คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

จังหวัดนครปฐม

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดนครปฐมmap
Remove ads

นครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลเบื้องต้น จังหวัดนครปฐม, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ก่อนประวัติศาสตร์

มีการพบหลักฐานโบราณคดีที่อาจมีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ชิ้นส่วนขวานหินขัด ชิ้นส่วนกำไรหิน เศษภาชนะสำริดลักษณะคล้ายขัน และชิ้นส่วนเศษกระดูกมนุษย์ ที่แหล่งโบราณคดีไร่นายจิ๋ว บุญรักษา ที่ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองนครปฐม และที่แหล่งโบราณคดีไร่จรัลเพ็ญ บ้านหนองกบ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน[3]

แหล่งโบราณคดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตะกวด)หมายเลข 1 ได้พบกะโหลกศีรษะมนุษย์โบราณ ลูกปัดหิน และกำไรสำริดจำนวนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นสถานที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ยุคเหล็ก กำหนดอายุราว 2,000 ปีมาแล้ว ส่วนแหล่งโบราณคดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หมายเลข 2 พบโครงกระดูกมนุษย์ซึ่งมีการนำภาชนะเครื่องดินเผาวางอุทิศ สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีนี้เป็นสถานที่ฝังศพของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย มีลักษณะเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม[4]:164–166

สมัยทวารวดี

เมืองนครปฐมโบราณเริ่มมีชุมชนมาตั้งถิ่นฐานมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8–11 โดยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13–14 และเสื่อมความสำคัญลงในพุทธศตวรรษที่ 17[5]

บริเวณที่ตั้งของเมืองนครปฐมโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ 11–16 ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก[6] จากหลักฐานทางโบราณคดีพบสมอเรือขนาดใหญ่ที่วัดธรรมศาลา นอกจากนั้นยังมีชื่อหมู่บ้านในเขตเมืองนครปฐมที่แสดงถึงพื้นที่ที่เคยอยู่ริมทะเล เช่น แหลมบัว แหลมกระเจา แหลมมะเกลือ แหลมชะอุย หรือบ้านอ่าว เป็นต้น[4]:55

เมืองนครปฐมโบราณที่สำคัญในสมัยทวารวดี คือ เมืองนครชัยศรี หรือเรียกว่า นครไชยลิน หรือ เมืองพระประโทณ เมืองตั้งอยู่ห่างจากพระปฐมเจดีย์ออกไปทางทิศตะวันออกราว 2 กิโลเมตร มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร เป็นเมืองใหญ่ขนาด 3,600 × 2,000 เมตร ภายในเมืองนี้พบร่องรอยโบราณสถานจำนวนมาก อาทิ พระประโทณเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่กลางเมือง กับเจดีย์จุลประโทน ส่วนโบราณสถานที่อยู่นอกเมืองคือ วัดพระเมรุ พระปฐมเจดีย์ วัดพระงามอยู่ทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออกคือ วัดธรรมศาลา ทางทิศใต้คือ วัดดอนยายหอม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวด้วยว่าเมืองนครปฐมเป็นราชธานีของเมืองทวารวดี ส่วนชนชาติที่อาศัยอยู่ขณะนั้นคือ พวกละว้า[7]

ยังมีเมืองโบราณอีกแห่ง คือ เมืองกำแพงแสน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครปฐมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร มีรูปร่างเกือบกลมล้อมรอบด้วยคูน้ำคันดิน มีเนื้อที่ประมาณ 315 ไร่ คูเมืองมีความกว้าง 30 เมตร พบโบราณวัตถุเช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปสำริด ระฆังหิน ลายปูนปั้นประดับศาสนาสถาน หินบดยา แหวนโลหะ และเนื่องจากเมืองกำแพงแสนตั้งอยู่ระหว่างเมืองอู่ทองและเมืองนครชัยศรี จึงสันนิษฐานว่าเมืองกำแพงแสนเป็นเมืองเศรษฐกิจทั้งทางน้ำและทางบก เป็นสถานที่พักและเปลี่ยนสินค้า จากหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเมืองนครชัยศรีและเมืองกำแพงแสน แสดงให้เห็นว่าประชาชนนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู[4]:56–59

สมัยสุโขทัย

ในสมัยสุโขทัยยังไม่ปรากฏชื่อนครปฐม เมืองนครปฐมโบราณในสมัยสุโขทัยมีฐานะอยู่ใต้การปกครองของสุโขทัย และยังให้ความสำคัญกับเมือง มีการบูรณะมหาเจดีย์และซ่อมแซมพระพุทธรูป ดังปรากฏว่าในศิลาจารึกวัดศรีชุม[4]:59 โดยเรียกเมืองนครปฐมโบราณว่า นครพระกฤษณ์[8]

สมัยอยุธยา

ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นช่วงเวลาที่พม่ายกทัพมาโจมตีอยุธยาหลายครั้ง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้รวมพื้นที่เมือง 3 เมืองขึ้นเป็นเมือง และตั้งชื่อตามเมืองโบราณว่า เมืองนครชัยศรี เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อเตรียมการระดมไพร่พลเพื่อรับศึกและควบคุมไพร่ไม่ให้หลบหนี ยังเป็นเมืองที่มีย่านการค้าและรับสินค้าจากภายนอกเข้ามาขาย เมืองนครชัยศรีที่ตั้งใหม่เป็นเมืองขนาดเล็กอยู่ห่างจากเมืองนครชัยศรีเดิมไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร ปรากฏฐานะในกฎหมายตราสามดวงระบุถึงตำแหน่งผู้ปกครอง คือ "ออกพระสุนธรบุรียศรีพิไชยสงคราม" เมืองนครชัยศรีอยู่ในฐานะเมืองจัตวา เป็นเมืองในเขตการปกครองชั้นในและเมืองในวงราชธานี เช่นเดียวกับเมืองราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร

จากหลักฐานทางโบราณคดีในยุคนี้ สันนิษฐานว่าวัดกลางบางแก้วน่าจะเป็นวัดประจำเมืองนครชัยศรีสมัยอยุธยา วัดในสมัยอยุธยา ได้แก่ วัดศรีมหาโพธิ์ วัดห้วยพลู วัดตุ๊กตา และวัดบางพระ[4]:60–61

สมัยธนบุรี

เมืองนครชัยศรีในสมัยธนบุรีมีความสำคัญด้านสงคราม เป็นเส้นทางเดินทัพของพม่า ผู้ครองเมืองนครชัยศรีเป็นผู้มีความสามารถในการรบ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ยกฐานะเจ้าเมืองเป็นพระยานครชัยศรี ในภาวะขาดแคลนข้าว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ขุนนางควบคุมไพร่ออกบุกเบิกพื้นที่โดยรอบ รวมถึงเมืองนครชัยศรี เมืองในสมัยนี้เป็นเมืองขนาดเล็กและเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ[4]:61

สมัยรัตนโกสินทร์

Thumb
ภาพถ่ายพระปฐมเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จากบันทึกของสังฆราชปาเลอกัว บริเวณเมืองนครชัยศรีมีการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเจรจาในสนธิสัญญาเบอร์นี มีชาวจีนมาเป็นกรรมกรในโรงงานและประกอบอาชีพอื่น เช่น เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ชาวจีนได้รวมตัวกันมากขึ้นจนได้ตั้งสมาคมลับหรืออั้งยี่ที่เมืองนครชัยศรี จน พ.ศ. 2390 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) (ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)) เข้ามาปราบปรามอั้งยี่[4]:63

จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงยังผนวชได้ธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ และทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ไม่มีที่ใดเทียบเท่า ครั้นเมื่อได้ครองราชย์ จึงโปรดฯ ให้ก่อเจดีย์แบบลังกาครอบองค์เดิมไว้ โดยให้ชื่อว่า “พระปฐมเจดีย์” ทรงปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ในบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ให้มีสภาพดี และโปรดฯ ให้ขุดคลองเจดีย์บูชาเพื่อให้การเสด็จมานมัสการสะดวกขึ้น[9]

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนภูมิภาคจาก "กินเมือง" มาเป็น "เทศาภิบาล" โดยรวมเอาหัวเมืองเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่า "มณฑล" ให้รวมอำนาจขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย โดยมณฑลนครชัยศรีก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2438 ประกอบด้วยเมืองนครชัยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร ตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองนครชัยศรี และได้เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองนครปฐม ซึ่งขณะนั้นยังเป็นป่ารก พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายเมืองจากตำบลท่านา อำเภอนครชัยศรี มาตั้งที่บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์เหมือนเช่นครั้งสมัยโบราณ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานและฝึกซ้อมรบแบบเสือป่า โดยโปรดฯ ให้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้ง สร้างสะพานเจริญศรัทธาข้ามคลองเจดีย์บูชาเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟกับองค์พระปฐมเจดีย์ ตลอดจนสร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์และบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ให้สมบูรณ์สวยงามดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน พระองค์โปรดให้เรียกชื่อเมืองนครปฐม ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานนามพระราชวังว่า "ปฐมนคร" และได้เปลี่ยนชื่อ จากเมือง "นครไชยศรี" เป็น "นครปฐม" เมื่อ พ.ศ. 2459[10]

พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศยกเลิกมณฑลนครไชยศรีและโอนให้การปกครองจังหวัดในมณฑลนครไชยศรีไปรวมกับมณฑลราชบุรี และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2476 จังหวัดนครปฐมซึ่งเคยขึ้นกับมณฑลราชบุรีก็แยกมาเป็นเขตการปกครองส่วนภูมิภาคอิสระเป็นจังหวัดนครปฐมจนถึงปัจจุบัน[11]

Remove ads

ภูมิศาสตร์

สรุป
มุมมอง

จังหวัดนครปฐมตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยหน่วยงานบางแห่ง เช่น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้จังหวัดนครปฐมอยู่ภาคตะวันตก จังหวัดนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 พิลิปดา เส้นลองจิจูดที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 พิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร

จังหวัดที่ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม วนตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี

สำหรับภูมิอากาศของนครปฐม

ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของนครปฐม (2504–2533), เดือน ...
Remove ads

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

การเมืองการปกครอง

สรุป
มุมมอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองส่วนภูมิภาคในจังหวัดนครปฐม แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ ประกอบด้วย 106 ตำบล และ 930 หมู่บ้าน โดยอำเภอต่าง ๆ มีดังนี้

Thumb
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครปฐม
ข้อมูลเพิ่มเติม เลขในแผนที่, อำเภอ ...

การปกครองส่วนท้องถิ่น

พื้นที่จังหวัดนครปฐมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 117 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 6 แห่ง เทศบาลตำบล 19 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 90 แห่ง[12]

ข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่, ลำดับ ...
  1. หมายถึงปีที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลในระดับปัจจุบัน

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, ชื่อ ...
ข้อมูลเพิ่มเติม ปี, ประชากร ...
Remove ads

สถานศึกษา

ระดับอุดมศึกษา
Thumb
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม
  • วิทยาลัยสารพัดช่างนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
  • วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า
  • วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล
  • วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีนครปฐม
  • กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดนครปฐม
Remove ads

สถานที่ท่องเที่ยว

Thumb
งานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์


  • วัดไร่ขิง
  • วัดพระประโทน
  • วัดดอนยายหอม
  • วัดไร่แตงทอง
  • วัดหนองพงนก
  • วัดกลางบางพระ
  • ถนนชมพูพันธุ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • พิพิธภัณฑ์ศิลปะนกฮูก
  • เจษฎา เทคนิค มิวเซียม (Jesada Technik Museum)
  • วู้ดแลนด์ เมืองไม้ (Woodland Museum & Resort)
  • เมืองรติยา
  • หอภาพยนตร์
Remove ads

บุคคลที่มีชื่อเสียง

ศาสนา
บันเทิง
กีฬา
นางงาม
ข้าราชการ
Remove ads

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads