คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ถนนบรมราชชนนี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ถนนบรมราชชนนี [บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-ชน-นะ-นี] (อักษรโรมัน: Thanon Borommaratchachonnani) หรือ ถนนปิ่นเกล้า–นครชัยศรี เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Remove ads
Remove ads
รายละเอียดของเส้นทาง
สรุป
มุมมอง
เส้นทางเริ่มต้นที่ทางแยกบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบกับถนนสิรินธร (ที่มาจากสะพานกรุงธน) ที่ทางแยกต่างระดับสิรินธร ไปทางทิศตะวันตก ข้ามคลองบางกอกน้อย และมีแนวทางขนานไปกับทางรถไฟสายใต้ ผ่านพื้นที่เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา อำเภอพุทธมณฑล และอำเภอสามพราน ข้ามแม่น้ำท่าจีน ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ที่ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ท่านา) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมระยะทาง 33.984 กิโลเมตร (หรือประมาณ 36 กิโลเมตร หากเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย)
ถนนบรมราชชนนีมีขนาด 8 ช่องจราจรในช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร จากนั้นจะมีขนาด 12 ช่องจราจรจนถึงจุดสิ้นสุดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และลดเหลือ 10 ช่องจราจรจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี (ยกเว้นสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนที่มีขนาด 6 ช่องจราจร) เส้นทางมีทั้งช่วงที่อยู่ในความควบคุมของกรุงเทพมหานคร และสำนักทางหลวง 11 (กรุงเทพฯ) กรมทางหลวง
- ช่วงแรก ตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีจนกระทั่งก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร อยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานคร
- ช่วงที่สอง ตั้งแต่ก่อนถึงทางแยกต่างระดับสิรินธรไปจนกระทั่งสุดเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงตลิ่งชัน แขวงทางหลวงธนบุรี
- ช่วงที่สาม ตั้งแต่เข้าเขตจังหวัดนครปฐมไปจนถึงทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อยู่ในเขตควบคุมของหมวดทางหลวงนครชัยศรี แขวงทางหลวงสมุทรสาคร
อนึ่ง ถนนบรมราชชนนีฟากเหนือช่วงตั้งแต่ทางแยกบรมราชชนนีถึงสะพานข้ามคลองบางกอกน้อย เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตบางพลัด
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง

ถนนบรมราชชนนีเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เรียกว่า ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 สายบางกอกน้อย–นครชัยศรี เพื่อบรรเทาการจราจรที่แออัด และให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางสู่จังหวัดปริมณฑลโดยรอบกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้และภาคตะวันตกมากขึ้น โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากทางแยกบรมราชชนนี ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527
ใน พ.ศ. 2534 กระทรวงมหาดไทยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อทางหลวงหมายเลข 338 ว่า "ถนนบรมราชชนนี"
ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียหมายเลข 123[1]
ต่อมาใน พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาการจราจร โดยสร้างทางคู่ขนานยกเชื่อมสะพานข้ามทางแยกอรุณอมรินทร์และสะพานข้ามทางแยกบรมราชชนนีเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์และทางแยกบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2539 และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี" เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีระยะทางทั้งหมด 14 กิโลเมตร
อนึ่ง ใน พ.ศ. 2556 ได้มีประกาศกระทรวงคมนาคมเปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338 เป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556[2]
ใน พ.ศ. 2561 ได้มีการปรับปรุงทางต่างระดับฉิมพลีและพุทธมณฑล สาย 4 เพื่อแก้ไขปัญหารถติดและขยายทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โดยจะเสร็จประมาณ พ.ศ. 2563[3]
Remove ads
ทางแยกที่สำคัญ
สถานที่สำคัญ

- โลตัส ปิ่นเกล้า
- เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า
- เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า
- โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก (สาขาปิ่นเกล้า)
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน
- ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี)
- โรงพยาบาลธนบุรี 2
- วิทยาลัยทองสุข
- พุทธมณฑล
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถานีขนส่งสินค้าพุทธมณฑล
- พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
- เซ็นทรัลพลาซา ศาลายา, ไทวัสดุ ศาลายา
- โลตัส ศาลายา
- โฮมโปร ศาลายา
Remove ads
ดูเพิ่ม
- แยกบรมราชชนนี
- สะพานพระราม 8
- ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads