สถานีพระราม 9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีพระราม 9 (อังกฤษ: Phra Ram 9 Station, รหัส BL20) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร บริเวณแยกพระราม 9 มีทำเลอยู่ในย่านธุรกิจ, อาคารสำนักงาน, ศูนย์การค้าด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และสถานบันเทิงย่านรัชดาภิเษก
พระราม 9 BL20 Phra Ram 9 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°45′26″N 100°33′55″E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL20 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 6,855,613 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
ถนนรัชดาภิเษก บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระราม 9 จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษก, ถนนอโศก-ดินแดง และถนนพระราม 9 ในพื้นที่แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, ฟอร์จูนทาวน์ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย |
B1 ชั้นร้านค้า |
ทางออก 1-3, เซ็นทรัล พระราม 9, อาคารสำนักงาน จีทาวเวอร์, เมโทรมอลล์ | |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B3 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปเลข 9 ไทย (๙) เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพระราม 9 จุดตัดถนนพระราม 9 โดยใช้สีแดงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นย่านธุรกิจ หรือตลาด[1]
เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 199 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)
แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย
ภายในสถานีพระราม 9 ได้จัดให้มีส่วนร้านค้า หรือเมโทรไนน์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี เปิดให้บริการวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และยังมีทางเข้าสู่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ที่ชั้น B ของศูนย์การค้า เพื่อเชื่อมทางเดินเข้าตัวสถานีที่ชั้นบนสุดของสถานี นับเป็นอาคารอสังหาริมทรัพย์หลังที่สองที่สามารถเจาะตัวสถานีเพื่อทำทางเดินเข้าสู่สถานีได้
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[2] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05:56 | 23:52 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:58 | 23:52 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) | จันทร์ – ศุกร์ | 05:55 | 23:45 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 06:01 | 23:45 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22:59 |
(เฉพาะขากลับรังสิต) 517(1-56)(รถไปอนุสาวรีย์) 1-63 555(S6)(TSB) 3-55
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.