คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ถนนรามคำแหง
ถนนในกรุงเทพฯ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ถนนรามคำแหง (อักษรโรมัน: Thanon Ramkhamhaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
- ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี
- ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์[1]

ประวัติ
ถนนรามคำแหงสันนิษฐานว่าสร้างต่อมาจากถนนสุขุมวิท 71 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2498–2505 ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร พ.ศ. 2506 ในระยะแรกมีชื่อเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนพระโขนง–คลองตัน–บางกะปิ"
ต่อมามีการกำหนดชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท 71" แต่ประชาชนบางส่วนเรียกชื่อถนนสายนี้ตั้งแต่ช่วงสี่แยกคลองตันถึงสะพานข้ามคลองแสนแสบ เขตบางกะปิว่า ถนนคลองตัน–บางกะปิ ทำให้เกิดความเข้าใจสับสน
ในช่วง พ.ศ. 2500–2504 ได้สร้างถนนสุขาภิบาล 3 ไปเชื่อมต่อเขตมีนบุรี[2]
เมื่อมีการขยายถนนให้กว้างขึ้นพร้อมกับการขยายถนนสายสุขาภิบาล 3 ซึ่งต่อจากถนนสายนี้ไปออกทางเขตมีนบุรี เขตบางกะปิจึงมีดำริที่จะตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่เป็น "ถนนรามคำแหง"[3]
Remove ads
รายละเอียดเส้นทาง
สรุป
มุมมอง
ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี
เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่แยกคลองตันในพื้นที่เขตสวนหลวง ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแยกรามคำแหง (จุดตัดกับถนนพระราม 9) ผ่านแยกวัดเทพลีลา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ,การกีฬาแห่งประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในพื้นที่เขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร[4] มีทางยกระดับช่วงตั้งแต่ซอยรามคำแหง 13 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จนถึงซอยรามคำแหง 81/4 สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ราชมังคลากีฬาสถาน (ศูนย์กีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ และวัดเทพลีลา
อนึ่ง ถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี ฝั่งขาเข้าเมือง จะไม่มีซอยรามคำแหง 6
ทางแยกในถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี มีดังนี้
- แยกคลองตัน จุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71
- แยกรามคำแหง จุดตัดกับถนนพระราม 9
- แยกหมู่บ้านเสรี (ซอยรามคำแหง 24)
- แยกวัดเทพลีลา (ซอยรามคำแหง 39)
- แยกมหาดไทย (ซอยรามคำแหง 65)
- แยกรามคำแหง 26 (ซอยรามคำแหง 26)
- แยกลำสาลี ถนนศรีนครินทร์
โดยถือว่าเป็นถนนที่มีการจราจรที่ติดขัดและคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร[4]
ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์
ถนนช่วงนี้เดิมชื่อว่าถนนสุขาภิบาล 3[5] เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพ่วงศิริ ผ่านแยกบ้านม้า (จุดตัดกับถนนศรีบูรพา) เข้าพื้นที่เขตสะพานสูง ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก เข้าพื้นที่เขตมีนบุรี โดยถนนจะขยายเป็น 8 ช่องจราจร ผ่านแยกลาดบัวขาว (จุดตัดกับถนนมีนพัฒนา) และแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า (จุดตัดกับถนนร่มเกล้า) ไปสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า วัดศรีบุญเรือง วัดบางเพ็งใต้ โรงเรียนเทพอักษร โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี และการเคหะมีนบุรี
ทางแยกในถนนรามคําแหงช่วงสี่แยกลําสาลีถึงแยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ มีดังนี้
- แยกลําสาลี จุดตัดกับ
ถนนศรีนครินทร์
- แยกบ้านม้า ถนนศรีบูรพา แยกนิด้า
- ต่างระดับสุขาภิบาล 3
ถนนกาญจนาภิเษก ไป บางปะอิน,
ถนนบางนา-ตราด
- แยกราษฎร์พัฒนา (มิสทีน) ถนนราษฎร์พัฒนา ไป ถนนเคหะร่มเกล้า,ทางคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษก
- แยกลาดบัวขาว ถนนมีนพัฒนา ไป
ถนนเสรีไทย
- แยกร่มเกล้า
ถนนร่มเกล้า ไป มีนบุรี,ลาดกระบัง
- แยกรามคําแหง-สุวินทวงศ์
ถนนสุวินทวงศ์ ไป แยกเมืองมีน,ฉะเชิงเทรา
Remove ads
ระบบขนส่งมวลชน
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (กำลังก่อสร้าง)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู สถานีมีนบุรี (เปิดให้บริการ)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีแยกลำสาลี (เปิดให้บริการ)
- รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สถานีรามคำแหง
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพระโขนง สามารถต่อรถประจำทางไปยังถนนรามคำแหงและละแวกใกล้เคียงได้
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 1 สามารถต่อรถสองแถว ตลาดห้วยขวาง-ราม 39 ไปยังถนนรามคำแหงไดั
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads