คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
จังหวัดตรัง
จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ตรัง เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย ตรังหรือเมืองทับเที่ยงเป็นจังหวัดท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีที่ปรากฏในจังหวัดตรังมีอยู่ทั่วไป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณที่ถ้ำซาไก อำเภอปะเหลียน ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว เครื่องประดับ ตามถ้ำต่าง ๆ เช่น เขาสามบาตร ถ้ำเขาไม้แก้ว ถ้ำเขาเทียมป่า ภาพเขียนสีที่เขาแบนะ ถ้ำตรา ล้วนเป็นหลักฐานบอกความเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์จนถึงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงมีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณทางภาคใต้ในลักษณะที่เป็นเมืองท่าทางผ่าน และมีพัฒนาการมาตามลำดับ
จังหวัดตรังในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช
เจมส์ โลว์ หัวหน้าคณะทูตของผู้ว่าเกาะปีนัง ผู้รับหน้าที่เจรจาปัญหากับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร) ได้บันทึกไว้ใน จดหมายเหตุเจมส์ โลว์ ว่า
ตรังเป็นตำบลที่กว้างใหญ่และมีประชากรน้อยมาก มีป่าไม้สักที่ยิ่งเหมาะสำหรับการต่อเรือและพื้นดินก็ปลูกข้าวได้ผลมากมาย แม่น้ำตรังเป็นที่รวมของลำน้ำที่ไหลมาจากปากแม่น้ำหลายแห่ง แม่น้ำแคบและมีสันดอนกั้นขวางอยู่ เวลาน้ำขึ้นสูงเรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านเข้าไปถึงตอนในที่น้ำลึกกว่าได้และแล่นเรือขึ้นไปถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ บางแห่งบนฝั่งแม่น้ำนี้
เจมส์ โลว์ กล่าวถึงการค้าของเมืองตรังว่า
เมืองท่าตรังมีสินค้าออกเพียง 23 ชนิด แต่ตรังก็สร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เรือค้าขายที่มาถึงตรังถ้าเป็นเรือค้าขายของยุโรปต้องคอยความพอใจของท่านเจ้าเมืองก่อนจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการค้าได้ คนจีนจากปีนังเข้ามาดำเนินการค้าเล็กๆ น้อยๆ ธุรกิจการส่งสินค้าออกมีหลายอย่าง คือ ดีบุก ข้าว งาช้างเล็ก ๆ รังนก ซึ่งดีบุกที่นี่มีราคาแพงกว่าที่ถลาง
ตรังเป็นจังหวัดแรกที่มีต้นยางพารามาปลูก โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) นำพันธุ์ยางพารามาจากมาเลเซีย และในตรังยังมีต้นยางพาราต้นแรกอีกด้วย
Remove ads
ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
Remove ads
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ จรดจังหวัดกระบี่และจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ทิศตะวันออก จรดจังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ จรดจังหวัดสตูลและช่องแคบมะละกา
- ทิศตะวันตก จรดช่องแคบมะละกาและจังหวัดกระบี่
การปกครอง
แบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 87 ตำบล 723 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
เทศบาลนคร
เทศบาลเมือง
ประชากร
จังหวัดตรังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมเป็นอย่างมากซึ่งประกอบด้วย ชาวไทยใต้ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวเปอรานากัน หรือชาวบาบ๋า ย่าหยา และชาวเล รวมไปถึงชาวซัมซัม กลุ่มชนลูกผสมระหว่างชาวไทยใต้กับชาวมลายู แต่ละกลุ่มก็มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น การแต่งกาย การกิน ประเพณีต่าง ๆ
สัดส่วนประชากรในจังหวัดตรังส่วนใหญ่ นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นชาวมุสลิมร้อยละ 18.5 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.5 มีวัด 129 แห่ง สำนักสงฆ์ 65 แห่ง มัสยิด 87 แห่ง โบสถ์คริสต์ 10 แห่ง ศาลเจ้า และโรงเจ 19 แห่ง
Remove ads
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ตราประจำจังหวัด: ภาพกระโจมไฟและภาพลูกคลื่น ภาพกระโจมไฟหมายถึง จังหวัดตรังเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ ภาพลูกคลื่นหมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง เป็นเนินเล็ก ๆ สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายลูกคลื่น
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นศรีตรังชนิด Jacaranda filicifolia
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกศรีตรังชนิด Jacaranda obtusifolia
- คำขวัญประจำจังหวัด: ชาวตรังใจกว้าง สร้างแต่ความดี
- คำขวัญส่งเสริมการท่องเที่ยว: เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
Remove ads
สภาพอากาศ
แหล่งข้อมูล: Weatherbase
Remove ads
การศึกษา
ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง (อำเภอสิเกา)
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรังและอำเภอห้วยยอด)
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาตรัง วิทยาคารห้วยยอด (อำเภอห้วยยอด)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศูนย์การศึกษาตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์การศึกษาตรัง ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- มหาวิทยาลัยปทุมธานี ศูนย์การศึกษาตรัง ณ โรงเรียนห้วยยอด อำเภอห้วยยอด
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตตรัง (อำเภอย่านตาขาว)
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- วิทยาลัยเทคนิคตรัง (อำเภอเมืองตรัง)
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ตรัง
- วิทยาลัยสารพัดช่างตรัง
- วิทยาลัยการอาชีพตรัง
- วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด
- วิทยาลัยการอาชีพปะเหลียน
โรงเรียน
ศาสนสถาน
- วัด
- วัดตันตยาภิรม (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) อำเภอเมืองตรัง
- วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) อำเภอเมืองตรัง
- วัดพระพุทธสิหิงค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองตรัง
- วัดแจ้ง อำเภอเมืองตรัง
- วัดประสิทธิชัย
- วัดตรังคภูมิพุทธาวาส
- วัดน้ำพราย เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ จึงบรรจุไว้ในโลงแก้ว
- วัดนิโคธาราม
- วัดนิกรรังสฤษฎ์
- วัดโคกยาง อำเภอกันตัง
- วัดกมลศรี อำเภอสิเกา เป็นวัดที่มีพระเกจิที่นิพพานแล้วแต่เผาไม่ติดไฟ จึงบรรจุไว้ในโลงแก้ว เช่นกัน
- มัสยิด
มีมัสยิด 152 แห่งอยู่ทั่วทั้งจังหวัด อาทิ
- มัสยิดบ้านคลองลุ คลองลุ
- มัสยิดมะดีนะตุลอิสลาม ทับเที่ยง
- มัสยิดนูรุลอินซาน นาปอ
- มัสยิดมะลีกียะฮฺ นาปอ
- มัสยิดไซนุนอิสลาม นาปอ
- มัสยิดวังเป้า บ้านวังเปา
- มัสยิดปากีสถาน ยานตาขาว
- มัสยิดบ้านท่าบันได ยานตาขาว
- มัสยิดคลองปะเหลียน ยานตาขาว
- มัสยิดบ้านแตะหรำ
- มัสยิดมุญาฮีดีนบ้านเกาะเคียม
โบสถ์คริสต์
- คริสตจักรตรัง ศาสนสถานในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์
- วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ตรัง ศาสนสถานในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
Remove ads
การขนส่ง
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ
- อำเภอนาโยง 11 กิโลเมตร
- อำเภอย่านตาขาว 22 กิโลเมตร
- อำเภอกันตัง 24 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยยอด 30 กิโลเมตร
- อำเภอสิเกา 34 กิโลเมตร
- อำเภอวังวิเศษ 44 กิโลเมตร
- อำเภอหาดสำราญ 45 กิโลเมตร
- อำเภอปะเหลียน 46 กิโลเมตร
- อำเภอรัษฎา 55 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
- สวนพฤกษศาสตร์แห่งชาติ (ทุ่งค่าย)
- อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
- ควนตำหนักจันทร์
- วนอุทยานบ่อน้ำร้อนกันตัง(บ่อน้ำร้อนควนแคง)
- หาดและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหาดราชมงคล
- หาดปากเมง
- เกาะไหง
- เกาะรอก
- เกาะกระดาน
- เกาะเหลาเหลียงเหนือ-ใต้
- เกาะมุก-ถ้ำมรกต
- ถ้ำเลเขากอบ
- ถ้ำเขาช้างหาย
- ถ้ำเขาปินะ
- สันหลังมังกร[5]
- ตรังอันดามันเกตเวย์
- สวนน้ำอันดามัน
- ลานวัฒนธรรม
ชาวจังหวัดตรังที่มีชื่อเสียง
- สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาส พระอารามหลวง วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
- ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาไทย ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทยดำรงตำแหน่ง 2 สมัย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 17 สมัย
- ทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 5 และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- จรัส สุวรรณเวลา อดีตนายกสภาและอดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พุฒ ล้อเหล็ก นักมวยไทย
- จิระนันท์ พิตรปรีชา กวี
- วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล พิธีกร นักเขียน วีเจ
- อาคม เฉ่งไล่ นักมวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองแดงโอลิมปิก
- หลวงไก่ นักร้อง
- บ่าววี นักร้อง ทหารอากาศ
- ปวีณา ตันฑ์ศรีสุโรจน์ นักแสดง พิธีกร
- เป็ด เชิญยิ้ม นักแสดงตลกและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์
- ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ ผู้ประกาศข่าว
- วันดี ศรีตรัง นักแสดง
- สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังนายกสมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย
- พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย
- รัชนก สุวรรณเกตุ นักร้อง นักแสดง พิธีกร
- เจณิสตา พรหมผดุงชีพ นักธุรกิจ นักแสดง
- ชุติมา มะโหละกุล นักแสดง
- วสุพล พรพนานุรักษ์ นักร้องวง BUS
- โอม เปล่งขำ สมาชิกมือคีย์บอร์ดวงบอดี้สแลม
- ดุลยวัต แก้วศรียงค์ นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย
- ชยาพร น้อยหนู นักร้อง แชมป์เดอะอาร์สยาม คนแรกของประเทศไทย
- ก้องภพ จิโรจน์มนตรี นักแสดง
- ฐิติพงศ์ เซ่งง่าย นักแสดง
อ้างอิง
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads