ช่องแคบมะละกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช่องแคบมะละกา

ช่องแคบมะละกา (อังกฤษ: Strait of Malacca; จีน: 馬六甲海峽/马六甲海峡; ทมิฬ: மலாக்கா நீரிணை; มลายู: Selat Melaka; อินโดนีเซีย: Selat Malaka; ฮินดี: मलक्का जलडमरूमध्य) เป็นช่องแคบที่มีความยาว 580 ไมล์ (930 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรมลายูกับเกาะสุมาตรา[2] เนื่องจากร่องน้ำขนส่งหลักตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดในโลก ชื่อช่องแคบตั้งชื่อมาจากรัฐสุลต่านมะละกาที่เคยปกครองเหนือกลุ่มเกาะใน ค.ศ. 1400 ถึง 1511

ข้อมูลเบื้องต้น ช่องแคบมะละกา, ที่ตั้ง ...
ช่องแคบมะละกา
Thumb
ช่องแคบมะละกาเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออกและมหาสมุทรอินเดียทางตะวันตก
Thumb
ช่องแคบมะละกา
ช่องแคบมะละกา
ที่ตั้งทะเลอันดามันช่องแคบสิงคโปร์
พิกัด4°N 100°E
ชนิดช่องแคบ
ชื่อในภาษาแม่
ประเทศในลุ่มน้ำ ไทย
 มาเลเซีย
 อินโดนีเซีย
 อินเดีย
ช่วงยาวที่สุด930 กิโลเมตร (580 ไมล์)
ช่วงสั้นที่สุด38 กิโลเมตร (24 ไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย25 เมตร (82 ฟุต) (ขั้นต่ำ)[1]
เมืองมะละกา
พอร์ตกลัง
ปีนัง
เมดัน
จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดกระบี่
จังหวัดตรัง
จังหวัดสตูล
อาเจะฮ์
รีเยา
พอร์ตแบลร์
ปิด

พื้นที่

องค์การอุทกศาสตร์สากลได้กำหนดขอบเขตและพื้นที่ของช่องแคบมะละกาไว้ตามนี้:[3]

ทางตะวันตก เส้นเชื่อมกันที่ Pedropunt จุดทางเหนือสุดของเกาะสุมาตรา (5°40′N 95°26′E) และ Lem Voalan จุดทางใต้สุดของเกาะภูเก็ต (แหลมพรหมเทพบนเกาะภูเก็ต) ในสยาม (ประเทศไทย) (7°45′N 98°18′E)
ทางตะวันออก เส้นเชื่อมกันที่ตันจุงปีไย (บูลุซ) จุดทางใต้สุดของคาบสมุทรมลายู (1°16′N 103°31′E) และ The Brothers (1°11.5′N 103°21′E) และจากที่นั่นถึงเกาะการีมุนน้อย (1°10′N 103°23.5′E)
ทางเหนือ ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้สุดของคาบสมุทรมลายู
ทางใต้ ชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของเกาะสุมาตรา แล้วไปทางตะวันออกสุดถึงตันจงเกอดาบู (1°06′N 102°58′E) และจากที่นั่นถึงเกาะการีมุนน้อย

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.