Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]
มาลัย หุวะนันทน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | |
ก่อนหน้า | บุญชนะ อัตถากร |
ถัดไป | ชุบ กาญจนประกร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2455 |
เสียชีวิต | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (67 ปี) |
คู่สมรส | ศ.คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ |
ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน และ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา เคยร่วมขบวนการสมาชิกเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกาเคยเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึงปี พ.ศ. 2495[2] ต่อมาโอนย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2499 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2497 และก่อตั้ง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งโอนไปนิด้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี[3] ในปี พ.ศ. 2510 จนถึงปี พ.ศ. 2514 และ นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2515
ในปี พ.ศ. 2511 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย และจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.32) และเป็นประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติคนแรก
สมรสกับ ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ ป.ม. ท.จ. ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ และนายกสมาคมสตรีหลายแห่ง รวมถึงเป็น กรรมาธิการชาวไทย(คนแรก)ใน คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีของสหประชาชาติ พ.ศ. 2515 - 2517 (UN Commission on status of women (1973))
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.