คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ถนนเพชรเกษม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ของไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ถนนเพชรเกษม (อักษรโรมัน: Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1310.554 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย[1][2] ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123
Remove ads
เมื่อผ่านเข้ามาในตำบลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอตะกั่วป่า และเขานางหงส์จังหวัดพังงา และอำเภอห้วยยอด และอำเภอเมืองตรังและ จังหวัดตรัง ถนนบางแห่งแคบ บางแห่งจะเข้าภูเขาและบางแห่งเข้าเมืองที่มีขนาดใหญ่
เมื่อผ่านเข้ามาในอำเภอเมืองชุมพร จะเข้าทางแยกต่างระดับปฐมพร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะออกระบบของทางหลวงเอเชียสาย 2 เข้าไปยังในจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ และจังหวัดตรัง โดยไม่ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช และเมื่อเข้าไปในอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จะมีทางแยก/วงเวียน (ทางแยกต่างระดับเอเชียพัทลุง) เพื่อกลับเข้าสู่ระบบของทางหลวงเอเชียสาย 2 และเป็นการเริ่มต้นของทางหลวงเอเชียสาย 123
โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะมี 4 ช่วง ที่เข้าเขา คือ 2 ช่วงจะเป็นของทิวเขาภูเก็ต ช่วงแนวเขาคุระบุรี อำเภอคุระบุรี และช่วงอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา และอีก 2 ช่วงจะเป็นของทิวเขานครศรีธรรมราช ช่วงแนวเขานางหงส์ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา และช่วงแนวเขาพับผ้า คือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กับอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
โดยในจังหวัดนครปฐม จะมีทางแยกเข้าไปใน ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ช่วงสเปอร์สไลน์ที่เข้าทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 ในอำเภอนครชัยศรี ที่ทางแยกต่างระดับศีรษะทอง และในจังหวัดเพชรบุรี เป็นทางแยกเข้าไปในทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 สายปากท่อ-เพชรบุรี ในอำเภอท่ายาง ที่ทางแยกต่างระดับท่ายาง
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
ถนนเพชรเกษมตั้งชื่อตามชื่อหลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์เป็นนักเรียนทุนของกรมรถไฟหลวง เมื่อพ.ศ. 2464 ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่สหราชอาณาจักร และกลับมารับราชการที่กรมรถไฟหลวง ตำแหน่งนายช่างผู้ช่วย กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมทาง เมื่อถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 จึงได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการก่อสร้างหรือการบังคับบัญชารับผิดชอบ
เลนถนน
- ถนนเพชรเกษมในอดีต ถูกสร้างขึ้นจากถนน 2 เลนก่อน เพราะว่าในสมัยนั้นความเจริญเติบโตยังไม่มากเท่าปัจจุบัน
- หลังจากนั้นมีการขยายเลนถนนจาก 2 เลน เป็น 4 เลน (ทั่วไป) บางช่วงในขณะนั้น เช่น ช่วงจากจ.ชุมพร-จ.ระนอง-อ.ตะกั่วป่า ยังเป็นสองเลน ฯลฯ
- หลังจากนั้นถนนใน เทศบาลนครอ้อมน้อย เทศบาลนครนครปฐม เทศบาลเมืองราชบุรี ทางแยกต่างระดับวังมะนาว จ.เพชรบุรี อ.หัวหิน เทศบาลนครหาดใหญ่ จะขึ้นชื่อในเรื่องของถนนที่พัฒนามาระหว่าง 6-8 เลน เพราะเป็นเทศบาลนครที่เป็นแหล่งความเจริญขนาดใหญ่ และถนนส่วนใหญ่มีรถสัญจรเป็นจำนวนมาก
- มีโครงการที่ทำถนนให้เป็น 4 เลนทั้งหมด เช่น สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็นผู้เสนอโครงการในจังหวัดตรัง ตัวอย่างโครงการ เช่น ช่วง จ.กระบี่-อ.ห้วยยอด ให้เป็นสี่เลนทั้งหมด[3][4] จากการยางแห่งประเทศไทย สาขาห้วยยอด-สามแยกโรงพยาบาลห้วยยอด ให้สร้างเป็นถนนสี่เลนเหลืออีก 1 กม. ช่วงเขาพับผ้า ระหว่าง อ.นาโยง จังหวัดตรัง ถึง อ.ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง สร้างเป็นถนนสี่เลนและเลนสำหรับรถบรรทุก[5]
ชื่ออื่น ๆ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ยังมีชื่ออื่นในช่วงเส้นทางต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วงทางแยกโค้งปลาลังถึงทางแยกเข้าเมืองกระบี่ เรียกว่า "ถนนศรีพังงา"
- ช่วงเข้าสู่ทางหลวงเอเชีย เรียกว่า "ถนนสายเอเชียพัทลุง-หาดใหญ่" จนถึงทางแยกคลองหวะ
- ช่วงตั้งแต่ทางแยกคลองหวะ อำเภอหาดใหญ่ ถึงอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของ "ถนนกาญจนวนิช" ซึ่งรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งชื่อนี้ให้กับทางหลวงสายสงขลา-สะเดา เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาประกิตย์กลศาสตร์ (ประกิต รณชิต กาญจนวณิชย์) อดีตนายช่างด้านสงขลา ในช่วงแรกถนนกาญจนวณิชย์ถือเป็นทางหลวงคนละสายกับถนนเพชรเกษมซึ่งในขณะนั้นเป็นทางหลวงสายกรุงเทพมหานคร-หาดใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการตั้งชื่อทางหลวงโดยใช้ระบบหมายเลข ถนนกาญจนวนิช ช่วงหาดใหญ่ถึงสะเดาได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ส่วนช่วงสงขลาถึงหาดใหญ่ (ภายหลังเพิ่มระยะทางไปถึงคลองหวะ) ได้รับการกำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407
Remove ads
รายละเอียดของเส้นทาง
สรุป
มุมมอง
ถนนเพชรเกษมเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (สะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่) ผ่านเขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตบางแค และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร แล้วผ่านลงไปยังจังหวัดทางภาคตะวันตกและภาคใต้ โดยผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร แล้วตัดเข้าจังหวัดระนอง (ไม่ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช) แล้วผ่านจังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง และสิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เชื่อมต่อกับเมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย
ระยะทางส่วนใหญ่ของถนนเพชรเกษมมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 โดยมีบางช่วงที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 (ตั้งแต่ทางแยกต่างระดับบางแค กรุงเทพมหานคร ถึงทางแยกต่างระดับปฐมพร จังหวัดชุมพร และตั้งแต่ทางแยกเอเชีย จังหวัดพัทลุง ถึงจุดผ่านแดนถาวรสะเดา จังหวัดสงขลา) และทางหลวงเอเชียสาย 123 (ตั้งแต่ทางแยกต่างระดับนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ถึงทางแยกหนองตะแคง จังหวัดราชบุรี) อนึ่ง เมื่อถนนเพชรเกษมผ่านเข้าไปในท้องถิ่นบางแห่ง เช่น กรุงเทพมหานคร เทศบาลนครอ้อมน้อย เทศบาลเมืองพังงา เทศบาลนครตรัง จะมีฐานะเป็นทางหลวงท้องถิ่น มิใช่ทางหลวงแผ่นดิน เนื่องจากกรมทางหลวงได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นแล้ว
ช่วงกรุงเทพมหานครถึงอำเภอปากท่อ
ถนนเพชรเกษมช่วงต้นสาย ตั้งแต่แยกท่าพระถึงทางต่างระดับบางแค มีเส้นทาง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซ้อนทับเหนือถนน โดยถนนเพชรเกษมในเขตกรุงเทพมหานคร จะเป็นถนนคอนกรีตสลับกับถนนลาดยาง ขนาด 6 ช่องจราจร แบ่งทิศทางการจราจรโดยเกาะกลางถนน จากนั้นจะขยายเป็น 8 ช่องจราจรเมื่อพ้นแยกบางแค และลดเหลือ 6 ช่องจราจรเมื่อเข้าสู่เขตหนองแขม ก่อนที่จะขยายเป็นขนาด 8 ช่องจราจรอีกครั้งเมื่อเข้าสู่เขตเทศบาลนครอ้อมน้อย แล้วเบนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ข้ามแม่น้ำท่าจีน ไปบรรจบถนนบรมราชชนนีที่อำเภอนครชัยศรี เมื่อเลยทางเข้าอำเภอนครชัยศรี เส้นทางจะเลี้ยวไปทางตะวันตกไปจนถึงอำเภอเมืองนครปฐม ถนนจะขยายเป็น 12 ช่องจราจรในช่วงเลี่ยงเมืองนครปฐม เมื่อพ้นเขตเทศบาลนครนครปฐม ถนนจะเหลือ 4 ช่องจราจรและแบ่งทิศทางการจราจรด้วยคูน้ำ เมื่อพ้นทางต่างระดับหนองตะแคง ซึ่งแยกไปอำเภอบ้านโป่งและจังหวัดกาญจนบุรี เส้นทางจะเลี้ยวไปทางทิศใต้ ผ่านอำเภอโพธาราม อำเภอบางแพ อำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอปากท่อ
