Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) (2 สิงหาคม พ.ศ.2440-25 กันยายน พ.ศ.2529)เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ[3] และอดีตรัฐมนตรีแห่งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10[4] ผู้มีบทบาทสำคัญในกรณีพิพาทอินโดจีน[1]
หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) | |
---|---|
รัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2486 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ |
ถัดไป | หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 สิงหาคม พ.ศ.2440 ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุดา โกมลมิศร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศเอก |
ผ่านศึก | กรณีพิพาทอินโดจีน[1][2] |
ครั้งหนึ่ง เคยมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" ในจังหวัดพระตะบองตามชื่อของเขา เมื่อครั้งที่ไทยได้รับดินแดนจากประเทศฝรั่งเศสคืนมาบางส่วน[1][5]
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งหลวงอธึกเทวเดช รองผู้บัญชาการทหารอากาศ มาเป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อเตรียมการกรณีพิพาทอินโดจีน[6][7]
ในกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อครั้งที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเริ่มการโจมตี หลวงอธึกเทวเดชได้ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพอากาศ เพื่อป้องกันภัยทางอากาศและสนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน และได้รับชัยชนะในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2484 โดยประเทศไทยได้ดินแดนที่เคยเสียไปคืนมาบางส่วน[8]
ในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครจัมปาศักดิ์, จังหวัดลานช้าง, จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดพิบูลสงคราม หลังจากการเจรจาระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับประเทศฝรั่งเศสที่กรุงโตเกียว ซึ่งหนังสือเล่าความหลังครั้งสงคราม ของโกวิท ตั้งตรงจิตร ได้ระบุว่า จังหวัดพระตะบอง เดิมเป็นเมืองพระตะบองของเขมร แล้วมีการตั้งชื่อ "อำเภออธึกเทวเดช" เมื่อครั้งที่ไทยได้จังหวัดพระตะบอง ตามชื่อของพลอากาศเอกหลวงอธึกเทวเดช ทว่า ก็ต้องคืน 4 จังหวัดดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศส เนื่องด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่สอง[3] หลังจากไทยปกครอง 4 จังหวัดดังกล่าวได้ 5 ปี 4 เดือน 1 วัน[9][10]
พลอากาศเอก หลวงอธึกเทวเดช (เจียม โกมลมิศร์) เป็นมิตรสหายของสมาชิกแกนนำคณะราษฎรที่เข้าร่วมคณะรัฐบาล[11] โดยในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 มีการแต่งตั้งให้เขาเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 10 ทว่าภายหลัง เขาได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2486[12]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.