สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีรถไฟหลักของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟหลักของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (อังกฤษ: Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station) ชื่อเดิมคือ สถานีกลางบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Grand Station) เป็นสถานีรถไฟหลักในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าให้เป็นสถานีกลางแห่งใหม่ของประเทศไทยทดแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เดิมที่จะยกเลิกลงเหลือเพียงสถานีรายทางของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ตัวสถานีตั้งอยู่ใจกลางศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่แขวงจตุจักร ใกล้กับศาลเยาวชนและครอบครัวกลางและบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ถือเป็นสถานีรถไฟกลางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชานชาลามากถึง 26 ชานชาลา และเมื่อเปิดบริการครบทุกเส้นทางสถานีแห่งนี้จะเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางระบบรางที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย และของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรุงเทพอภิวัฒน์ Krung Thep Aphiwat | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีฯ เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | สถานีกลางบางซื่อ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | 336 ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°48′18″N 100°32′30″E | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย (บนดิน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ใต้ดิน) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ชานเมือง) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้บริหาร | กระทรวงคมนาคม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สาย | การรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟฟ้า สายสีแดง รถไฟฟ้ามหานคร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 26 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 38 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | บางซื่อ รถโดยสารประจำทาง แท็กซี่ / มอเตอร์ไซค์รับจ้าง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่จอดรถ | 1,624 คัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มีบริการ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | รถไฟทางไกลทุกสาย ยกเว้นสายตะวันออก[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภท | สถานีระดับที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (สายสีแดงเข้ม)[2] 19 มกราคม พ.ศ. 2566 (รถไฟระหว่างเมือง)[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติดตั้งระบบไฟฟ้า | 25 kV 50 Hz เหนือหัว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
นาม กรุงเทพอภิวัฒน์ เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการสถานีกลางบางซื่อ มีความหมายว่า "ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร"[3]
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เปิดใช้งานอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเริ่มให้บริการแก่บุคลากรภายในกระทรวงคมนาคมก่อน ก่อนจะเริ่มให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนตั้งแต่ 7 มิถุนายน จากนั้นได้เริ่มทดลองให้บริการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ก่อนเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน และเริ่มให้บริการรถไฟระหว่างเมืองตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เมื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้วจะรองรับรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทยทุกเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ระบบรถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวม 24 ชานชาลา อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ ในเส้นทางหลัก ที่เป็นเส้นทางรถไฟจากสถานีรถไฟคุนหมิง ประเทศจีน ไปยังสถานีรถไฟจูรงตะวันออก ประเทศสิงคโปร์ โดยผ่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถานีชุมทางในการเปลี่ยนสายระหว่างช่วง กรุงเทพฯ - ลาว - จีน (สายอีสาน) และกรุงเทพฯ - มาเลเซีย - สิงคโปร์ (สายใต้)
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2556 - 2564 ใช้งบประมาณในย่านสถานีทั้งสิ้น 34,142 ล้านบาท[4] อาคารสถานีมีความยาว 596.6 เมตร ความกว้าง 244 เมตร ความสูง 43 เมตร พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวม 274,192 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่สถานีใต้ดิน)[4] ออกแบบภูมิสถาปัตย์โดย บริษัท ดีไซน์ คอนเซปท์ จำกัด
ประกอบด้วย 26 ชานชาลา เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย 24 ชานชาลา และของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 2 ชานชาลา
อาคารสถานีมีทั้งหมด 7 ชั้นรวมชั้นใต้ดิน ชั้นใต้ดิน 2 ชั้นฝั่งใต้เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานคร ชั้นใต้ดินส่วนที่เหลือ 1 ชั้นเป็นลานจอดรถใต้ดิน ชั้นเหนือพื้นดินทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนบริการรถไฟ และส่วนบริการผู้โดยสาร สำหรับส่วนบริการรถไฟ ชั้นระดับดินเป็นห้องจำหน่วยตั๋วและโถงพักคอยผู้โดยสาร ชั้นที่สองให้บริการรถไฟรางหนึ่งเมตร ชั้นที่สามให้บริการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และส่วนบริการผู้โดยสาร ประกอบด้วยชั้นระดับดินเป็นโถงต้อนรับ พื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารสำหรับรถไฟทางไกล และศูนย์อาหาร ชั้นลอยเป็นร้านค้า และชั้น 3 เป็นพื้นที่สำนักงาน ประกอบด้วยสำนักงานใหญ่ของ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟที่ใช้ทางร่วม สำนักงานบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง และพื้นที่รองรับแขกวีไอพี
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์จะแตกต่างจากสถานีกรุงเทพเดิมเนื่องจากถูกออกแบบให้เป็นสถานีระบบปิด ผู้โดยสารที่ไม่มีตั๋วโดยสารรถไฟจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่พื้นที่ผู้โดยสารขาออกของสถานี (พื้นที่ส่วนบริการรถไฟบริเวณทิศเหนือของสถานี) ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
ในปี 2536-2537 รัฐบาลนายชวน หลีกภัยได้มีการจ้างวานบริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาความเป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูง ประกอบไปด้วยบริษัท วิลเบอร์สมิธแอสโซซิเอทส์ อิงค์ , บริษัททรานมาร์ค จำกัด , บริษัท เอเซี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอลซัลแตนส์ จำกัด , บริษัท ทีมคอลซันติ้ง เอนจิเนียร์ จำกัด ผลการศึกษาพบว่าควรสร้างสายกรุงเทพ-หนองงูเห่า-ระยอง โดยให้เหตุผลว่าความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและช่วยสนับสนุนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ได้มีการอนุมัติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537 โดยตั้งพื้นที่ห้วยขวางเป็นสถานีกลางกรุงเทพ[5] เชื่อมกับโครงการโฮปเวลล์ และเชื่อมกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน [6]โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบ และดำเนินการหาเอกชนมาร่วมลงทุน แต่โครงการถูกชะงักเพราะเกิดการยุบสภา ปัจจุบันพิ้นที่โครงการรถไฟสายกรุงเทพ-หนองงูเห่า-ระยอง[7] คือกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ [8]ก่อนที่จะมีการปรับสถานีกลางกรุงเทพเป็นสถานีกลางบางซื่อตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 22 พฤษภาคม 2550 ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ [9] โดยที่พื้นที่สถานีกลางกรุงเทพเดิม ปัจจุบันถูกใช้ประโยชน์เป็นที่ทำการใหญ่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และศูนย์ซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
ในคราวการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เมื่อ พ.ศ. 2552 ได้ออกแบบให้มีการก่อสร้างทางยกระดับบางส่วนสำหรับเข้าสถานีกลางบางซื่อ แต่ครั้งนั้นยังไม่อนุมัติให้มีการก่อสร้างตัวสถานี เนื่องจากปัญหาการบุกรุกพื้นที่ และความไม่ชัดเจนในการออกแบบตัวสถานี ทำให้มีการโยกงานติดตั้งเสาจ่ายไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้า (OCS) ทั้งหมดไปรวมกับสายสีแดงเข้ม เพื่อเปลี่ยนระบบเป็นระบบไฟฟ้าในคราวเดียว จึงทำให้โครงการถูกทิ้งร้าง ไม่ได้มีการใช้งานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปี พ.ศ. 2553 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติในหลักการ สถานีกลางบางซื่อ โดยถูกเสนอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ซึ่งเดิมกำหนดให้มีโครงสร้างสถานีจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ชั้นที่ 1 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟทางไกล ชั้นที่ 2 เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ส่วนต่อขยาย (ช่วงพญาไท-บางซื่อ) แต่ในปีเดียวกันเกิดการยุบสภา โครงการจึงหยุดชะงักลง
ต่อมาในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงนามในสัญญาก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และ โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556[10] โดยเริ่มเปิดพื้นที่การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556 หลังเริ่มก่อสร้างเพียงไม่นาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) สั่งการให้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงและปรับแบบทางวิ่งช่วงบางซื่อ-รังสิต จาก 3 ทางเป็น 4 ทางเพื่อให้รถไฟทางไกลสามารถวิ่งสวนกันได้โดยไม่ต้องจอดรอหลีก,ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาล่าช้าของขบวนรถ และไม่จำเป็นต้องใช้ห่วงทางสะดวก[11] อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการยุบสภาของคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ในปลายปี 2556 [12][13] ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมทั้งโครงการล่าช้าไปอย่างน้อยครึ่งปี
บริษัท ขนส่ง จำกัด เคยมีแนวคิดจะย้ายขนส่งหมอชิตมาอยู่ที่ขนส่งรังสิต [14]เพื่อคืนพื้นที่ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปสร้างสถานีกลางบางซื่อ แต่ภายหลังพบว่าต้องใช้งบประมาณราว 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบที่สูงเกินเท่าตัว บริษัท ขนส่ง จำกัด จึงปรับพื้นที่ใหม่ลดจาก 90 ไร่เป็น 50 ไร่เพื่อนำพื้นที่บางส่วนใช้เป็นสถานีกลางบางซื่อ รวมถึงปรับแบบการก่อสร้างสถานีเดินรถจากความสูง 5 ชั้นเหลือเพียง 2 ชั้น[15][16]
ในสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 สถานีกลางบางซื่อเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เริ่มให้บริการแก่บุคลากรภายในกระทรวงคมนาคมก่อน ก่อนจะเริ่มให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนตั้งแต่ 7 มิถุนายน[17] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 เป็นสถานที่จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 20 เพื่อเป็นการฉลองการจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครบรอบ 50 ปี และครบรอบ 125 ปีการรถไฟแห่งประเทศไทย [18] และในวันที่ 29 กันยายน ปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามแก่สถานีนี้ว่า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ โดยมีความหมายถึง "ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งแห่งกรุงเทพมหานคร"[3] พร้อมกับทางพิเศษประจิมรัถยา ซึ่งมีความหมายถึง "เส้นทางไปยังทิศตะวันตก"[19]
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เริ่มให้บริการรถไฟครั้งแรกในการเปิดอย่างไม่เป็นทางการของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564[20] ก่อนเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน[21] และเริ่มทำการย้ายรถไฟระหว่างเมืองในกลุ่มขบวนรถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ ของสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รวมจำนวน 52 ขบวน จากสถานีกรุงเทพ มาเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2566[22] ส่วนรถไฟในกลุ่มขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยว จำนวน 62 ขบวน ยังคงเริ่มต้นให้บริการที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตามเดิม[5]
สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ให้บริการขบวนรถดังต่อไปนี้
สายต่อไปนี้มีสถานีที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
U3 ชั้นชานชาลาบน (สแตนดาร์ดเกจ) (ยังไม่เปิดใช้งาน) |
ชานชาลา 24 | HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี |
ชานชาลา 23 | HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี | |
ชานชาลา 22 | HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี | |
ชานชาลา 21 | HSR ใต้ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีสุราษฎร์ธานี | |
ชานชาลา 20 | HSR เหนือ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่ | |
ชานชาลา 19 | HSR เหนือ สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่ | |
ชานชาลา 18 | เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา | |
ชานชาลา 17 | เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา | |
ชานชาลา 16 | เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา | |
ชานชาลา 15 | เอชเอสอาร์ สายอีสาน (กำลังก่อสร้าง) สถานีปลายทาง, มุ่งหน้า นครราชสีมา | |
ชานชาลา 14 | สายซิตี้ และ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน มุ่งหน้า ดอนเมือง | |
ชานชาลา 13 | สายซิตี้ มุ่งหน้า สุวรรณภูมิ เอชเอสอาร์ เชื่อม 3 สนามบิน มุ่งหน้า อู่ตะเภา | |
พื้นที่รับรองพิเศษ และสำนักงาน |
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด, บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด (สำนักงานบริหารโครงการ), สำนักงานบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง, ห้องรับรองแขกคนสำคัญ, สำนักงานบริหารสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | |
U2 ชั้นชานชาลาล่าง (มีเตอร์เกจ) |
ชานชาลา 12 | สายใต้ สถานีปลายทาง |
ชานชาลา 11 | สายใต้ สถานีปลายทาง | |
ชานชาลา 10 | สายสีแดงอ่อน สถานีปลายทาง | |
ทางลงเชื่อม สายสีแดงเข้ม | ||
ชานชาลา 9 | สายสีแดงอ่อน มุ่งหน้า ตลิ่งชัน | |
ชานชาลา 8 | สายใต้ มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก | |
ชานชาลา 7 | สายใต้ มุ่งหน้า สุไหงโก-ลก | |
ชานชาลา 6 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง | |
ชานชาลา 5 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง | |
ชานชาลา 4 | สายสีแดงเข้ม สถานีปลายทาง | |
ทางลงเชื่อม สายสีแดงอ่อน | ||
ชานชาลา 3 | สายสีแดงเข้ม มุ่งหน้า รังสิต | |
ชานชาลา 2 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เชียงใหม่, อุบลราชธานี หรือ เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | |
ชานชาลา 1 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เชียงใหม่, อุบลราชธานี หรือ เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | |
ร้านค้า | ร้านค้า, ร้านอาหาร, ภัตตาคาร | |
G ระดับถนน |
ทางออกถนนเทอดดำริ | ป้ายรถประจำทาง, บางซื่อ ทางออก 1-2 และ 3B บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) |
เชื่อมต่อ ชุมทางบางซื่อ | ||
ทางออก W | ประตู 5-13, ป้ายรถประจำทาง ทางไป ชุมทางบางซื่อ | |
โถงผู้โดยสาร | โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร , ร้านค้า บางซื่อ ทางออก 3A | |
ทางออก E | ประตู 1-4, ป้ายรถประจำทาง, ถนนเวียนเข้าลานจอดรถ, ทางขึ้นทางพิเศษศรีรัช | |
B1 ลานจอดรถใต้ดิน |
ที่จอดรถชั้นใต้ดิน 1,100 คัน | |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร (รถไฟฟ้ามหานคร) |
ทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารและทางออกเอสซีจี, ทางออก 1-3, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร | |
B3 ชั้นชานชาลาใต้ดิน (รถไฟฟ้ามหานคร) |
||
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ | |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง | |
ชุมทางบางซื่อ | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||||
ชานชาลา | 4 | ||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | ||||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับดิน | ||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||||
รหัสสถานี | 1007 (บซ.) | ||||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | พ.ศ. 2441 | ||||||||||||||||||
ปิดให้บริการ | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (บางซื่อ 1) | ||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีชุมทางรถไฟ ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเหลือเพียงขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมืองที่มีปลายทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) จะหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้[25]
สถานีรถไฟบางซื่อเปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายแรกของประเทศไทยระหว่างสถานีกรุงเทพ – อยุธยา[26] ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ได้กลายเป็นชุมทางของรถไฟสายเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ หลังจากมีการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างสถานีบางซื่อกับสถานีตลิ่งชันด้วยสะพานพระราม 6 หลังจากนั้น พ.ศ. 2532 บางซื่อถูกแยกออกเป็นสองสถานีรถไฟ อาคารเดิมเปลี่ยนชื่อเป็น "บางซื่อ 1" เพื่อให้บริการขบวนรถสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอาคารใหม่ "บางซื่อ 2" ใช้ให้บริการขบวนรถสายใต้ ระยะห่างระหว่างอาคารห่างกันประมาณ 200 เมตร อาคารสถานีบางซื่อ 1 ปิดให้บริการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ ขณะที่รถไฟทุกสายในปัจจุบันใช้บริการที่อาคารสถานีบางซื่อ 2 ซึ่งยังคงเปิดดำเนินการอยู่[27]
ระดับดิน | ทางออกถนนเทอดดำริ | ป้ายรถประจำทาง, บางซื่อ ทางออก 1-2 |
ราง 1 | สายใต้ มุ่งหน้า สุพรรณบุรี หรือ สวนสนประดิพัทธ์ | |
ราง 2 | สายใต้ มุ่งหน้า กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
ราง 3 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า พิษณุโลก หรือ สุรินทร์ | |
ราง 4 | สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า กรุงเทพ (หัวลำโพง) | |
ทางออกถนนกำแพงเพชร | เชื่อมต่อ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ |
สถานีบางซื่อ (อังกฤษ: Bang Sue Station, รหัส BL11) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริเวณชั้นใต้ดินของสถานีกลางบางซื่อในลักษณะแนวตัดขวาง
สถานีบางซื่อ เปิดให้บริการเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เป็นปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินในระยะแรก จนถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินส่วนที่ 1 บางซื่อ-เตาปูน ทำให้สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อสิ้นสุดการเป็นสถานีปลายทาง และเมื่อวันที่ 4 และ 23 ธันวาคม พ.ศ 2562 รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ได้เปิดทดลองให้บริการส่วนที่ 3 เตาปูน-สิรินธร และสิรินธร-ท่าพระตามลำดับ
สถานีก่อนหน้า | รถไฟฟ้ามหานคร | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
กำแพงเพชร | สายเฉลิมรัชมงคล | เตาปูน มุ่งหน้า ท่าพระ |
ที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน หรือ ย่านพหลโยธิน เป็นย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีจำนวนรางมากกว่า 50 ราง เป็นย่านสับเปลี่ยนขนาดใหญ่ รวมความยาว (ตามแนวเส้นทาง) ถึง 4 กม. เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้าหลักของประเทศไทย อยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีรถไฟไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 1.5 กิโลเมตร
โรงรถจักรดีเซลกลางบางซื่อ เป็นโรงซ่อมบำรุงและโรงจอดรถจักรดีเซลที่ใช้ในการลากขบวนรถไฟ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสถานีรถไฟไปตามแนวเส้นทางในระยะประมาณ 1.5 กิโลเมตร นอกจากที่กลางบางซื่อแล้ว ยังมีโรงรถจักรที่ สถานีรถไฟธนบุรี สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟนครลำปาง สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และ สถานีรถไฟชุมพร
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายสีแดงเข้ม[28] | ||||||
ชานชาลาที่ 3 และ 4 | ||||||
RN10 | รังสิต | ทุกวัน | 05:00 | 24:00 | ||
สายสีแดงอ่อน[28] | ||||||
ชานชาลาที่ 9 และ 10 | ||||||
RW06 | ตลิ่งชัน | ทุกวัน | 05:00 | 24:00 | ||
สายเฉลิมรัชมงคล[29] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง (ผ่านหัวลำโพง) | จันทร์ – ศุกร์ | 05:58 | 23:33 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 06:02 | 23:33 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ | จันทร์ – ศุกร์ | 05:54 | 00:05 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:57 | 00:05 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 23:18 |
ขบวนรถ | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ21 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | 06.10 | อุบลราชธานี | 14.00 | ||
ร135 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.10 | 07.10 | อุบลราชธานี | 18.00 | ||
ร111 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | 07.30 | เด่นชัย | 16.30 | ||
ดพ43 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | 07.30 | สุราษฎร์ธานี | 16.20 | ||
ด75 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 08.45 | 08.45 | หนองคาย | 17.30 | ||
ดพ7 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | 09.05 | เชียงใหม่ | 19.30 | ||
ด71 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 10.35 | 10.35 | อุบลราชธานี | 19.50 | ||
ร109 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 14.15 | 14.15 | เชียงใหม่ | 04.05 | ||
ร171 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 15.10 | 15.10 | สุไหงโก-ลก | 10.10 | ||
ดพ37 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.10 | 16.10 | สุไหงโก-ลก | 10.35 | ||
ดพ45 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.10 | 16.10 | ปาดังเบซาร์ | 08.05 | ||
ดพ31 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.50 | 16.50 | ชุมทางหาดใหญ่ | 07.05 | ||
ร169 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 17.30 | 17.30 | ยะลา | 11.05 | ||
ดพ9 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.40 | 18.40 | เชียงใหม่ | 07.15 | ||
ด83 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.50 | 18.50 | ตรัง | 08.15 | ||
ร139 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 19.25 | 19.25 | อุบลราชธานี | 06.15 | ||
ด85 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 19.50 | 19.50 | นครศรีธรรมราช | 09.40 | ||
ดพ13 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.05 | 20.05 | เชียงใหม่ | 08.40 | ||
ดพ25 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | 20.25 | หนองคาย | 06.25 | ||
ร167 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.30 | 20.30 | กันตัง | 11.25 | ||
ร107 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.45 | 20.45 | เด่นชัย | 05.15 | ||
ดพ23 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.05 | 21.05 | อุบลราชธานี | 06.35 | ||
ร173 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.10 | 21.10 | นครศรีธรรมราช | 10.15 | งดเดินรถ | |
ร133 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.25 | 21.25 | เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | 09.05 | ||
ร105 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.45 | 21.45 | ศิลาอาสน์ | 05.15 | งดเดินรถ | |
ด51 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.30 | 22.30 | เชียงใหม่ | 12.10 | ||
ดพ39 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.50 | 22.50 | สุราษฎร์ธานี | 07.50 | ||
ดพ41 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.50 | 22.50 | ยะลา | 13.40 | งดเดินรถ | |
ร141 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 23.05 | 23.05 | อุบลราชธานี | 10.20 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบางซื่อ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ช303 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 04.15 | 04.33 | ลพบุรี | 07.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช339 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 05.05 | 05.24 | ชุมทางแก่งคอย | 08.05 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
น909 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | 06.50 | น้ำตกไทรไยคน้อย | 11.30 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
น911 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.30 | 06.50 | สวนสนประดิพัทธ์ | 11.33 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ261 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 09.20 | 09.40 | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.00 | ||
ธ201 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 09.30 | 09.50 | พิษณุโลก | 17.55 | ||
ธ209 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.15 | 11.33 | บ้านตาคลี | 15.40 | ||
ธ233 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.30 | 11.52 | สุรินทร์ | 20.00 | ||
ธ211 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.55 | 13.15 | ตะพานหิน | 19.15 | ||
ธ207 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.10 | 16.51 | นครสวรรค์ | 19.35 | ||
ช301 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 16.30 | 16.51 | ลพบุรี | 19.40 | ||
ช355 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 16.40 | 17.02 | สุพรรณบุรี | 20.04 | ||
ช341 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 17.00 | 17.22 | ชุมทางแก่งคอย | 20.00 | ||
ช317 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 17.30 | 17.51 | ลพบุรี | 20.20 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช313 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 18.20 | 18.41 | ชุมทางบ้านภาชี | 20.30 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
ขบวนรถ | ต้นทาง | กรุงเทพอภิวัฒน์ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ดพ44 | สุราษฎร์ธานี | 18.25 | 03.45 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 03.45 | ||
ร142 | อุบลราชธานี | 17.35 | 04.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.10 | ||
ร108 | เด่นชัย | 19.05 | 04.30 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.30 | ||
ร174 | นครศรีธรรมราช | 15.10 | 04.40 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.40 | งดเดินรถ | |
ดพ24 | อุบลราชธานี | 19.00 | 04.50 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 04.50 | ||
ด52 | เชียงใหม่ | 15.30 | 05.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
ร168 | กันตัง | 14.15 | 05.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.10 | ||
ดพ26 | หนองคาย | 19.40 | 05.50 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.50 | ||
ดพ14 | เชียงใหม่ | 17.00 | 06.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | ||
ด86 | นครศรีธรรมราช | 16.00 | 06.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.10 | ||
ดพ10 | เชียงใหม่ | 18.00 | 06.50 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.50 | ||
ดพ42 | ยะลา | 15.35 | 06.50 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 06.50 | งดเดินรถ | |
ด84 | ตรัง | 17.00 | 07.05 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.05 | ||
ร140 | อุบลราชธานี | 20.30 | 07.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.10 | ||
ร134 | เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | 18.25 | 07.30 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | ||
ร172 | สุไหงโก-ลก | 12.10 | 07.30 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | ||
ดพ32 | ชุมทางหาดใหญ่ | 17.45 | 08.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 08.10 | ||
ดพ38 | สุไหงโก-ลก | 14.15 | 09.05 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | ||
ดพ46 | ปาดังเบซาร์ | 17.00 | 09.05 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 09.05 | ||
ร170 | ยะลา | 16.30 | 10.50 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 10.50 | ||
ร106 | ศิลาอาสน์ | 07.30 | 14.10 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 14.10 | งดเดินรถ | |
ด72 | อุบลราชธานี | 05.40 | 14.30 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 14.30 | ||
ด76 | หนองคาย | 07.45 | 16.35 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.35 | ||
ร112 | เด่นชัย | 07.30 | 17.20 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 17.20 | ||
ร136 | อุบลราชธานี | 07.00 | 17.55 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 17.55 | ||
ดพ40 | สุราษฎร์ธานี | 09.00 | 18.05 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.05 | ||
ดพ8 | เชียงใหม่ | 08.50 | 18.55 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 18.55 | ||
ร102 | เชียงใหม่ | 06.30 | 20.25 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | ||
ดพ22 | อุบลราชธานี | 14.50 | 22.35 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 22.35 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
ขบวนรถ | ต้นทาง | ชุมทางบางซื่อ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ช314 | ชุมทางบ้านภาชี | 04.45 | 06.28 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 06.50 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ช302 | ลพบุรี | 04.30 | 07.14 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 07.35 | ||
ช356 | สุพรรณบุรี | 04.00 | 07.47 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.05 | ||
ช342 | ชุมทางแก่งคอย | 05.30 | 08.09 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.30 | ||
ช318 | ลพบุรี | 06.00 | 08.28 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 08.50 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ธ208 | นครสวรรค์ | 05.00 | 09.54 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 10.15 | ||
ช304 | ลพบุรี | 08.00 | 10.12 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 10.30 | ||
ช340 | ชุมทางแก่งคอย | 08.45 | 10.52 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 11.10 | ยกเว้นวันหยุดราชการ | |
ธ212 | ตะพานหิน | 05.30 | 11.49 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.10 | ||
ธ202 | พิษณุโลก | 06.05 | 13.44 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.05 | ||
ธ234 | สุรินทร์ | 05.20 | 14.04 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 14.25 | ||
ธ262 | สวนสนประดิพัทธ์ | 14.35 | 18.57 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.20 | ||
น910 | น้ำตกไทรไยคน้อย | 14.25 | 19.07 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.25 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
น912 | สวนสนประดิพัทธ์ | 16.28 | 19.54 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 21.40 | เฉพาะวันหยุดราชการ | |
ธ210 | บ้านตาคลี | 16.00 | 20.17 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 20.35 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
3 (2-37) (1) | อู่กําแพงเพชร | คลองสาน | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
ขสมก. | |
5 (1) | สะพานพระพุทธยอดฟ้า | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | |||
26 (1-36) (1) | อู่มีนบุรี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
เส้นทางวิ่งไปทางรามอินทรา–เกษตร | |
49 (2-43) (1) | อู่กําแพงเพชร | สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลําโพง) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
96 (1-42) (1) | อู่มีนบุรี | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | เส้นทางวิ่งไปทางนวมินทร์–ลาดพร้าว | |
134 (2-20) (1) | อู่บัวทองเคหะ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีครีม-น้ำเงิน |
||
136 (3-47) (1) | อู่คลองเตย | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
138 (4-22E) (1) | อู่ราชประชา | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | ||
145 (3-18) (3) | อู่แพรกษาบ่อดิน | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 3.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
||
509 (4-60) (2) | หมู่บ้านเศรษฐกิจ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | ||
536 (3-24E) (2) | อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ | สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) 2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) |
สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
50 (2) | พระราม 7 | คลองสาน | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู |
ขสมก. | |
65 (2) | วัดปากน้ำนนทบุรี | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
67 (1) | วัดเสมียนนารี | เซ็นทรัลพระราม 3 | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
70 (3) | ประชานิเวศน์ 3 | สนามหลวง | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
||
134 (เสริมพิเศษ) (1) | หมู่บ้านบัวทองเคหะ | สถานีชุมทางบางซื่อ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | 1.มีเฉพาะวันธรรมดาเท่านั้น
2.ให้บริการเฉพาะตอนเช้า 1 รอบ | |
2-33 (1) | หมู่บ้านบัวทองเคหะ | สถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ | 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.