ช่วงอำเภอปากท่อถึงจังหวัดชุมพร
เมื่อพ้นเขตเมืองของอำเภอปากท่อจากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 2 ที่ทางแยกต่างระดับวังมะนาว และเส้นทางจะขยายเป็น 7 ช่องจราจร โดยแบ่งเป็นขาล่อง 3 ช่องจราจร และขาขึ้น 4 ช่องจราจร ซึ่งช่องจราจรขาขึ้นคือแนวถนนเดิมสมัยที่ยังเป็นทางขนาด 4 ช่องจราจร เข้าเขตจังหวัดเพชรบุรี ผ่านอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอบ้านลาด และเส้นทางจะลดเหลือ 6 ช่องจราจร ผ่านอำเภอท่ายาง และแยกไปทางซ้ายเลียบชายฝั่งทะเลที่ทางแยกต่างระดับชะอำ (ถ้าตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37) ซึ่งถนนจะมีขนาด 4 ช่องจราจรตั้งแต่ทางต่างระดับชะอำถึงทางรถไฟสายใต้ เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองชะอำ ถนนจะมีขนาด 6 ช่องจราจรอีกครั้ง และเส้นทางจะเลี้ยวลงไปทิศใต้ ลอดใต้ทางวิ่งท่าอากาศยานหัวหิน เข้าสู่เขตเทศบาลนครหัวหิน และถนนจะลดขนาดเหลือ 4 ช่องจราจรเมื่อพ้นวังไกลกังวล เมื่อพ้นตัวเมืองหัวหินจะข้ามทางรถไฟสายใต้อีกครั้งและถนนจะเหลือ 2 ช่องจราจรก่อนถึงทางแยกต่างระดับวังยาวประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นถนนจะผ่านอำเภอปราณบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร มีคูน้ำกั้น จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดชุมพรโดยผ่านอำเภอปะทิว ในช่วงสั้น ๆ และผ่านอำเภอท่าแซะ อำเภอเมืองชุมพร จากนั้นเลี้ยวขวาที่ทางแยกต่างระดับปฐมพรที่อำเภอเมืองชุมพร ซึ่งถ้าตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41
ช่วงจังหวัดชุมพรถึงแยกโคกเคียน
เส้นทางจากนี้จะเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยในช่วงอำเภอเมืองชุมพรถึงทางลัดเข้าตัวเมืองระนอง ถนนจะมีขนาด 4 ช่องจราจร จากนั้นถนนจะขยายเป็น 10 ช่องจราจร จนถึงแยกสนามกีฬา ถนนจะลดเหลือ 6 ช่องจราจร เมื่อข้ามคลองบางริ้นถนนจะลดเหลือ 4 ช่องจราจร ผ่านภูเขาหญ้า น้ำตกหงาว จนถึงเส้นแบ่งเขตระหว่าง ต.หงาวและต.ราชกรูด ถนนจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร ยกเว้นเขตเทศบาลและทางแยก ผ่านอำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ เข้าเขตจังหวัดพังงาที่อำเภอคุระบุรี บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ที่แยกโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า
ช่วงแยกโคกเคียนถึงจังหวัดพัทลุง
จากทางแยกโคกเคียน เส้นทางจะเลี้ยวขวาเข้าสู่ตัวอำเภอตะกั่วป่า แล้วลงไปทางใต้อีกครั้งผ่านเทศบาลตำบลคึกคัก เขาหลัก เข้าสู่อำเภอท้ายเหมือง เลี้ยวซ้ายที่บ้านโคกกลอย ซึ่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 แยกไปจังหวัดภูเก็ต โดยถนนช่วงแยกโคกเคียนถึงตำบลโคกกลอยเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ยกเว้นช่วงเขาหลัก - ลำแก่น ซึ่งเป็นเส้นทางบนภูเขา มีขนาด 2-3 ช่องจราจร จากนั้นถนนจะมีขนาด 4 ช่องจราจรผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง เข้าสู่อำเภอเมืองพังงา เมื่อพ้นตัวเมือง ถนนจะเหลือ 2 ช่องจราจรและขึ้นเขานางหงส์ เมื่อลงเขามาจะเป็นตัวเมืองทับปุด ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4311 (เลี่ยงเมืองพังงา) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 415 (ไปบ้านตาขุน) ตั้งแต่ตัวเมืองทับปุด ถนนจะขยายขนาดเป็น 4 ช่องจราจรอีกครั้ง และมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วเบนไปยังทิศใต้ เข้าเขตจังหวัดกระบี่ ผ่านอำเภออ่าวลึก แล้วเลี้ยวซ้ายที่ตัวเมืองกระบี่ จากนี้ไปถนนจะมีเกาะกลางกั้น เส้นทางจะผ่านอำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม เข้าเขตจังหวัดตรัง ผ่านอำเภอวังวิเศษ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 403 ที่แยกห้วยยอด จากนั้นเส้นทางจะเข้าสู่ตัวเมืองห้วยยอด เส้นทางจะมุ่งลงไปทางใต้เข้าเขตอำเภอเมืองตรัง โดยช่วงห้วยยอด-ตรัง จะไม่มีเกาะกลางถนนกั้น เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาลนครตรัง ถนนจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอนาโยง ข้ามเขาพับผ้า เข้าสู่เขตจังหวัดพัทลุงที่อำเภอศรีนครินทร์ และมุ่งหน้าสู่อำเภอเมืองพัทลุง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41
ช่วงจังหวัดพัทลุงถึงด่านพรมแดนสะเดา
จากนั้นเส้นทางจะมุ่งหน้าลงไปทางทิศใต้ (แนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41) ผ่านอำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าบอน เข้าสู่จังหวัดสงขลาที่อำเภอรัตภูมิ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ที่แยกคูหา (โดยแนวถนนเพชรเกษมจะเลี้ยวขวา แล้วแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 406 ที่แยกท่าชะมวง ส่วนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะตรงไป) เข้าสู่อำเภอหาดใหญ่ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 414 แยกไปทางซ้ายไปอำเภอเมืองสงขลา ตัดกับถนนเพชรเกษมสายเก่า (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4287) เข้าเมืองหาดใหญ่และไปจังหวัดสตูลที่แยกควนลัง ผ่านทางหลวงหมายเลข 4135 ไปท่าอากาศยานหาดใหญ่ ข้ามทางรถไฟสายใต้ (ปาดังเบซาร์) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนกาญจนวณิชย์ (มาจากอำเภอเมืองสงขลา) ซึ่งถ้าตรงไปจะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 43 ไปปัตตานี
แนวเส้นทางจะตัดกับทางรถไฟสายใต้ (ปาดังเบซาร์) หลายครั้ง จากนั้นจะมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 42 แยกไปอำเภอนาทวีและจังหวัดปัตตานี เมื่อเข้าสู่ตัวเมืองสะเดา จะมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4054 แยกทางขวาไปยังตำบลปาดังเบซาร์ จากนั้นเส้นทางจะสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนสะเดา เชื่อมต่อกับทางด่วนหมายเลข 1 ของประเทศมาเลเซีย
Remove ads
การนับหลักกิโลเมตร
สรุป
มุมมอง
เนื่องจากถนนเพชรเกษมในแต่ละช่วงอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของหน่วยงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นหลักกิโลเมตรจึงมีวิธีการนับและจุดเริ่มต้นการนับที่ต่างกัน ได้แก่
ส่วนที่ไม่ได้เป็นทางหลวงแผ่นดิน
ช่วงเขตกรุงเทพมหานคร เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงซึ่งเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0+000 จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง เขตพระนคร มาทางถนนดินสอ ถนนตีทอง ถนนตรีเพชร ถนนสะพานพุทธ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก และถนนอินทรพิทักษ์ ด้วยวิธีนับเช่นนี้ สะพานเนาวจำเนียรจะอยู่ที่กิโลเมตรที่ 4+400 และเส้นแบ่งเขตหนองแขมกับอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จะอยู่ที่กิโลเมตรที่ 21+375 ต่อมากรมทางหลวงได้โอนถนนเพชรเกษมในช่วงนี้ให้แก่สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนมานับกิโลเมตรที่ 0+000 ช่วงแยกบางยี่เรือ จนถึงสะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ (จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของถนนเพชรเกษม) ไปจนสุดเขตหนองแขมที่กิโลเมตรที่ 16+975
ช่วงเขตจังหวัดสมุทรสาคร เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ปัจจุบันได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบให้แก่เทศบาลนครอ้อมน้อย จึงเปลี่ยนฐานะมาเป็นทางหลวงท้องถิ่น แต่ยังคงนับกิโลเมตรที่ 0+000 จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเช่นเดิม ด้วยวิธีนับเช่นนี้ เส้นแบ่งเขตหนองแขมกับอำเภอกระทุ่มแบนจะตรงกับกิโลเมตรที่ 21+375 และเส้นแบ่งเขตอำเภอกระทุ่มแบนกับอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จะตรงกับกิโลเมตรที่ 26+420
ส่วนที่เป็นทางหลวงแผ่นดิน

ช่วงเขตจังหวัดนครปฐมเป็นต้นไป มีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 รับผิดชอบดูแลโดยกรมทางหลวง โดยเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0+000 จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีนับเช่นนี้ ตรงเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสมุทรสาครกับจังหวัดนครปฐมจะถือเป็นกิโลเมตรที่ 26+420 และจุดสิ้นสุดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ณ จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จะถือเป็นกิโลเมตรที่ 1310+554
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน จำนวนกิโลเมตรที่ปรากฏบนหลักกิโลเมตรของทางหลวงหมายเลข 4 ยังคงลักลั่นอยู่เป็นบางช่วง อันเป็นผลมาจากวิธีการนับกิโลเมตรที่แตกต่างกันตามรายละเอียดดังนี้
- ตั้งแต่เขตจังหวัดนครปฐม จนถึงทางแยกเข้าชุมชนต้นมะม่วงหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี (กิโลเมตรที่ 26+420 - กิโลเมตรที่ 162+217)
เริ่มนับกิโลเมตรที่ 0+000 ตั้งแต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปตามถนนดินสอ ถนนตีทอง ถนนตรีเพชร ถนนสะพานพุทธ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก ถนนอินทรพิทักษ์ มาถึงสะพานเนาวจำเนียร จากนั้นจะไปตามแนวสายทางหลวงหมายเลข 4 ที่ปรากฏในปัจจุบัน ไม่ผ่านเข้าตัวจังหวัดหรือชุมชนใด ๆ เมื่อมาถึงจุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 3528 ด้านใต้ บริเวณหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 สายเดิม แยกเข้าชุมชนต้นมะม่วง) อำเภอเมืองเพชรบุรี จะได้ระยะทาง 162.217 กิโลเมตร
- ช่วงตั้งแต่ทางแยกเข้าชุมชนต้นมะม่วงหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี จนถึงจุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (กิโลเมตรที่ 156+399 - กิโลเมตรที่ 1310+554)
ในอดีต เป็นการนับกิโลเมตรแบบเดิม โดยเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0+000 ตั้งแต่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปตามถนนดินสอ ถนนตีทอง ถนนตรีเพชร ถนนสะพานพุทธ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก ถนนอินทรพิทักษ์ มาถึงสะพานเนาวจำเนียร จากนั้นไปตามแนวทางหลวงหมายเลข 4 โดยผ่านสายเก่า (เข้าตัวจังหวัดนครปฐม ตัวอำเภอบ้านโป่ง ตัวอำเภอโพธาราม ชุมชนเจ็ดเสมียน ตัวจังหวัดราชบุรี ตัวจังหวัดเพชรบุรี และชุมชนต้นมะม่วงหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี) เมื่อมาถึงทางแยกเข้าชุมชนต้นมะม่วงหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี จะได้ระยะทาง 170.717 กิโลเมตร ต่อจากจุดนี้ก็จะนับเลขกิโลเมตรต่อไปตามวิธีนี้จนสิ้นสุดที่ทางแยกโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ณ กิโลเมตรที่ 776+660 ส่วนตั้งแต่ทางแยกโคกเคียนเป็นต้นไป จะเป็นการนับแบบวัดระยะทางระหว่างอำเภอถึงอำเภอหรือจังหวัดถึงจังหวัดต่าง ๆ ในปัจจุบันการนับแบบวิธีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
ปัจจุบัน เป็นการนับกิโลเมตรแบบใหม่ โดยเริ่มนับกิโลเมตรที่ 0+000 จากสี่แยกท่าพระ ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 แนวปัจจุบัน โดยเริ่มที่ กม.156+399 และนับเลขกิโลเมตรต่อไปตามวิธีนี้จนสิ้นสุดทางหลวงหมายเลข 4 ที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา ณ กิโลเมตรที่ 1310+554 จึงทำให้เลขหลักกิโลเมตรช่วงตั้งแต่ทางแยกเข้าชุมชนต้นมะม่วงหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี จนถึงทางแยกโคกเคียน จะมีจำนวนกิโลเมตรจากการนับแบบใหม่และแบบเก่าต่างกันประมาณ 14 กิโลเมตร ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ทยอยปรับปรุงตัวเลขไปมากแล้ว
Remove ads
รายชื่อทางแยก
สรุป
มุมมอง
- เดินรถทางเดียว จากถนนห้วยยอด มุ่งหน้าถนนราชดำเนิน
- เดินรถทางเดียว จากถนนห้วยยอด มุ่งหน้าถนนพัทลุง
- เดินรถทางเดียว มุ่งหน้าแยกท่ากลาง
Remove ads
เส้นทางสายเก่า
สรุป
มุมมอง
- บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เคยได้รับการกำหนดให้เป็นสนามบินฉุกเฉินโดยใช้ผิวจราจรเป็นทางขึ้น-ลงเครื่องบิน ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นเส้นทางที่มีช่วงทางหลวงสายเก่าอยู่หลายช่วง ดังนี้
- ทางเข้าตัวเมืองนครปฐม (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3524)
- ทางแยกกระจับถึงทางแยกหนองโพ จังหวัดราชบุรี (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3525)
- ทางเข้าอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3526)
- ทางเข้าบ้านเจ็ดเสมียน (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3238)
- ทางเข้าตัวเมืองราชบุรี (ทางแยกเมืองราชถึงทางแยกแขวงการทาง)
- ทางเข้าตัวเมืองเพชรบุรีบริเวณเขาวัง (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3528 ด้านเหนือ)
- ทางเข้าตัวเมืองเพชรบุรีบริเวณหลังห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาเพชรบุรี (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3528 ด้านใต้)
- ทางเข้าบ้านทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4282)
- ทางเข้าบ้านกะไหล จังหวัดพังงา (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4283)
- ทางเข้าบ้านกะโสม จังหวัดพังงา (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4284)
- ถนนช่วงทางแยกโคกกอก ถึงทางแยกท่ามิหรำ จังหวัดพัทลุง (ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4285)
- ถนนช่วงตัวอำเภอรัตภูมิถึงทางแยกสนามบินนอก (ต่อเขตเทศบาลนครหาดใหญ่) (ปัจจุบันเป็น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4287)[6]
- ถนนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (ถนนเพชรเกษมและถนนกาญจนวณิชย์ช่วงทางแยกคอหงส์ถึงต่อเขตแขวงการทางสงขลา)[6]
- ถนนกาญจนวณิชย์ช่วงต่อเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ถึงทางแยกคลองหวะ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407)[6]
- ทางเข้าตัวเมืองนครปฐม (ปัจจุบันเป็น
ซึ่งถ้าหากนับระยะทางโดยยึดเส้นทางสายเก่าเป็นหลัก จะมีระยะทางทั้งสิ้น 1,351.60 กิโลเมตร
Remove ads
เขตการควบคุม
สรุป
มุมมอง
ถนนเพชรเกษม แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 45 ตอน ได้แก่
หมายเหตุ: บางช่วงของถนนเพชรเกษม (ช่วงจังหวัดสมุทรสาคร, เพชรบุรี และจังหวัดพังงา) ในระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวงนั้นมีการวางระบบผิดพลาด ดังนั้นจะใช้วิธีการดูระยะตอนของทางหลวงแบบขับรถยนต์จริงโดยสลับเลขตอนควบคุมทางหลวง และไม่รวมเส้นทางสายเก่า, ทางหลวงเอเชีย, และทางเลี่ยงเมือง
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads