Remove ads
เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางพลัด เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
เขตบางพลัด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bang Phlat |
ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถ่ายจากสถานีรถไฟฟ้าบางพลัด | |
คำขวัญ: | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางพลัด | |
พิกัด: 13°47′38″N 100°30′18″E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 11.360 ตร.กม. (4.386 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 87,205[1] คน |
• ความหนาแน่น | 7,676.50 คน/ตร.กม. (19,882.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10700 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1025 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 39 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 |
เว็บไซต์ | www |
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
มีข้อสันนิษฐานว่าชื่อ "บางพลัด" หมายถึง การพลัดหลงหรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ได้พลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง[2] ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น "บางภัทร์" ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด[3]
เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด ขึ้นกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัดโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น[4]
ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขตบางพลัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยโอนพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขันเฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง
เขตบางพลัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางพลัด[5] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 134,681 | ไม่ทราบ |
2536 | 134,970 | +289 |
2537 | 133,520 | -1,450 |
2538 | 130,759 | -2,761 |
2539 | 129,228 | -1,531 |
2540 | 127,566 | -1,662 |
2541 | 125,451 | -2,115 |
2542 | 123,035 | -2,416 |
2543 | 120,200 | -2,835 |
2544 | 118,748 | -1,452 |
2545 | 117,561 | -1,187 |
2546 | 116,271 | -1,290 |
2547 | 110,367 | -5,904 |
2548 | 108,597 | -1,770 |
2549 | 107,139 | -1,458 |
2550 | 105,347 | -1,792 |
2551 | 103,852 | -1,495 |
2552 | 102,320 | -1,532 |
2553 | 101,276 | -1,044 |
2554 | 100,319 | -957 |
2555 | 99,153 | -1,166 |
2556 | 98,113 | -1,040 |
2557 | 96,787 | -1,326 |
2558 | 95,478 | -1,309 |
2559 | 93,771 | -1,707 |
2560 | 92,325 | -1,446 |
2561 | 91,278 | -1,047 |
2562 | 90,869 | -409 |
2563 | 89,417 | -1,452 |
2564 | 88,290 | -1,127 |
2565 | 87,475 | -815 |
2566 | 87,205 | -270 |
|
|
เขตบางพลัดมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก จึงมีการสร้างวัดเป็นจำนวนไม่น้อย แบ่งเป็นวัด 23 วัด
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.