คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10 ของไทย (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
ข้อมูลเบื้องต้น คณะรัฐมนตรีแปลก 2, วันแต่งตั้ง ...
ปิด
จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วย พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ลงนามในประกาศ
พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นาวาอากาศเอก เทียน เก่งระดมยิง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลตรี วิจิตร วิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
- นายพันตรี ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
- นายอุทัย แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจตรี อดุล อดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายโป-ระ สมาหาร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นาวาเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พันเอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ศาสตราจารย์ เดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรี
- นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรี
- พลอากาศตรี บุญเจียม โกมลมิศร์ เป็นรัฐมนตรี
- พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรี
- นายวนิช ปานะนนท์ เป็นรัฐมนตรี
- พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ เป็นรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2485 และได้รับความไว้วางใจในวันเดียวกัน
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2485 เล่ม 59 ตอน 18 หน้า 518
คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ
- วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2485
- พระยามไหสวรรย์ (กาย สมบัติศิริ) เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 เนื่องจากได้ประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม จึงปรับปรุงรัฐมนตรี ดังนี้
- พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลตรี จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2485
- นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
- วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2485
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พันจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2485
- พันเอก อุดมโยธา รัตนาวดี เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486
- พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2486
- หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2486
- พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486
- พลอากาศตรี เจียม อธึกเทวเดช โกมลมิศร์ ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
- วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2486[1]
- พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486
- นายพลตำรวจโท อดุล อดุลเดชจรัส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2486[2]
- นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิพันลึก ทัตตานนท์ เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486
- นายวิจิตร วิจิตรวาทการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัตรราชทูตไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น
- วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2486[3]
- นาวาอากาศเอก กาจ เก่งระดมยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง
- นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติศิริ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลตรี ไชย ประทีปเสน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2486[4]
- นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพานิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486[5]
- พลโท พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2486[6]
- นายอุทัย แสงมณี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นาวาเอก สังวรณ์ สุวรรณชีพ เป็นรัฐมนตรี
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
- นายวนิช ปานะนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
- พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่ประจำอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการทั้งสิ้น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ แทน นายกรัฐมนตรี
- วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2487
- พันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จำกัด
คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดระเบียบบริหารราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พุทธศักราช 2487 และ ร่างพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธบุรีมณฑล พุทธศักราช 2487
นายกรัฐมนตรีและคณะ จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2487