Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้ามหานคร (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit; MRT) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นอกเหนือไปจากระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอื่น ได้แก่ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
รถไฟฟ้ามหานคร | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่ออื่น | รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที |
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย |
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร |
จำนวนสถานี | 179 (ทั้งหมด) 107 (เปิดให้บริการ) 72 (โครงการ) |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | ระบบขนส่งมวลชนเร็วและรถไฟรางเดี่ยว |
เส้นทาง | 6 (ทั้งหมด) 4 (เปิดให้บริการ) 2 (โครงการ) |
ขบวนรถ | สายสีน้ำเงิน ซีเมนส์ โมดูลาร์เมโทร (EMU-IBL) จำนวน 57 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้ ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE) จำนวน 105 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้ สายสีม่วง เจเทรค ซัสติน่า (S24-EMU) จำนวน 63 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้ สายสีเหลือง อัลสตอม อินโนเวีย โมโนเรล 300 (YL-EMU) จำนวน 120 ตู้ : ขบวนละ 4 ตู้ สายสีชมพู อัลสตอม อินโนเวีย โมโนเรล 300 (PL-EMU) จำนวน 168 ตู้ : ขบวนละ 4 ตู้ สายสีส้ม ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-IOL) จำนวน 96 ตู้ : ขบวนละ 3 ตู้ |
ผู้โดยสารต่อวัน | 287,000[1] |
ประวัติ | |
ปีที่เริ่ม | พ.ศ. 2540 |
เปิดเมื่อ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 |
ส่วนต่อขยายล่าสุด | 7 มกราคม พ.ศ. 2567สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี - สถานีมีนบุรี) | (
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 99.3 km (61.7 mi) |
รางกว้าง | สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีส้ม 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ สายสีเหลือง สายสีชมพู Straddle-beam Monorail มาตรฐาน ALWEG |
รถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบันได้แก่ สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) และสายสีชมพู
เส้นทาง | เปิดให้บริการ | ต่อขยายล่าสุด | สถานีปลายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | จำนวนสถานี | ผู้ให้บริการ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สายสีน้ำเงิน (ระบบขนส่งมวลชนเร็ว) |
2547 | 2563 | สถานีท่าพระ (เขตบางกอกใหญ่) |
สถานีหลักสอง (เขตบางแค) |
47 km (29 mi) | 38[ก] | บีอีเอ็ม | |
สายสีม่วง (ระบบขนส่งมวลชนเร็ว) |
2559 | — | สถานีคลองบางไผ่ (อ.บางบัวทอง) |
สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) |
23.6 km (14.7 mi) | 16 | รฟม. / บีอีเอ็ม | |
สายสีเหลือง (รถไฟรางเดี่ยว) |
2566 | — | สถานีลาดพร้าว (เขตจตุจักร) |
สถานีสำโรง (อ.เมืองสมุทรปราการ) |
28.7 km (17.8 mi) | 23 | อีบีเอ็ม / บีทีเอสซี | |
สายสีชมพู (รถไฟรางเดี่ยว) |
2567 | — | สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (อ.เมืองนนทบุรี) |
สถานีมีนบุรี (เขตมีนบุรี) |
34.5 km (21.4 mi) | 30 | เอ็นบีเอ็ม / บีทีเอสซี | |
รวม | 133.8 km (83.1 mi) | 107[ก] |
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนที่มีเส้นทางทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 55 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการที่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นสถานียกระดับในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีบางหว้า ก่อนจะมาเจอกับสถานีท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใหญ่รวมเส้นทางของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าด้วยกัน หลังจากผ่านสถานีท่าพระ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีอิสรภาพ ก่อนจะวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึกกว่า 25 เมตร เพื่อเข้าสู่ฝั่งพระนคร รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนต่อขยายเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ที่สถานีสามยอด และเข้าสู่สถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนด้วย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส อีกครั้งที่สถานีสีลม และสถานีสุขุมวิท ก่อนจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีเพชรบุรี รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท อีกครั้งที่สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ก่อนเข้าสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง หลังออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนเหนือที่สถานีเตาปูน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีอีกครั้งที่สถานีบางโพ เลี้ยวเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ไปทางทิศใต้ จากนั้นยกระดับข้ามทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ที่ความสูง 24 เมตร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน และรวมเส้นทางกับสายสีส้มอีกครั้งที่สถานีบางขุนนนท์ ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางของทั้งโครงการที่สถานีท่าพระ จากนั้นรถไฟฟ้าจะตีรถกลับและวิ่งเส้นทางเดิม
จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนแม่บทคือเป็นเส้นทางสำหรับใช้เดินทางระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเมื่อเปิดให้บริการทั้งโครงการ จะมีสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งถือว่ามากที่สุดในแผนแม่บท โดยปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการในเส้นทางท่าพระ-บางซื่อ-หลักสอง โดยเป็นเส้นทางยกระดับจากสถานีท่าพระไปจนถึงสถานีเตาปูน จากนั้นเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินในช่วงบางซื่อ-อิสรภาพ และเปลี่ยนเป็นเส้นทางกลับเป็นยกระดับอีกครั้งที่สถานีท่าพระไปจนถึงสถานีหลักสอง ให้บริการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยในอนาคตโครงการยังมีแผนขยายเส้นทางไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ด้วย
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีเส้นทางในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ทิศใต้ของกรุงเทพฯ มีโครงสร้างทั้งบนดิน และใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 43 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการจากชานเมืองที่ สถานีคลองบางไผ่ บนถนนกาญจนาภิเษก ในพื้นที่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี จากนั้นตีโค้งเข้าถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีไทรม้า-สะพานพระนั่งเกล้า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครฝั่งพระนคร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีบางซ่อน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีเตาปูน จากนั้นเส้นทางของส่วนต่อขยายส่วนใต้จะลดระดับเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีรัฐสภา ใกล้กับรัฐสภาแห่งใหม่ เส้นทางจะเข้าสู่เขตกรุงเก่า เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีสามเสน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มส่วนตะวันตกที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลส่วนใต้อีกครั้งที่สถานีสามยอด ก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในแนวขนานกับสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ฝั่งธนบุรีที่สถานีสะพานพุทธ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานีวงเวียนใหญ่ จากนั้นเส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และสิ้นสุดทั้งโครงการที่สถานีครุใน บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก
จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมตามแผนแม่บทคือ เป็นเส้นทางสำหรับใช้เชื่อมต่อระหว่าง จ.นนทบุรี และ จ.สมุทรปราการ ให้เข้าสู่เขตใจกลางเมืองในกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันสายฉลองรัชธรรมเปิดให้บริการในเส้นทางคลองบางไผ่-เตาปูน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง ผ่านการว่าจ้าง บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการประมูลเพื่อก่อสร้างส่วนต่อขยายส่วนใต้ภายในปี พ.ศ. 2561
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีแนวเส้นทางในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวสายแรกของประเทศไทย ระยะทางรวมอยู่ที่ 28.7 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการจากบริเวณย่านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานครที่สถานีลาดพร้าวซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บนถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จากนั้นตีโค้งเข้าสู่ถนนลาดพร้าว และวิ่งมาทางทิศตะวันออกจนถึงแยกบางกะปิ จากนั้นเลี้ยวขวาและวิ่งลงมาทางทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีแยกลำสาลี รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ที่สถานีหัวหมาก จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดสมุทรปราการหลังพ้นแยกศรีลาซาล และเลี้ยวขวาวิ่งไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนเทพารักษ์ เพื่อสิ้นสุดที่สถานีสำโรง อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายนัคราพิพัฒน์ตามแผนแม่บทคือ เป็นเส้นทางขนส่งรองสำหรับป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรางหนัก โดยรับผู้โดยสารจากย่านกรุงเทพตะวันออกเพื่อส่งถ่ายผู้โดยสารให้เข้าสู่เขตใจกลางเมืองด้วยระบบรางหนักได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันสายนัคราพิพัฒน์เปิดให้บริการในเส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ให้บริการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด โดยมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถ ในส่วนของส่วนต่อขยายลาดพร้าว-รัชโยธินตามที่ผู้รับสัมปทานเสนอมา ได้ยกเลิกการดำเนินการลงเนื่องจากมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากผู้รับสัมปทานสายสีน้ำเงินที่คัดค้านการเกิดขึ้นของส่วนต่อขยาย
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่มีแนวเส้นทางในทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ระยะทางรวมอยู่ที่ 34.5 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการจากบริเวณใจกลางเมืองนนทบุรีที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม บนถนนรัตนาธิเบศร์ ในพื้นที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี จากนั้นตีโค้งเข้าสู่ถนนติวานนท์ และวิ่งมาทางทิศเหนือจนถึงแยกปากเกร็ด จากนั้นเลี้ยวขวาและวิ่งลงมาทางทิศตะวันออกตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ เข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครที่สถานีแจ้งวัฒนะ 14 จากนั้นวิ่งต่อมาจนถึงแยกวงเวียนหลักสี่เข้าสู่ถนนรามอินทรา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยาที่สถานีหลักสี่ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิทที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ จากนั้นเข้าสู่ถนนสีหบุรานุกิจจนถึงสะพานข้ามคลองสามวาก็จะเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบ และข้ามถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า อันเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
จุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูตามแผนแม่บทคือ เป็นเส้นทางขนส่งรองสำหรับป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรางหนัก โดยรับผู้โดยสารจากย่านกรุงเทพเหนือเพื่อส่งถ่ายผู้โดยสารให้เข้าสู่เขตใจกลางเมืองด้วยระบบรางหนักได้อย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันสายสีชมพูเปิดให้บริการในเส้นทางแคราย-มีนบุรี ให้บริการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด โดยมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เดินรถ ในส่วนของส่วนต่อขยายศรีรัช-เมืองทองธานี อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2568
เส้นทาง | กำหนดเปิดให้บริการ | สถานีปลายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | จำนวนสถานี | ผู้ให้บริการ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สายสีส้ม (ระบบขนส่งมวลชนเร็ว) |
พ.ศ. 2570 | สถานีบางขุนนนท์ (เขตบางกอกน้อย) |
สถานีแยกร่มเกล้า (เขตมีนบุรี) |
35.9 km (22.3 mi) | 28 | บีอีเอ็ม | |
สายสีม่วง (ส่วนใต้) (ระบบขนส่งมวลชนเร็ว) |
พ.ศ. 2571 | สถานีเตาปูน (เขตบางซื่อ) |
สถานีครุใน (อ.พระประแดง) |
20 km (12 mi) | 18 | รฟม. / บีอีเอ็ม | |
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงมีนบุรี-บางขุนนนท์ ในแนวเส้นทางทิศตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานครจากเขตมีนบุรี บริเวณแยกถนนสุวินทวงศ์เข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่าน บางกะปิ, ห้วยขวาง, ดินแดง, ราชปรารภ, ประตูน้ำ, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังโรงพยาบาลศิริราช สิ้นสุดเส้นทางที่บางขุนนนท์ เส้นทางเกือบทั้งหมดเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี และอยู่ระหว่างการประมูลงานโยธา ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรม (ส่วนตะวันตก) รวมกับงานระบบรถไฟฟ้า และงานเดินรถไฟฟ้าและการซ่อมบำรุงของทั้งโครงการ (ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี) เริ่มก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2560 เสร็จในปี พ.ศ. 2566 และสามารถเปิดให้บริการส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- มีนบุรี) ในปี พ.ศ. 2569 และส่วนตะวันตก(ช่วงบางขุนนนท์ -ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ในปี พ.ศ. 2572[2][3][4]
เส้นทาง | กำหนดเปิดให้บริการ | สถานีปลายทาง | ระยะทาง (กิโลเมตร) | จำนวนสถานี | ||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีน้ำตาล (รถไฟรางเดี่ยว) |
2572 (คาดการณ์)[5] | สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี (อ.เมืองนนทบุรี) |
สถานีลำสาลี (เขตบางกะปิ) |
21 km (13 mi) | 20 | |
สายสีน้ำเงิน (ระบบขนส่งมวลชนเร็ว) |
ระงับแผนชั่วคราวรอประเมินจำนวนผู้โดยสาร[6][7] | สถานีหลักสอง (เขตบางแค) |
สถานีพุทธมณฑล สาย 4 (อ.กระทุ่มแบน) |
8 km (5.0 mi) | 5 | |
สายสีเงิน (ระบบขนส่งมวลชนเร็วขนาดเบา) |
2585 (คาดการณ์) | สถานีบางนา (เขตบางนา) |
สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคาร South Terminal (อ.บางพลี) |
24 km (15 mi) | 14 | |
สายสีเทา (รถไฟรางเดี่ยว) |
2577 (คาดการณ์) | สถานีคลองสี่ (อ.ลำลูกกา) |
สถานีทองหล่อ (เขตวัฒนา) |
21.25 km (13.20 mi) | 20 | |
2585 (คาดการณ์) | สถานีพระโขนง (เขตคลองเตย) |
สถานีท่าพระ (เขตบางกอกใหญ่) |
23.65 km (14.70 mi) | 24 | ||
สายสีฟ้า (รถไฟรางเดี่ยว) |
2585 (คาดการณ์) | สถานีประชาสงเคราะห์ (เขตดินแดง) |
สถานีช่องนนทรี (เขตบางรัก) |
9.5 km (5.9 mi) | 9 | |
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแคราย-เกษตร-รามคำแหง ยกระดับบนถนนติวานนท์, งามวงศ์วาน, ประเสริฐมนูกิจ และนวมินทร์ ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับ จ.นนทบุรี และชานเมืองด้านทิศตะวันออกที่เขตบางกะปิ
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงบางนา-อาคาร South Terminal ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกระดับบนถนนเทพรัตน และถนนสุวรรณภูมิ ระยะทาง 24 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเร็วขนาดเบาที่กรุงเทพมหานครศึกษาเพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสุขุมวิท เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแนวถนนเทพรัตนที่เป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ในย่านกรุงเทพตะวันออก
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงแยกลำลูกกา-คลองสี่-วัชรพล-ทองหล่อ ยกระดับบนถนนลำลูกกา, สุขาภิบาล 5, ประดิษฐ์มนูธรรม, ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ), พระราม 4, สาทร, นราธิวาสราชนครินทร์, พระราม 3 และรัชดาภิเษกฝั่งใต้ ระยะทาง 45.25 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครกับเขตเศรษฐกิจชั้นในของกรุงเทพมหานครอย่างรวดเร็ว
เป็นโครงการรถไฟฟ้าช่วงชุมชนประชาสงเคราะห์-สาทร ยกระดับบนถนนประชาสงเคราะห์, ถนนจตุรทิศ, อโศก-ดินแดง นิคมมักกะสัน วิทยุ และสาทร ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กเพื่อเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจชั้นในของกรุงเทพมหานคร เข้ากับศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร (ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร) ย่านดินแดง
ปี | ผู้โดยสารทั้งหมด | ผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน |
---|---|---|
2554 | 69,024,000 | 189,083 |
2555 | 80,575,000 | 220,167 |
2556 | 86,427,000 | 236,833 |
2557 | 92,403,000 | 253,417 |
2558 | 95,044,000 | 260,500 |
2559 | 100,106,000 | 273,583 |
2560 | 107,484,000 | 294,476 |
2561 | 113,355,000 | 310,561 |
2562 | 122,559,000 | 335,778 |
2563 | 94,942,000 | 259,404 |
2564 | 53,319,000 | 146,079 |
2565 | 98,577,000 | 270,073 |
อันดับ | สถานี | สาย | จำนวนผู้โดยสารทั้งปี (2564)[10][11] |
---|---|---|---|
1 | สุขุมวิท | สายสีน้ำเงิน | 9,627,729 |
2 | สวนจตุจักร | สายสีน้ำเงิน | 6,865,636 |
3 | พระราม 9 | 6,855,613 | |
4 | เพชรบุรี | 6,791,555 | |
5 | สีลม | 5,333,875 | |
6 | ห้วยขวาง | 4,981,804 | |
7 | พหลโยธิน | 4,241,269 | |
8 | ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | สายสีน้ำเงิน | 4,103,960 |
9 | หลักสอง | สายสีน้ำเงิน | 3,989,684 |
10 | ลาดพร้าว | 3,779,865 |
อันดับ | สถานี | สาย | จำนวนผู้โดยสารทั้งปี (2564)[10][11] |
---|---|---|---|
1 | บางรักใหญ่ | สายสีม่วง | 256,539 |
2 | สามแยกบางใหญ่ | 297,085 | |
3 | ไทรม้า | 435,570 | |
4 | บางพลัด | สายสีน้ำเงิน | 485,490 |
5 | บางพลู | สายสีม่วง | 495,914 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.