คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ราชมังคลากีฬาสถาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย[1] โดยเป็นสนามกลางหรือสนามหลัก (Main Stadium) ประจำศูนย์กีฬาหัวหมาก ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ในพื้นที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 สนามได้รับการออกแบบโดย รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพ
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
Remove ads
ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับจัดการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) กลางแจ้ง มีศักยภาพรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน และอัฒจันทร์ 51,522 ที่นั่ง ซึ่งเป็นเก้าอี้พับทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 17 ของทวีปเอเชีย[2]
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
เมื่อปี พ.ศ. 2512 คณะรัฐมนตรีซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการจัดสร้างสนามกีฬาหลักภายในศูนย์กีฬาหัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ด้วยงบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ตามที่องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.; ปัจจุบันคือการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท.) นำเสนอมา แต่ยังไม่มีการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีงบประมาณ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่าการ กกท. คนแรก เสนอของบประมาณ 500 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างสนามกีฬากลาง ขนาดความจุ 80,000 ที่นั่ง ภายในศูนย์กีฬาหัวหมาก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติร่วมกับสนามศุภชลาศัย ซึ่งได้รับความเห็นชอบ[3] โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ออกแบบ และทำสัญญาจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดจ้าง บริษัท สยามซีเท็ค จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2531 จนกระทั่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 630 ล้านบาท
ต่อมาในระยะที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าให้ความร่วมมือตกแต่งรายละเอียด ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และระบบไฟส่องสว่าง ระบบเสียงเพิ่มเติม การติดตั้งเก้าอี้บนอัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา พร้อมราวกันตก โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์ เป็นผู้รับจ้าง รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท แต่ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ตามนโยบายลดค่าใช้จ่ายของนายสุขวิช รังสิตพล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13
และระยะที่ 3 ในช่วงก่อนเปิดการแข่งขัน กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13[4] ประมาณ 1 เดือน คือ การจัดทำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก และตัวอักษรแสดงชื่อสนามเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อติดตั้งบนกำแพงส่วนนอกอัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง การตกแต่งบริเวณส่วนที่ประทับ และส่วนที่นั่งประธาน รวมทั้งการทาสีภายในบางส่วน ตลอดถึงงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เป็นเงิน 8 ล้านบาท โดยรวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท
หลังจากแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เสร็จสิ้นแล้ว มีการปรับปรุงต่อเติม ที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่างๆ ของ กกท.โดยรอบใต้ถุนอัฒจันทร์ ทำให้ยอดงบประมาณการก่อสร้างสนามแห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท[5] ซึ่งในปัจจุบัน ใช้รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลทีมชาติไทย หรือสโมสรฟุตบอลของไทย กับฟุตบอลทีมต่างชาติ หรือสโมสรฟุตบอลจากต่างประเทศเช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล, ลีดส์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, บาร์เซโลนา และเชลซี เป็นต้น[6]
Remove ads
เหตุการณ์สำคัญ
กีฬา
- 6 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13
- 9 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32
- 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[7]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[8]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[9]
- 10 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[10]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 — ฟุตบอลดารานักร้องและนักแสดง ในงาน รวมใจสามัคคี สดุดีพระแม่ไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547
- 6 และ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004
- 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ เรอัลมาดริด[11]
- 8–21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดการแข่งขัน และการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย เอเชียนคัพ ครั้งที่ 14
- 8 และ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 – พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24
- 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[12]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยพรีเมียร์ลีก ออลสตาร์ พบ เชลซี[13]
- 14–16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – เรซ ออฟ แชมเปียนส์ 2012
- 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด[14]
- 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สิงห์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[15]
- 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ ลิเวอร์พูล[16]
- 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ฟุตบอลทีมชาติไทย พบ บาร์เซโลนา[17]
- 10 และ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014
- 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ไทยแลนด์ ออลสตาร์ พบ เชลซี[18]
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 – ฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง ทรู ออลสตาร์ พบ ลิเวอร์พูล[19]
- 3 และ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ
- 14 และ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45
- 8 พฤศจิกายน ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018
- 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563 – ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2020
- 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 – ฟุตบอลกระชับมิตร THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 ระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบ ลิเวอร์พูล[20]
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 – ฟุตบอลไดกิ้น ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2566 ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พบ ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด[21]
- 20 ธันวาคม พ.ศ. 2568 – พิธีปิดการแข่งขันซีเกมส์ 2025[22]
การแข่งขันฟุตบอลระดับทีมชาติ
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คอนเสิร์ต
- 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – คอนเสิร์ต 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ โดย คาราบาว
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 — คอนเสิร์ต รวมใจสามัคคี สดุดีพระแม่ไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – บี-เดย์ โดย เบเกอรี่มิวสิค
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 – เทศกาลดนตรีกรุงเทพ (Bangkok Music Festival) โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 – ร่ำไรคอนเสิร์ต โดย อัสนี-วสันต์
- 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – เอสเอ็มทาวน์ไลฟว์’08 โดย เอสเอ็มทาวน์
- 6 เมษายน พ.ศ. 2553 – โชว์คิงเอ็ม
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 – บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม โดย บอดี้สแลม
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 7–8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 – เทศกาลฤดูร้อนกรุงเทพฯ (Bangkok Summer Festival)
- 7 เมษายน พ.ศ. 2555 – โคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก 2012
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – เดอะบอร์นดิสเวย์บอลทัวร์ (Lady Gaga The Born This Way Ball Live in Bangkok) โดย เลดีกากา
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – วันเอเชียทัวร์ 2012 เอ็มเคานท์ดาวน์สไมล์ไทยแลนด์ (One Asia Tour 2012 M Countdown Smile Thailand)
- 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เสียงจริงตัวจริง เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ประกอบด้วยเจนนิเฟอร์ คิ้ม, โจอี้ บอย, สหรัถ สังคปรีชา, อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข และลูกทีมอีก 59 คน
- 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 – เอ็มบีซีโคเรียนมิวสิกเวฟอินแบงคอก
- 30 มีนาคม พ.ศ. 2556 – ซูเปอร์จอยนท์ คอนเสิร์ต อินไทยแลนด์
- 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – คอนเสิร์ต 40 ปี เสก โลโซ (40 แต่รู้สึกเหมือน 14) โดย เสก โลโซ
- 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 – วันไดเรกชัน ออนเดอะโรดอะเกนทัวร์ โดย วันไดเรกชัน
- 7 เมษายน พ.ศ. 2560 – อะเฮดฟูลออฟดรีมส์ทัวร์ โดย โคลด์เพลย์
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้ โดย จีนี่ เรคคอร์ด
- 9–10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 – BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน โดย บอดี้สแลม
- 6–7 เมษายน พ.ศ. 2562 – BTS World Tour LOVE YOURSELF (บีทีเอส เวิลด์ทัวร์ เลิฟยัวร์เซล์ฟ) โดย บีทีเอส
- 28 เมษายน พ.ศ. 2562 – Ed Sheeran Divide World Tour 2019 โดย เอ็ด ชีแรน
- 15–16 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ออกโทป๊อบ 2022[23]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – มารูนไฟฟ์ เวิลด์ทัวร์ 2022 โดย มารูนไฟฟ์[24]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2566 – งานประกาศผลรางวัลโกลเดนดิสก์อะวอดส์ 2023[25]
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2566 – แฮร์รี สไตลส์ เลิฟ ออน ทัวร์ 2023 โดย แฮร์รี สไตลส์[26]
- 27–28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – บอร์นพิงก์เวิลด์ทัวร์ 2023 ENCORE IN BANGKOK โดย แบล็กพิงก์[27]
- 8–9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – Jay Chou Carnival World Tour 2023 IN BANGKOK โดย เจย์ โจว
- 23–24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – SEVENTEEN TOUR ‘FOLLOW’ TO BANGKOK โดย เซเวนทีน
- 2 มกราคม พ.ศ. 2567 – งานประกาศผลรางวัลSeoul Music Awards 2024[28]
- 3–4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – โคลด์เพลย์ มิวสิกออฟเดอะสเฟียส์เวิลด์ทัวร์ 2024 โดย โคลด์เพลย์[29][30]
- 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 – Ed Sheeran '+ – = ÷ x' Mathematics Tour Bangkok 2024 โดย เอ็ด ชีแรน[31]
- 30–31 มีนาคม พ.ศ. 2567 – BRUNO MARS LIVE IN BANGKOK โดย บรูโน มาส์[32][33]
- 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 – BamBam THE 1ST WORLD TOUR ENCORE [AREA 52] IN BANGKOK โดย แบมแบม
- 22–23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – NCT DREAM WORLD TOUR THE DREAM SHOW 3 IN BANGKOK โดย เอ็นซีทีดรีม
- 15–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 – SEVENTEEN [RIGHT HERE] WORLD TOUR IN BANGKOK โดย เซเวนทีน
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 – K-Star Spark in Bangkok 2025[34]

- 30–31 มีนาคม พ.ศ. 2568 – ไทยประกันชีวิต presents COCKTAIL Ever Live โดย ค็อกเทล[35]
- 12–14 เมษายน พ.ศ. 2568 – S2O Songkran Music Festival 2025[36]
- 2–3 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 – GOT7 CONCERT < NESTFEST > in BANGKOK โดย ก็อตเซเวน
- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2568 – 'WALK THE LINE' IN ASIA โดย เอนไฮเพน
- 2 สิงหาคม พ.ศ. 2568 – G-DRAGON 2025 WORLD TOUR [Übermensch] โดย จี-ดรากอน
- 16–17 สิงหาคม พ.ศ. 2568 – NCT DREAM TOUR <THE DREAM SHOW 4 : DREAM THE FUTURE> in BANGKOK โดย เอ็นซีทีดรีม
คอนเสิร์ตที่ยกเลิกการแสดง
- 15–16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – GOT7 2020 WORLD TOUR ‘KEEP SPINNING’ IN BANGKOK โดย ก็อตเซเวน (เนื่องด้วยสถานการณ์ของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้จัดและต้นสังกัดได้ประกาศยกเลิกการแสดง)
- พ.ศ. 2566 – จัสทิส เวิลด์ ทัวร์ โดย จัสติน บีเบอร์ (เดิมกำหนดจัดในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[37] แต่ได้เลื่อนการแสดงออกไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพของบีเบอร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 ผู้จัดได้มีการแจ้งยกเลิกการแสดง)[38]
กิจกรรมทางการเมือง
- 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – ครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร (แดงทั้งแผ่นดินสัญจร)
- 19 – 20, 24 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – รัฐ (ถูก) ประหาร โดย ศาลรัฐธรรมนูญ และ หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้คนไทยเป็นตัวประกัน (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ)
Remove ads
การเดินทาง
รถไฟฟ้า
บริเวณถนนรามคำแหง มีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม โดยมีกำหนดเปิดใน พ.ศ. 2570 ซึ่งมีสถานีใกล้เคียงกับราชมังคลากีฬาสถาน 2 สถานี ดังนี้
รถโดยสารประจำทาง
ระเบียงภาพ
- ป้ายชื่อและตราพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกที่บริเวณด้านหน้าสนาม
- อัฒจันทร์ฝั่งมีหลังคา
- ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยชั่วคราว (เมื่อเดือนตุลาคม 2554)
- อัฒจันทร์ฝั่งป้ายไฟแสดงคะแนน
- อัฒจันทร์ฝั่งกระถางคบเพลิง
ดูเพิ่ม
- ศูนย์กีฬาหัวหมาก
- อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก
- กรีฑาสถานแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)
- ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads