Loading AI tools
ชนิดของพืชยืนต้น จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประดู่บ้าน[3][4] หรือ ประดู่กิ่งอ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus indicus เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae
ประดู่บ้าน | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยถั่ว |
สกุล: | Pterocarpus Willd. |
สปีชีส์: | Pterocarpus indicus |
ชื่อทวินาม | |
Pterocarpus indicus Willd. | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
ประดู่ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในออสตราเลเซียตอนเหนือ, หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก, ติมอร์-เลสเต, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย,[5] ฟิลิปปินส์, หมู่เกาะรีวกีว, หมู่เกาะโซโลมอน, เวียดนาม[6] และภาคใต้ของไทย[7] โดยมีการนำไปปลูกในภูมิภาคอื่น ๆ ของไทยในภายหลัง[8]
ประดู่บ้านเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะทั่วไปคล้ายประดู่ แต่แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้างกว่าและมีปลายกิ่งยาวห้อยระย้า[8] มีความสูงประมาณ 10–25 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทา ลำต้นเป็นพูไม่กลม แตกเป็นสะเก็ดร่องตื้น ๆ มีน้ำยางน้อยกว่าประดู่ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6–12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ 2–3 นิ้ว กว้างประมาณ 1–2 นิ้ว ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง โดยช่อดอกจะแตกแขนงเป็นช่อใหญ่กว่าประดู่[9] ผลมีขนเล็ก ๆ ปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4–6 เซนติเมตร
ประดู่บ้านต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.