Loading AI tools
วัดในจังหวัดตรัง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระพุทธสิหิงค์ หรือ วัดหึงค์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 127 บ้านวัดหึงค์ หมู่ 5 ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง วัดนี้มีเนื้อที่ 18 ไร่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระคู่บ้านคู่เมืองตรัง
วัดพระพุทธสิหิงค์ | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดพระพุทธสิหิงค์ Wat Phraphuttasihing |
ที่ตั้ง | เลขที่ 127 ถนนเทศบาล 2(ทางหลวงชนบทตรัง 3067) |
ประเภท | วัดราษฎ์มหานิกาย |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่อพุทธสิหิงค์(พระหึงค์) |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธสิหิงค์(พระหึงค์)องค์เล็ก |
เจ้าอาวาส | พระครูวินัย ธรกวี ฐิตคุโน |
เวลาทำการ | ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระประธานในพระอุโบสถ ประตูวัด พระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก |
กิจกรรม | การแสดงธรรมเทศนาทุกวันพระ สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กทุกวันสงกรานต์ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระพุทธสิหิงค์ สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1493 โดยพระนางเลือดขาว พระมเหสีของพระยากุมารเจ้าเมืองพัทลุง โดยได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์สำริดองค์หน้าตักกว้าง 9 นิ้ว มาจากลังกา เพื่อไปประดิษฐานยังเมืองนครศรีธรรมราช แต่เรือที่อัญเชิญ ถูกพายุซัดกระหน่ำที่ปากอ่าวอำเภอกันตัง ทำให้เรืออัปปาง แต่พระพุทธสิหิงค์ยังลอยอยู่ติดกับไม้กระดานเรือเพียงแผ่นเดียว พระนางเลือดขาวจึงต่อเรือใหม่ล่องไปทางคลองนางน้อยและได้สร้างวัดขึ้น ใกล้กับทุ่งนาของชาวบ้าน รวมทั้งสร้างพระอุโบสถประดับถ้วยชามลายครามรวมทั้งพระประธานครอบพระพุทธสิหิงค์องค์เล็ก และสร้างพระพุทธสิหิงค์องค์ใหม่ ซึ่งมีขนาดเท่ากัน มาตั้งหน้าพระประธาน แล้วตั้งชื่อวัด มีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ แต่ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่าวัดหึงค์
พระประธานและพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กจึงเรียกตามชื่อวัดว่าพระหึงค์ไปด้วย โดยได้บันทึกหลักฐานไว้ในเพลาวัดพระพุทธสิหิงค์เป็นหนังสือบุดปฤษนาว่า(ต่อมาหนังสือเพลาได้หายไปจากวัดเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิษฐานว่าพระลูกวัดหรือเจ้าอาวาสยุคนั้นอาจส่งคืนให้ทางวัดเขียนบางแก้ว ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงแล้วเพราะเมืองตรังอยู่ในเขตสมรภูมิรบ หนังสือบุดปฤษณาอาจไม่ปลอดภัย)ครั้นปีจอ โทศก จุลศักราช ๓๑๒ พระยากุมารกับนางเลือดขาวก็เที่ยวไป ๗ วันถึงตรัง แขวงเมืองนครศรีธรรมราช พระยากุมารก็ทำพระพุทธรูปเป็นพระบรรทมที่ตรังนั้นองค์หนึ่ง และเมื่อกลับจากลังกาสิงหฬนั้น นางเลือดขาวจึงสร้างอารามพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ ณ ที่พักที่ตรังอีกอารามหนึ่ง เขียนจารึกไว้ ลงวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ แสดงให้เห็นว่าสมัยนั้นมีเมืองตรังแล้วและยังบ่งบอกว่าเมืองตรังเป็นเมืองท่าเรือมาเป็นเวลานานก่อนยุคอาณาจักรศรีวิชัย พระพุทธสิหิงค์ก็ได้เป็นที่นับถือของชาวบ้านตลอดมาในวันสงกรานต์ก็จะอัญเชิญไปร่วมสรงน้ำ
ต่อมาวัดพระพุทธสิหิงค์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2476 พระพุทธสิหิงค์องค์จำลองได้อัญเชิญไปยังวัดหัวถนน ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง เพราะที่วัดพระพุทธสิหิงค์มีพระพุทธสิหิงค์อยู่แล้วถึง 2 องค์ อีกทั้งวัดพระพุทธสิหิงค์จะเกิดสภาวะน้ำท่วมประจำและง่ายต่อการอัญเชิญไปให้ประชาชนสรงน้ำในวันสงกรานต์และยังอยู่ใกล้บ้านคุณพระนรากรบริรักษ์ ท่านเจ้าเมืองตรังในขณะนั้นที่สำคัญยังปลอดภัยกว่าไว้ที่วัดพระพุทธสิหิงค์เพราะยุคนั้นขุนโจรทางปักษ์ใต้ระบาดหนักมาก
