Loading AI tools
แอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร, รถไฟฟ้าเอรา วัน ซิตี้ (อังกฤษ: AERA1 CITY) หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์[3] (Airport Rail Link) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ เดิมอยู่ในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ภายหลังรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อ พ.ศ. 2553 โดยบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ต่อมาได้มีการโอนกิจการทั้งหมดให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เพื่อรวมเส้นทางสายนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
รถไฟฟ้าเอรา วัน ซิตี้ (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รถไฟฟ้าซิตี้ไลน์ หมายเลข 1 ณ สถานีพญาไท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | เปิดให้บริการ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลายทาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนสถานี | 10 (ทั้งหมด) 8 (เปิดให้บริการ) 2 (โครงการ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การดำเนินงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบ | รถไฟฟ้าชานเมือง, รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบ | รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2612) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขบวนรถ | Siemens Desiro Bangkok Class 360/3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้โดยสารต่อวัน | 85,888 คน[1] (31 สิงหาคม พ.ศ. 2561) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดเมื่อ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะทาง |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนทางวิ่ง | 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะทางวิ่ง | ทางยกระดับ และใต้ดินในสถานีสุวรรณภูมิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบจ่ายไฟ | 25 kV 50 Hz จ่ายไฟเหนือหัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเร็ว | 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาณัติสัญญาณ | Siemens LZB 700M | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชน เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเข้า-ออกท่าอากาศยานฯ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทั้งงานโยธา และจัดหาผู้ให้บริการ โดยในระยะแรกหลังการลงมติ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปรับรายละเอียดของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน เฉพาะช่วงลาดกระบัง - พระจอมเกล้าฯ ให้มีแนวเส้นทางแยกเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แต่จากความล่าช้าในการออกแบบ ตลอดจนความล่าช้าในการปรับแบบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงความชัดเจนของโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ทำให้ในคราวการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้แยกการก่อสร้างออกมาดำเนินการต่างหาก และตั้งเป้าใช้โครงการนี้เป็นโครงการต้นแบบในการก่อสร้างของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงแทน
การก่อสร้างสามารถเริ่มดำเนินการได้เมื่อ พ.ศ. 2549 ก่อนเปิดใช้ท่าอากาศยานเพียงไม่กี่เดือน และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึงการที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นโอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อตั้งบริษัทดำเนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก็เริ่มดำเนินการเปิดทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำกัดจำนวนอีกครั้งในวันที่ 5-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดทดสอบระบบกับสื่อมวลชนกลุ่มเล็ก ๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 เดิมทีการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งเป้าเปิดทดสอบการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทำให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 โดยในระยะแรกเป็นการดำเนินการเปิดทดสอบฟรีในช่วงเช้าและเย็นเฉพาะจากสถานีมักกะสันถึงสถานีสุวรรณภูมิ แล้วค่อยทยอยเปิดเพิ่มทีละสถานีจนสามารถเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
ในระยะแรก รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ว่าจ้างด็อยท์เชอบานเป็นผู้เดินรถชั่วคราวเนื่องจากไม่มีประสบการณ์ โดยเก็บค่าโดยสารในอัตรา 15 บาทตลอดสาย สำหรับการเดินทางในด้วยรถซิตี้ไลน์ ก่อนปรับเป็นอัตราค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุด 15-45 บาท ในเดือนธันวาคม และเริ่มเปิดให้บริการรถเอ็กซ์เพรสไลน์และจุดเช็คอินในเมืองในเดือนเดียวกันด้วยอัตราค่าโดยสาร 160 บาทต่อเที่ยว ทำให้แผนการให้บริการถูกร้องเรียนจากประชาชนอย่างหนัก และประชาชนหันไปใช้บริการรถซิตี้ไลน์และเผื่อระยะเวลาการเดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิแทนเพราะมีราคาถูกกว่า ทำให้ใน พ.ศ. 2554 หลังสัญญาว่าจ้างด็อยท์เชอบานหมดลง รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ได้ปรับแผนการให้บริการใหม่ ด้วยการเปิดให้บริการ พญาไท เอ็กซ์เพรส ไลน์ ให้บริการจากชานชาลา 1 สถานีพญาไท ไปสถานีปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราค่าโดยสาร 90 บาท พร้อมทั้งลดราคาค่าโดยสารมักกะสัน เอ็กซ์เพรส ไลน์ ลงมาเหลือ 90 บาทเช่นกัน จนกระทั่ง พ.ศ. 2556 เกิดเหตุที่ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ไม่สามารถบริหารอะไหล่ให้เพียงพอต่อการให้บริการ และขบวนรถเข้าสู่ระยะการเดินรถเกินระยะการรับประกันและต้องเข้าซ่อมบำรุงใหญ่ ทำให้ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ตัดสินใจยุติการให้บริการเอ็กซ์เพรส ไลน์ ทั้งสองสาย เพื่อนำขบวนรถเข้ามาเพิ่มความถี่ให้รถซิตี้ไลน์แทน และทำให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งนำโดย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รศ. ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานที่ดำเนินการไม่ได้ตามแผนให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ภายใต้งบประมาณการพัฒนารถไฟความเร็วสูง 2 ล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคม แต่แล้วแผนทั้งหมดก็ถูกระงับเนื่องมาจาก ศาลรัฐธรรณูญวินิจฉัยแล้วว่า ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 จนกระทั่งในสมัยคณะรัฐมนตรีนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนเซ้งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปดำเนินการควบคู่ด้วย
ชื่อและรหัสของสถานี | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | วันที่เปิดให้บริการ | ที่ตั้ง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
A1 | สุวรรณภูมิ | สายสีเงิน สถานีสุวรรณภูมิ (โครงการ) | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 | สมุทรปราการ | ||||||||
A2 | ลาดกระบัง | สายสีแดงอ่อน สถานีลาดกระบัง (โครงการ) | กรุงเทพมหานคร | |||||||||
A3 | บ้านทับช้าง | สายสีแดงอ่อน สถานีบ้านทับช้าง (โครงการ) | ||||||||||
A4 | หัวหมาก | สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก สายสีแดงอ่อน สถานีหัวหมาก (โครงการ) | ||||||||||
A5 | รามคำแหง | สายสีแดงอ่อน สถานีรามคำแหง (โครงการ) เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่ารามคำแหง 1 | ||||||||||
A6 | มักกะสัน | สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี สายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (โครงการ) เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าอโศก | ||||||||||
A7 | ราชปรารภ | สายสีส้ม สถานีราชปรารภ (กำลังก่อสร้าง) | ||||||||||
A8 | พญาไท | สายสุขุมวิท สถานีพญาไท สายสีแดงอ่อน สถานีพญาไท (โครงการ) | ||||||||||
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟทางไกล ได้ที่สถานีนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | สถานีรถทางไกล | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริกาบแล้ว | ||||
A2 | สถานีลาดกระบัง | สายตะวันออก : สถานีลาดกระบัง | เชื่อต่อโดยตรง | |
A3 | สถานีบ้านทับช้าง | สายตะวันออก : สถานีบ้านทับช้าง | เชื่อต่อโดยตรง | |
A4 | สถานีหัวหมาก | สายตะวันออก : สถานีหัวหมาก | เชื่อต่อโดยตรง | |
A5 | สถานีรามคำแหง | สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟสุชุมวิท 71 | เชื่อต่อโดยตรง | |
A6 | สถานีมักกะสัน | สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟอโศก | เชื่อต่อโดยตรง | |
A8 | สถานีพญาไท | สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟพญาไท | เชื่อต่อโดยตรง | |
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไมเปิดให้บริการ | ||||
A9 | สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | สายเหนือ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | เชื่อมต่อโดยตรง | |
สายตะวันออกเฉียงเหนือ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | ||||
สายใต้ : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | ||||
A10 | สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง | สายเหนือ : สถานีดอนเมือง | เชื่อมต่อโดยตรงภายในสถานี | |
สายตะวันออกเฉียงเหนือ : สถานีดอนเมือง |
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมือง ได้ที่สถานีนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไมเปิดให้บริการ [4] | ||||
A2 | สถานีลาดกระบัง | RE08 | สายสีแดงอ่อน : สถานีลาดกระบัง | เชื่อมต่อโดยตรง |
A3 | สถานีบ้านทับช้าง | RE07 | สายสีแดงอ่อน : สถานีบ้านทับช้าง | |
A4 | สถานีหัวหมาก | RE06 | สายสีแดงอ่อน : สถานีหัวหมาก | |
A5 | สถานีรามคำแหง | RE05 | สายสีแดงอ่อน : สถานีรามคำแหง | |
A6 | สถานีมักกะสัน | RE04 | สายสีแดงอ่อน : สถานีมักกะสัน | |
A8 | สถานีพญาไท | RE03 | สายสีแดงอ่อน : สถานีพญาไท | |
A9 | สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | RN01 RS01 | สายสีแดงเข้ม : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | |
RW01 RE01 | สายสีแดงอ่อน : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | |||
A10 | สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง | RN08 | สายสีแดงเข้ม : สถานีดอนเมือง | เชื่อมต่อโดยทางเดินยกระดับ |
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว | ||||
A8 | สถานีพญาไท | N2 | สายสุขุมวิท : สถานีพญาไท | เชื่อมโดยใช้สถานีรถไฟฟ้าพญาไทของบีทีเอสเป็นตัวกลาง |
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้ามหานคร ได้ที่สถานีนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้ามหานคร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว | ||||
A4 | สถานีหัวหมาก | YL11 | สายสีเหลือง : สถานีหัวหมาก | เชื่อมต่อโดยตรง |
A6 | สถานีมักกะสัน | BL21 | สายสีน้ำเงิน : สถานีเพชรบุรี | ทางเดินยกระดับ |
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่ยังไม่เปิดให้บริการ | ||||
A1 | สุวรรณภูมิใต้ | SL11 | สายสีเงิน : สุวรรณภูมิใต้ | เชื่อมต่อโดยตรงภายในอาคารผู้โดยสาร |
A7 | สถานีราชปรารภ | OR09 | สายสีส้ม : สถานีราชปรารภ | ทางเดินยกระดับ |
A9 | สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | BL11 | สายสีน้ำเงิน : สถานีบางซื่อ | ทางเดินยกระดับ |
ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารคลองแสนแสบ ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้
รหัสสถานี | สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | ท่าเรือคลองแสนแสบ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว | |||
A5 | สถานีรามคำแหง | เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเรือรามคำแหง 1 | |
A6 | สถานีมักกะสัน | เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเรืออโศก | เชือมต่อโดยผ่านทางออกหมายเลข 2 ของสถานีเพชรบุรี |
ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้
ปัจจุบันมีเอกชนร่วมให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปยังสถานที่ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการเดินรถในแต่ละสถานีไม่เท่ากัน โดยเริ่มเดินรถขบวนแรกในเวลา 05.30 น. จากสถานีสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท โดยความถี่การเดินรถตามปกติอยู่ที่ 10-15 นาที และมีขบวนรถขบวนสุดท้ายให้บริการในเวลา 0.05 น. ก่อนปิดให้บริการในเวลา 0.30 น. ทั้งนี้ผู้โดยสารต้องใช้งานบัตรโดยสารให้ถูกประเภท
ตั้งแต่เวลา 7.00 - 9.00 น. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะมีขบวนรถระยะสั้นให้บริการจากสถานีพญาไทจนถึงสถานีหัวหมาก ผู้ที่มากับขบวนรถระยะสั้นและต้องการเดินทางต่อไปยังสถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสุวรรณภูมิ จะต้องรอรถขบวนถัดไปที่สถานีหัวหมาก โดยใช้เวลารอขบวนถัดไป 10 นาที
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นระบบรถไฟฟ้าที่สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการและไม่จำกัดการใช้งานและระยะทางรวมถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิ หรือตลอดชีวิตจนกว่าผู้พิการจะถึงแก่ความตาย รวมถึงสนับสนุนการใช้ลิฟต์เพื่อผู้พิการ การลัดคิว ในกรณีเร่งเด่น ทั้งนี้ผู้พิการจำเป็นต้องแสดงบัตรทุกครั้งก่อนใช้สิทธิเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานจดบันทึกและบอกสถานีปลายทาง อย่างไรก็ตามหากประสงค์จะเปลี่ยนสถานีกะทันหันก็สามารถกระทำได้ ผู้พิการจะมีผู้ดูแลหรือไม่ดูแลมาด้วยหรือไม่ก็ได้เพียงแต่สิทธิจะให้เพียงแต่ผู้ถือบัตรผู้พิการที่ ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท มาตรา 269/4 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา 269/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 269/1 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว[5]ทั้งนี้ตั้งแต่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ตามนโยบายของภาครัฐฯ ที่ต้องการสนับสนุนสวัสดิการในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทโดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงได้ผนวกบัตรแมงมุมเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมมณฑล รวมถึงจังหวัดบริวารโดยรอบ และกำหนดให้มีงบค่าโดยสารในบัตรเดือนละ 500 บาท โดยผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้งานที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองได้ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ร่วมกับกรมบัญชีกลาง และธนาคารกรุงไทย พร้อมให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ได้ฟรีตั้งแต่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยผู้โดยสารจะต้องแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อรับเหรียญโดยสารรถไฟฟ้าแบบเที่ยวเดียว จำกัดครั้งละ 2 เหรียญ ทั้งนี้ยอดค่าโดยสารต้องไม่เกินวงเงินคงเหลือในบัตร และไม่เกินกรอบวงเงินสำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน 500 บาท/เดือน หากใช้บริการเกินวงเงิน เจ้าหน้าที่จะออกเหรียญโดยสารเที่ยวเดียวมูลค่าต่ำสุด (15 บาท) ให้ผู้ถือบัตรฯ สามารถเข้าระบบได้ และผู้ถือบัตรฯ จะต้องชำระส่วนต่างที่เหลือที่สถานีปลายทางก่อนออกจากระบบ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการออกแบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สำหรับผู้พิการโดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ที่จอดรถของผู้พิการโดยเฉพาะ ลิฟท์โดยสารที่มีขนาดกว้างเป็นพิเศษทำให้ผู้ที่นั่งรถเข็นสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย ภายในลิฟท์มีอักษรเบลและเสียงแจ้งบอกชั้นที่ใช้บริการอยู่สำหรับผู้พิการทางสายตา ภายในรถไฟฟ้าก็จัดพื้นที่โดยสารในส่วนของผู้พิการไว้โดยเฉพาะ นอกจากนั้นการออกแบบช่องจำหน่ายบัตรโดยสาร ทางเข้า-ออก ก็คำนึงถึงผู้พิการ โดยมีความสูงและความกว้างเหมาะกับผู้ที่นั่งรถเข็นอีกด้วย พร้อมทั้งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของคนพิการก็จะมีบอกไว้เป็นระยะ พร้อมทั้งพนักงาน รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิ การจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่น ผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535[6] ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่นห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม และสุราภายในสถานีและภายในขบวนรถไฟฟ้า, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถมน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ ,อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาด หากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 [7]และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[8]พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[9]
เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน[10]ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด [11]
ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ในย่านศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.