Remove ads

พลเรือโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ข้อมูลเบื้องต้น ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, กษัตริย์ ...
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
ม.จ.ก. น.ร. ร.ว. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. จ.ป.ร. ๓ ว.ป.ร. ๓ ป.ป.ร. ๓ อ.ป.ร. ๑
Thumb
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2478  31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
นายกรัฐมนตรีพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
ประสูติ24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447
สิ้นพระชนม์19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (41 ปี)
พระราชทานเพลิง8 มิถุนายน พ.ศ. 2489
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
หม่อมหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลอาภากร
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระมารดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์
ศาสนาพุทธ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม พ.ศ. 2474  19 เมษายน พ.ศ. 2486
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา
ก่อนหน้าพระยาศรีสุทัศน์
ถัดไปพระยาพิพิธอำพล
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2476  พ.ศ. 2476
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
ก่อนหน้าพระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์
ถัดไปพระยาสุริยเดชรณชิต
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพเรือไทย
ชั้นยศ พลโท
พลเรือโท
พลอากาศโท[1]
ปิด
Remove ads

พระประวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 หลัง ปีมะโรง ฉศก จ.ศ. 1266 ตรงกับวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 มีพระนามแรกประสูติว่า หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา มีพระโสทรภราดา 2 องค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446
  • พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508)

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ พระมารดาได้ปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง เนื่องจากทรงน้อยพระทัยพระสวามี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภาไปทรงเลี้ยงดู ทรงเอ็นดูเป็นพิเศษและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452[2]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำหน้าพระนามเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[3]

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เสกสมรสกับหม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิเศษกุล) นางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 ไม่ทรงมีพระทายาท

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เคยทรงเป็นคณะกรรมการการประกวดนางสาวสยามครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2477

พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร่วมกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม), พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)[4] และทรงลาออกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2487[5] โดยในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา[6]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา สิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 สิริพระชันษา 42 ปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส

Remove ads

พระเกียรติยศ

ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
Thumb
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ
ปิด

พระอิสริยยศ

  • 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 : หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
  • 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
Remove ads

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

Remove ads

พระยศและตำแหน่ง

  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470: เรือตรีพิเศษ[24]
  • เลขานุการ มณฑลนครศรีธรรมราช
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2471: ปลัดกรมกองบัญชาการกระทรวงมหาดไทย[25]
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471: เรือโท[26]
  • ปลัดกรมเวรวิเศษ
  • 12 มีนาคม พ.ศ. 2473: รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[27]
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2474: อำมาตย์โท[28]
  • 17 ตุลาคม พ.ศ. 2474: ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม[29]
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2474: เรือเอก[30]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2476: ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต[31]
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477: นาวาตรี[32]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2478: นาวาเอก[33]
  • 3 มกราคม พ.ศ. 2478: พันเอก[34]
  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2480: นาวาอากาศเอก[35]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี[36]
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2486: พลเรือโท พลอากาศโท
Remove ads

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ...
ปิด
Remove ads

อ้างอิง

Remove ads

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads