Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (อังกฤษ: Advanced Info Service) หรือเรียกโดยย่อว่า เอไอเอส (อังกฤษ: AIS) เป็นบริษัทมหาชนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทย เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศตามจำนวนผู้ใช้งาน[4] มีสถานะเป็นบริษัทในเครือของอินทัช โฮลดิ้งส์ โดยในปี 2563 เอไอเอสถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงเป็นอันดับสี่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตราสัญลักษณ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 | |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | SET:ADVANC |
ISIN | TH0268010Z11 |
อุตสาหกรรม | เทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ก่อตั้ง | 24 เมษายน พ.ศ. 2529 |
ผู้ก่อตั้ง | ทักษิณ ชินวัตร |
สำนักงานใหญ่ | อาคาร เอไอเอส ทาวเวอร์ 1, 414 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
บุคลากรหลัก | กานต์ ตระกูลฮุน (ประธานกรรมการและกรรมการอิสระ) สมประสงค์ บุญยะชัย (รองประธานกรรมการ) |
ผลิตภัณฑ์ | โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต เครือข่าย 3G, 4G (LTE) และ 5G (LTE-U) |
รายได้ | 173,650 ล้านบาท (2563)[1] |
สินทรัพย์ | 350,170.58ล้านบาท (2563)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 75,563.98 ล้านบาท (2563)[1] |
พนักงาน | 14,103 คน (2563) [2] |
บริษัทแม่ | อินทัช โฮลดิ้งส์ |
อันดับความน่าเชื่อถือ | Fitch: AA+(tha)[3] |
เว็บไซต์ | www |
เริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529 [5] เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยเอไอเอสทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการโครงการบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 เมกะเฮิร์ตซ์ เป็นระยะเวลา 20 ปี ถึง พ.ศ. 2553
เอไอเอสเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หลังจากนั้นบริษัทขยายกิจการโดยการเข้าซื้อกิจการในเครือชินวัตร เช่น ชินวัตร ดาต้าคอม (ปัจจุบันคือ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด), ชินวัตร เพจจิ้ง เป็นต้น บริษัทเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม ในชื่อ Digital GSM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้ขยายเวลาร่วมสัญญาเป็น 21 ปี (หมดสัญญาปี พ.ศ. 2558) เมื่อ พ.ศ. 2539
เอไอเอสได้ว่าจ้างบริษัท พีอี แอนด์ พีเทค จำกัด ผลิตน้ำดื่มตราเอไอเอส สำหรับลูกค้าที่มารับบริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ที่เอไอเอส ช็อป
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558 เอไอเอสได้เปิดตัว เอไอเอสไฟเบอร์ (AIS Fibre) เน็ตบ้านความเร็วสูง และเปิดตัว เอไอเอสเพลย์บ๊อกซ์ (AIS Play Box) กล่องรับสัญญาณผ่านอินเทอร์เน็ต[6]
พ.ศ. 2559 เอไอเอสได้เปิดตัว เอไอเอสเพลย์ (AIS Play) แอพสื่อสตรีมมิง[7]
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เอไอเอสเปิดร้าน Aunjai with you ที่สถานีสยาม จำหน่ายตุ๊กตา เสื้อผ้า รองเท้า ปากกา หมวก ถุงผ้า สมุดจดบันทึก และพวงกุญแจ
วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เอไอเอสได้รับการแต่งตั้งจากแผนกจำหน่ายสื่อและความบันเทิงของเดอะวอลต์ดิสนีย์ ให้เป็นผู้ให้บริการสตรีมมิงวีดิทัศน์ตามคำขอแบบบอกรับสมาชิกระดับโลก ดิสนีย์+ ฮอตสตาร์ ในประเทศไทยเพียงรายเดียว โดยเริ่มให้บริการในวันที่ 30 มิถุนายน[8]
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เอไอเอสได้ซื้อหุ้นของ บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ 3BB[9] และได้เปิดตัว เอไอเอส-ทรีบีบี ไฟเบอร์ทรี (AIS-3BB Fibre 3) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา[10]
พ.ศ.2567 เอไอเอสว่าจ้างบริษัท พีเอเอส อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ผลิตน้ำดื่มตรา เซเรเนด สำหรับบริการลูกค้าเซเรเนด
เอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ทั้งหมดรวม 1450 MHz ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีคลื่นมากที่สุดในประเทศไทย[11] โดยในปัจจุบัน เอไอเอส ได้จัดสรรการให้บริการแต่ละคลื่นความถี่ดังต่อไปนี้
คลื่นความถี่ | หมายเลขช่องสัญญาณ | จำนวนคลื่นความถี่ | เทคโนโลยี | ประเภท | สถานะบริการ | เปิดให้บริการ | ระยะเวลาดำเนินการ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2100 MHz | 1 | 2x5 MHz | UMTS/HSPA+ | 3G | กำลังให้บริการ | 8 พ.ค. พ.ศ. 2556 | สิ้นสุด พ.ศ. 2570 (ใบอนุญาต) |
2x10 MHz | LTE/LTE-U | 4G | 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558 | ||||
2x5 MHz | UMTS/HSPA+ | 3G | 29 มี.ค. พ.ศ. 2560 | สิ้นสุด พ.ศ. 2568 (สัญญาเช่าร่วมกับ NT ชื่อเดิมของ TOT Mobile | |||
2x10 MHz | LTE/LTE-U | 4G | มิ.ย. พ.ศ. 2562 | ||||
1800 MHz | 3 | 2x20 MHz | LTE/LTE-U | 4G | 10 ธ.ค. พ.ศ. 2558 | สิ้นสุด พ.ศ. 2576 (ใบอนุญาต) | |
900 MHz | 8 | 2x10 MHz | LTE | ก.ค. พ.ศ. 2559 [12] | สิ้นสุด พ.ศ. 2574 (ใบอนุญาต) | ||
GiLTE | GSM/GPRS/EDGE | 2G | 1 ต.ค. พ.ศ. 2533 | ||||
2600 MHz | 41/n41 | 100 MHz | TD-LTE with Intraband 5CA & Massive MIMO, and 5GNR with DSS technology | 4G, 5G | 21 ก.พ. พ.ศ. 2563[13] | สิ้นสุด พ.ศ. 2578 (ใบอนุญาต) | |
700 MHz | n28 | 2x20 MHz | LTE/LTE-U/5GNR | 5G | 13 ม.ค. พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม พ.ศ. 2566) | สิ้นสุด พ.ศ. 2579 (ใบอนุญาต) | |
26000 MHz (26GHz) | n258 | 1200 MHz | 5GNR | 5G | กำลังให้บริการ | 15 ก.พ. พ.ศ. 2564 | สิ้นสุด พ.ศ. 2579 (ใบอนุญาต) |
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้น[15] | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
---|---|---|---|
1 | บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) | 1,202,712,000 | 40.45% |
2 | SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. | 693,359,000 | 23.32% |
3 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 178,224,148 | 5.99% |
4 | สำนักงานประกันสังคม | 92,455,400 | 3.11% |
5 | SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED | 49,202,633 | 1.65% |
เดือนพฤษภาคม 2563 พบว่าเอไอเอสทำข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตรั่วไหลซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจาก Domain Name System (DNS queries) และข้อมูลจราจรบนเครือข่าย (Netflow data) จำนวน 8.3 พันล้านรายการ ซึ่งเป็นข้อมูลบอกพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ด้านตัวแทนบริษัทออกมาชี้แจงว่า "ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีลูกค้ารายใดได้รับผลกระทบทั้งด้านการเงินและด้านอื่น ๆ อย่างแน่นอน"[16]
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 การแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่างสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด พบกับสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ที่จัดขึ้นที่ราชมังคลากีฬาสถาน ซึ่งเอไอเอสได้รับลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดในประเทศไทย โดยนำไปถ่ายทอดสดผ่านทางช่องทางเอไอเอสเพลย์[17] แต่การถ่ายทอดสด ผู้ใช้งานไม่สามารถรับชมได้ทั้งจากทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์[18] เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้เอไอเอสออกแถลงการณ์ขอโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชดเชยความเสียหายต่อผู้ใช้งาน[19]
ปี | รางวัล | สาขา | เสนอชื่อเข้าชิง | ผล |
---|---|---|---|---|
2566 | Thailand Zocial Awards 2023[20] | Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม | AIS | ชนะ |
Best Brand Performance by Pantip สาขา Fast Response | ชนะ |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.