อำเภอปะเหลียน
อำเภอในจังหวัดตรัง ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอในจังหวัดตรัง ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปะเหลียน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตรัง ชื่อปะเหลียน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า ปะลันดา หรือปาดังด้า
อำเภอปะเหลียน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Palian |
คำขวัญ: ชาวปะเหลียน รักศักดิ์ศรี มีวินัย น้ำตกใส ทะเลกว้าง สร้างความดี | |
แผนที่จังหวัดตรัง เน้นอำเภอปะเหลียน | |
พิกัด: 7°10′18″N 99°41′12″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 973.13 ตร.กม. (375.73 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 66,824 คน |
• ความหนาแน่น | 68.67 คน/ตร.กม. (177.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 92120, 92140 (เฉพาะตำบลบางด้วน บ้านนา และท่าพญา), 92180 (เฉพาะตำบลทุ่งยาว ลิพัง ปะเหลียน แหลมสอม และสุโสะหมู่ที่ 5) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9204 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปะเหลียน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง 92120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอปะเหลียนมีการปกครองขึ้นกับเมืองพัทลุง เมื่อเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ส่งบุตรมาปกครองเมืองตรังและขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช พื้นที่แถบนี้มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานกันแล้ว เจ้าเมืองพัทลุงจึงส่งกรมการเมืองมาปกครองเพื่อเป็นการสกัดกั้นอำนาจของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชไว้ ขณะนั้นท้องที่อำเภอปะเหลียน มีประชากรน้อยมาก ไม่เหมาะสมที่จะยกฐานะเป็นเมืองดี ดังนั้น ตำแหน่งผู้ปกครองจึงเป็นเพียง "จอม" คำว่าจอมใช้กันเฉพาะที่มีชายไทยมุสลิมอยู่ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
ในสมัยต่อมาเมื่อประชากรมากขึ้นจึงยกฐานะขึ้นเป็นเมือง เมื่อ พ.ศ. 2341 เรียกว่า เมืองปะเหลียน เจ้าเมืองปะเหลียนคนสุดท้ายคือพระปริยันต์เกษตรานุรักษ์ เท่าที่มีหลักฐานปรากฏตัวเมืองครั้งแรกตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลปะเหลียนในปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลท่าพญาในปัจจุบันเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430
ในปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เมืองปะเหลียนทรุดโทรมมาก จึงยุบให้เป็นแขวงขึ้นตรงกับเมืองตรัง และในปี พ.ศ. 2438 ได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอเป็นครั้งแรกที่ตำบลท่าพญา ใช้ชื่อว่า อำเภอท่าพญา ครั้นได้จัดรูปแบบอำเภอขึ้นตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ เมื่อ พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม ใช้ชื่อว่า อำเภอปะเหลียน ในปี พ.ศ. 2460 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหยงสตา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอปะเหลียน ตามชื่อเดิมจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมืองปะเหลียนไว้ ขณะนี้อำเภอปะเหลียนได้ก่อตั้งมาครบ108 ปี นับว่าเป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจังหวัดตรัง
มีผู้พยายามค้นหาความหมายและความเป็นมาของคำว่า "ปะเหลียน" จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะเมืองปะเหลียนมีประวัติยาวนานหลายชั่วอายุคน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่สามารถค้นหาได้จึงเป็นเพียงแต่คำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาและเป็นข้อสันนิษฐานที่พอจะรับฟังได้ คือ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะยังไม่มีผู้ใดทราบถึงความหมายอันแท้จริงของคำว่าปะเหลียน แต่ปะเหลียนก็เป็นชื่อตำบลหนึ่งของอำเภอที่ติดต่อกับทิวเขาบรรทัดซึ่งกั้นแดนระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง ในสมัยก่อนชาวพัทลุงได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ตำบลปะเหลียนเป็นจำนวนมาก สำหรับที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่บ้านท่าข้าม หมู่ที่ 1 ตำบลท่าข้าม ซึ่งสมัยก่อนเป็นท่าเรือสำคัญที่ใช้ติดต่อคมนาคมกับจังหวัดชายฝั่งช่องแคบมะละกาและมลายูหรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
อำเภอปะเหลียนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
อำเภอปะเหลียนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 85 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[16] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | ท่าข้าม | Tha Kham | 9 |
7,985 |
|
2. | ทุ่งยาว | Thung Yao | 7 |
7,494 | |
3. | ปะเหลียน | Palian | 15 |
12,424 | |
4. | บางด้วน | Bang Duan | 6 |
3,875 | |
7. | บ้านนา | Ban Na | 12 |
9,836 | |
9. | สุโสะ | Suso | 11 |
6,692 | |
10. | ลิพัง | Liphang | 7 |
6,494 | |
11. | เกาะสุกร | Ko Sukon | 4 |
2,548 | |
12. | ท่าพญา | Tha Phaya | 4 |
3,204 | |
13. | แหลมสอม | Laem Som | 11 |
5,94 |
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหาดสำราญ
ท้องที่อำเภอปะเหลียนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.