จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเก็ต (เดิมสะกดว่า ภูเก็จ) เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บนทะเลอันดามัน มีจังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือและทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงา ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ต นอกจากทางเรือแล้ว ยังสามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียว คือ ผ่านทางจังหวัดพังงาทางทิศเหนือ โดยข้ามสะพานสารสิน และสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศ โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
จังหวัดภูเก็ต | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Phuket |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง : วัดไชยธาราราม (วัดฉลอง), พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี, แหลมพรหมเทพ, พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ เมืองเก่าภูเก็ต, พระอาทิตย์ตกที่หาดป่าตอง | |
คำขวัญ: ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นายโสภณ สุวรรณรัตน์[1] (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 543.034 ตร.กม. (209.667 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 76 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 423,599 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 61 |
• ความหนาแน่น | 780.05 คน/ตร.กม. (2,020.3 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 5 |
รหัส ISO 3166 | TH-83 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | เมืองถลาง |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ประดู่บ้าน |
• ดอกไม้ | เฟื่องฟ้า |
• สัตว์น้ำ | หอยมุกจาน |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดภูเก็ต ถนนท่าแครง ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000 |
• โทรศัพท์ | 0 7635 4875 |
• โทรสาร | 0 7622 2886 |
เว็บไซต์ | http://www.phuket.go.th |
คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต[4] (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง
เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นี้เอง[ต้องการอ้างอิง]
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
รายชื่อเจ้าเมืองถลาง[5] | ||
1 | พระยาถลาง ซาร์บอนโน | สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
2 | พระยาถลาง บิลลี | สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
3 | พระยาถลางจอมสุรินทร์ | สมัยสมเด็จพระเพทราชา |
4 | พระยาถลาง คางเซ้ง | สมัยสมเด็จพระเพทราชา-สมเด็จพระเจ้าเสือ |
5 | พระยาถลางจอมเฒ่า | สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
6 | พระยาถลางจอมร้าง | สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ |
7 | พระยาถลางอาด | |
8 | พระยาถลางชู | 2312-2314 |
9 | พระยาสุรินทราชา (พิมลขัน) | 2314-2325 |
10 | พระยาถลาง (ขัน) | 2335-2328 |
11 | พระยาถลาง ทองพูน | 2328-2332 |
12 | พระยาถลาง เทียน | 2332-2352 |
13 | พระยาถลาง บุญคง | 2352-2360 |
14 | พระยาถลาง เจิม | 2360-2370 |
15 | พระยาถลาง ทอง | 2370-2380 |
16 | พระยาถลาง ฤกษ์ | 2380-2391 |
17 | พระยาถลาง ทับ | 2391-2405 |
18 | พระยาถลาง คิน | 2405-2412 |
19 | พระยาถลาง เกด | 2412-2433 |
20 | พระยาถลาง หนู | 2433-2437 |
รายชื่อเจ้าเมืองภูเก็ต[5] | ||
1 | เจ้าภูเก็ต เทียน | 2312-2332 |
2 | หลวงภูเก็ต ช้างคด | 2332-ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง |
3 | พระภูเก็ต นายศรีชายนายเวร | ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง |
4 | หลวงปลัด อุด | ระยะเวลาพม่าเผาบ้านเมืองถลาง |
5 | พระภูเก็ต แก้ว | 2370-2405 |
6 | พระภูเก็ต (ทัด รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) | 2405-2412 |
7 | พระยาภูเก็ต ลำดวน | 2412-2433 |
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต | ||
1 | พระยาวิสูตรสาครดิฐ (สาย โชติกะเสถียร) | ก่อน พ.ศ. 2450 |
2 | พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) | ก่อน พ.ศ. 2450 |
3 | พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) | ก่อน พ.ศ. 2450 |
4 | พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ (อรุณ อมาตยกุล) | ก่อน พ.ศ. 2450 |
5 | หม่อมเจ้าปฏิพัทธเกษมศรี เกษมศรี | พ.ศ. 2450–2458 |
6 | พระยาทวีปธุระประศาสตร์ (ชุบ โอสถานนท์) | พ.ศ. 2458–2461 |
7 | พระยากรุงศรีสวัสดิการ (จำรัส สวัสดิ-ชูโต) | พ.ศ. 2461–2465 |
8 | พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) | พ.ศ. 2465–2471 |
9 | พระศรีสุทัศน์ (ม.ล.อนุจิตร สุทัศน์) | พ.ศ. 2471–2472 |
10 | พระยาอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (ทนง บุนนาค) | พ.ศ. 2472–2476 |
11 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา | พ.ศ. 2476–2476 |
12 | พระยาสุริยเดชรณชิต | พ.ศ. 2476–2478 |
13 | พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน) | พ.ศ. 2478–2479 |
14 | พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตะยโศธร) | พ.ศ. 2479–2480 |
15 | หลวงเธียรประสิทธิสาร (ร.อ.มงคล เธียรประสิทธิ์) | พ.ศ. 2480–2486 |
16 | หลวงอังคณานุรักษ์ (ร.อ.ถวิล เทพาคำ) | พ.ศ. 2486–2489 |
17 | ขุนภักดีดำรงค์ฤทธิ์ (อ้น เกษีพันธ์) | พ.ศ. 2489–2492 |
18 | นายอุดม บุณยประสพ | พ.ศ. 2492–2494 |
19 | นายมาลัย หุวะนันทน์ | พ.ศ. 2494–2495 |
20 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) | พ.ศ. 2495–2497 |
21 | นายมงคล สุภาพงษ์ | พ.ศ. 2497–2500 |
22 | นายเฉลิม ยูปานนท์ | พ.ศ. 2500–2501 |
23 | ขุนวรคุตต์คณารักษ์ | พ.ศ. 2501–2501 |
24 | นายอ้วน สุระกุล | พ.ศ. 2501–2511 |
25 | นายกำจัด ผาติสุวัณณ | พ.ศ. 2511–2512 |
26 | นายสุนัย ราชภัณฑารักษ์ | พ.ศ. 2512–2518 |
27 | นายศรีพงศ์ สระวาลี | พ.ศ. 2518–2521 |
28 | นายเสน่ห์ วัฑฒนาธร | พ.ศ. 2521–2523 |
29 | นายมานิต วัลยะเพ็ขร์ | พ.ศ. 2523–2528 |
30 | นายสนอง รอดโพธิ์ทอง | พ.ศ. 2528–2529 |
31 | นายกาจ รักษ์มณี | พ.ศ. 2529–2530 |
32 | นายเฉลิม พรหมเลิศ | พ.ศ. 2530–2534 |
33 | นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี | พ.ศ. 2534–2536 |
34 | นายสุดจิต นิมิตกุล | พ.ศ. 2536–2539 |
35 | นายจำนง เฉลิมฉ้ตร | พ.ศ. 2539–2541 |
36 | นายเจด็จ อินสว่าง | พ.ศ. 2541–2542 |
37 | นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ | พ.ศ. 2542–2543 |
38 | นายพงศ์โพยม วาศภูติ | พ.ศ. 2543–2546 |
39 | นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร | พ.ศ. 2546–2549 |
40 | นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร | พ.ศ. 2549–2551 |
41 | นายปรีชา เรืองจันทร์ | พ.ศ. 2551–2552 |
42 | นายวิชัย ไพรสงบ | พ.ศ. 2552–2553 |
43 | นายตรี อัครเดชา | พ.ศ. 2553–2555 |
44 | นายไมตรี อินทุสุต | พ.ศ. 2555–2557 |
45 | นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ | พ.ศ. 2557–2558 |
46 | นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา | พ.ศ. 2558–2559 |
47 | นายโชคชัย เดชอมรธัญ | พ.ศ. 2559–2560 |
48 | นายนรภัทร ปลอดทอง | พ.ศ. 2560–2561 |
49 | นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ | พ.ศ. 2561–2563 |
50 | นายณรงค์ วุ่นซิ้ว | พ.ศ. 2563–2566 |
51 | นายโสภณ สุวรรณรัตน์ | พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน |
การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 104 หมู่บ้าน
ชั้น | หมายเลข | อำเภอ | ประชากร (พ.ศ. 2561) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
รหัสไปรษณีย์ | ระยะทางจาก อำเภอเมืองภูเก็ต |
---|---|---|---|---|---|---|---|
พิเศษ | 1 | อำเภอเมืองภูเก็ต | 247,115 | 224.0 | 1,103.19 | 83000, 83100, 83130 | - |
1 | 2 | อำเภอกะทู้ | 58,600 | 67.09 | 873.45 | 83120, 83150 | 9 |
1 | 3 | อำเภอถลาง | 104,496 | 252.0 | 414.67 | 83110 | 23 |
รวม | 402,017 | 543.034 | 740.31 |
มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้
ชาวเลเป็นกลุ่มชนกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทยใต้ ชาวเปอรานากัน ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นพุทธศาสนิกชน สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"
ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ตราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมรราวหมื่นคน
จากการสำรวจใน พ.ศ. 2553 พบว่าประชากรในจังหวัดภูเก็ตนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 73 ศาสนาอิสลามร้อยละ 25 ศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ร้อยละ 2[7] ส่วนการสำรวจใน พ.ศ. 2557 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 71.06 ศาสนาอิสลามร้อยละ 27.60 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.01 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.33[8] และการสำรวจใน พ.ศ. 2560 พบว่านับถือศาสนาพุทธร้อยละ 68.61 ศาสนาอิสลามร้อยละ 26.65 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.98 นอกนั้นนับถือศาสนาอื่น[6]
ภาษาถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ไม่เหมือนถิ่นอื่นในภาคใต้ โดยจะมีสำเนียงภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษามลายูปนอยู่มาก ดังนั้นภาษาถิ่นภูเก็ตจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบได้เฉพาะ แถบภูเก็ตและพังงา เท่านั้น
ในอดีตนั้นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในภูเก็ตนั้น ส่วนใหญ่ล้วนเป็นชาวจีนอพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน เมื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในภูเก็ตแล้ว ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมายเข้ามาใช้ หนึ่งในนั้นก็คือ ภาษา ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นได้ติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาจีนฮกเกี้ยน ต่อมามีการค้าขายมากขึ้นต้องติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ชาวจีนฮกเกี้ยนบางส่วนก็ไปมาหาสู่กับปีนัง มาเลเซียบ้าง มีการค้าขายแร่ดีบุกต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้ภาษามลายูเริ่มเข้ามาผสมปนเข้าด้วยกันกับภาษาฮกเกี้ยน ทำให้เกิดเป็นภาษาที่ผสมสำเนียงเข้าด้วยกัน เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภูเก็ตและใกล้เคียง
ภาษาฮกเกี้ยนในภูเก็ตนั้น ปัจจุบันยังคงมีใช้อยู่เพียงแต่สำเนียงอาจจะเพี้ยนไปจากภาษาฮกเกี้ยนเดิมบ้าง เพื่อปรับให้เข้ากับการออกเสียงของคนภูเก็ต ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาฮกเกี้ยนที่ใช้กันในปีนัง มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เนื่องจากมีการปรับเสียงให้เข้ากับสัทอักษรการออกเสียงของคนภูเก็ต บางคำในภาษาฮกเกี้ยนจึงไม่เหมือนกันภาษาฮกเกี้ยนแท้ของจีน แต่ก็ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังพบว่าระบบไวยากรณ์ที่ใช้นั้น บ้างก็ยืมมากจากภาษาฮกเกี้ยนด้วย ภาษาภูเก็ตบ้างก็เรียก ภาษาบาบ๋า
โรงเรียน
ระดับอุดมศึกษา
(รายชื่อบุคคลบันเทิงดังต่อไปนี้ ไม่ได้เรียงลำดับจากอายุงานทางด้านวงการบันเทิง)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.