรรมนูญ | หมายเหตุ (เลือกตั้ง/ครม.) |
---|---|---|---|---|---|
ชั่วคราว | 70 | 28 มิถุนายน 2475 – 6 ธันวาคม 2476 | มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก | พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 | มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดคณะทหาร |
1 | 156 | 15 พฤศจิกายน 2476 – 10 กันยายน 2480 | ครบวาระ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 1 เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมและมี ส.ส. จากการแต่งตั้งด้วย ครม. 4 ครม. 5 ครม. 6 ครม. 7 |
2 | 156 | 7 พฤศจิกายน 2480 – 11 กันยายน 2481 | ยุบสภา | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 2 ครม. 8 |
3 | 182 | 12 พฤศจิกายน 2481 – 15 ตุลาคม 2488 | ยุบสภา | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 3/สภาต่อวาระออกไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง ครม. 9 ครม. 10 ครม. 11 ครม. 12 ครม. 13 |
4 | 274 | 6 มกราคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม/รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 4 และการเลือกตั้งเพิ่มเติม เมื่อ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ครม. 14 ครม. 15 ครม. 16 ครม. 17 ครม. 18 |
5 | 219 | 29 มกราคม 2491 – 29 พฤศจิกายน 2494 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2490 (5 ธันวาคม 2490) | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 5 และการเลือกตั้งเพิ่มเติม ครม. 21 ครม. 22 ครม. 23 |
6 | 246 | 29 พฤศจิกายน 2494 – 26 กุมภาพันธ์ 2495 | เลือกตั้ง | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรไปพลางก่อน ครม. 24 |
7 | 246 | 26 กุมภาพันธ์ 2495 – 25 กุมภาพันธ์ 2500 | ครบวาระ | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 6 ครม. 25 |
8 | 283 | 26 กุมภาพันธ์ 2500 – 16 กันยายน 2500 | รัฐประหาร | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 7 ครม. 26 |
9 | 281 | 15 ธันวาคม 2500 – 20 ตุลาคม 2501 | รัฐประหาร | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 8 ครม. 28 |
10 | 219 | 17 กุมภาพันธ์ 2512 – 17 พฤศจิกายน 2514 | รัฐประหาร | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 9 ครม. 31 |
11 | 269 | 26 มกราคม 2518 – 12 มกราคม 2519 | ยุบสภา [1] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 10 ครม. 35 ครม. 36 |
12 | 279 | 4 เมษายน 2519 – 5 ตุลาคม 2519 | รัฐประหาร | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 11 ครม. 37 ครม. 38 |
13 | 301 | 22 เมษายน 2522 – 19 มีนาคม 2526 | ยุบสภา [2] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 12 ครม. 41 ครม. 42 |
14 | 324 | 18 เมษายน 2526 – 2 พฤษภาคม 2529 | ยุบสภา [3] | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 13 ครม. 43 |
15 | 347 | 27 กรกฎาคม 2529 – 29 เมษายน 2531 | ยุบสภา [4] | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 14 ครม. 44 |
16 | 357 | 24 กรกฎาคม 2531 – 23 กุมภาพันธ์ 2534 | รัฐประหาร | " | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 15 ครม. 45 ครม. 46 |
17 | 360 | 22 มีนาคม 2535 – 30 มิถุนายน 2535 | ยุบสภา [5] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 16 ครม. 48 ครม. 49 |
18 | 360 | 13 กันยายน 2535 – 19 พฤษภาคม 2538 | ยุบสภา [6] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2535 (10 กันยายน พ.ศ. 2535) | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 17 ครม. 50 |
19 | 391 | 2 กรกฎาคม 2538 – 28 กันยายน 2539 | ยุบสภา [7] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2535 (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 18 ครม. 51 |
20 | 393 | 17 พฤศจิกายน 2539 – 9 พฤศจิกายน 2543 | ยุบสภา [8] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2535 (27 กันยายน พ.ศ. 2539) | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 19 ครม. 52 ครม. 53 |
21 | 500 | 6 มกราคม 2544 – 5 มกราคม 2548 | ครบวาระ [9] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 20 เริ่มมี 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ครม. 54 |
22 | 500 | 6 กุมภาพันธ์ 2548 – 24 กุมภาพันธ์ 2549 | ยุบสภา[10] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 21 ครม. 55 |
23 | 480 | 23 ธันวาคม 2550 – 10 พฤษภาคม 2554 | ยุบสภา [11] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 23 ครม. 57 ครม. 58 ครม. 59 |
24 | 500 | 3 กรกฎาคม 2554 – 9 ธันวาคม 2556 | ยุบสภา [12] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554 (3 มีนาคม พ.ศ. 2554) | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 24 ครม. 60 |
25 | 500 | 24 มีนาคม 2562 – 20 มีนาคม 2566 | ยุบสภา [13] | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 26 ครม. 62 |
26 | 500 | 14 พฤษภาคม 2566 – ปัจจุบัน | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564 | เลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 27 ครม. 63 ครม. 64 | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.