ต่อมาพระพุทธสิหิงค์จำลองได้หายไปจากวัดหัวถนน ในวันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526 วัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526 ช่างที่บูรณปฏิสังขรณ์ได้ทำการฉาบเครื่องถ้วยชามลายครามประดับพระอุโบสถจึงเป็นที่น่าเสียดายอย่ามาก บางส่วนทางวัดก็สามรถเก็บรักษาไว้ได้ สาเหตุที่ต้องมีการบูรณะพระอุโบสถใหม่เพราะพระอุโบสถหลังเดิมมีอายุนับร้อยๆปีและอยู่ในสภาพทรุดโทรมมากรวมทั้งมีกลุ่มโจรมาแกะโขมยเครื่องถ้วยชามข้างพระอุโบสถ เคื่องถ้วยชามบางใบทางวัดสาามรถแกะลงมาและนำไปเก็บไว้รักษาได้แต่บางใบไม่สามารถแกะลงมาได้จึงจำเป็นต้องนำปูนมาโบกฉาบทับไว้ วัดพระพุทธสิหิงค์บางช่วงก็เกือบจะเป็นวัดร้าง ต่อมามีการลื่อว่าพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กไปตกอยู่ในการครอบครองของปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่ง แต่ไม่สามารถนำคืนมาได้เนื่องจากคนที่ครองครองกลัวโดนจับกุมและไม่มีการเปิดบ้านพิสูจน์ จึงให้สร้างองค์จำลองกลับให้ทางวัด ปัจจุบันพระวินัยธรกวี ฐิตคุโน เป็นเจ้าอาวาส
ปี พ.ศ. 2554 ทางวัดพระพุทธสิหิงค์ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถครั้งที่ 2 ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการบูรณปฏิสังขรณ์
ในเพลาวัดได้บันทึกชื่อวัดว่า วัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ แต่ด้วยที่คนปักษ์ใต้โดยเฉพาะจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราชและพัทลุง มีนิสัยการพูดที่สั้นๆ เร็วๆ ถ้วนๆ การเรียกชื่อวัดจึงกร่อนลงและเพี้ยนไปในที่สุด เริ่มจากตัดพยางค์ พระศรีสรรเพชญพุทธะ ออก เหลือเพียง วัดสิหิงค์ และพยางค์ สิ โดนกร่อนลง จนเหลือแต่ วัดหิงค์ ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น วัดหึงค์ ภายในที่สุด แต่ชาวบ้านมีตำนานเล่าว่า ขณะสร้างหลวงพ่อพุทธสิหิงค์พระประธานอยู่นั้น มีเสาไม้กันเกรา(คนใต้เรียกว่าไม้ตำเสา)ลอยมาทางทิศหัวนอนของวัด(ทิศใต้)ลมได้มากระทบกับกระแสน้ำจึงเกิดเสียง หึง หึง หึง ดังขึน 3 ครั้ง ชาวบ้านจึงช่วยนำไม้นั้นขึ้นมาและนำไปไว้ข้างในองค์พระประธาน ต่อมาวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในใบวิสุงคามสีมาเขียนชื่อวัดว่า วัดพระพุทธสิหิงค์ ทางกรมศาสนาจึงยึดชื่อวัดในวิสุงคามสีมาเป็นหลัก อีกสาเหตุหนึ่งเพราะชื่อวัดแรกเริ่ม ดันไปคล้ายคลึงและเขียนคล้ายกับ วัดพระศรีศรรเพชญ์ ในเขตโบราณสถานพระราชวังโบราณเมืองกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยา จะทำให้คนสับสนได้ ชื่อวัดพระศรีสรรเพชญพุทธสิหิงค์ก็มีคนรู้จักและได้ยินน้อยมากหรือเกือบไม่รู้จักหรือได้ยินชื่อวัดเดิมๆไปด้วยซ้ำ
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจดังนี้
แต่เดิมพระพุทธสิหิงค์องค์เล็กประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธสิหิงค์ อำเภอนาโยงมาช้านาน โดยมีการบันทึกหลักฐานไว้ในเพลาวัดอย่างชัดเจน ต่อมา พ.ศ. 2476 พระพุทธสิหิงค์องค์เล็กได้ย้ายไปประดิษฐานที่วัดหัวถนน ตำบลนาพละ อำเภอเมือง ในสมัยท่านพระนรากรบริรักษ์ เจ้าเมืองตรังสมัยนั้นบ้านของท่านอยู่ข้างวัดหัวถนน จะสามารถดูและองค์พระได้ง่ายที่สำคัญเมื่อถึงวันตรุษไทย(มหาสงกรานต์)จะสามารถอัญเชิญองค์พระมีอย่างง่ายดายต่างกับวัดพระพุทธสิหิงค์ที่อยู่กลางทุ่งนาเดินไปลำบากและวัดพระพุทธสิหิงค์ก็มีพระพุทธสิหิงค์อยู่แล้ว 2 องค์ อีกทั้งวัดพระพุทธสิหิงค์เมื่อเข้าหน้าฝนน้ำจะท่วมทุกปีเสี่ยงต่อการสูญหายขององค์พระ รวมทั้งยุคนั้นขุนโจรทางภาคใต้ระบาดหนักมาก พระพุทธสิหิงค์ได้หายไปจากวัดหัวถนนเมื่อ วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2526 โดยก่อนหายพระพุทธสิหิงค์ได้ประดิษฐานอยู่ในกุฏิไม่ยกพื้น ทางพระเฮียบเจ้าอาวาสวัดก็ได้แจ้งความแล้ว แต่เรื่องก็เงียบหาย ต่อมาพ.ศ. 2552ก็เมือข่าวดังขึ้นมาอีกครั้งโดยมีการลือว่าพระพุทธสิหิงค์ไปอยู่ในบ้านของอดีตประหลัดกระทรวงมหาดไทยแต่เสียชีวิตไปแล้วและลื่อกันอีกว่ากำลังอยู่ในการครอบครองของคุณหญิงท่านหนึ่งแต่ไม่มีการเปิดบ้านเพื่อพิสูจน์ ว่าที่ ร.ต.ชาญยุทธ เกื้ออรุณประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตรัง(ในขณะนั้น) ได้ทำหนังสือส่งถึงนายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตาม พระพุทธสิหิงค์ พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดตรัง ต่อก็เงียบหายไปอีกครั้งและล่าสุด พ.ศ. 2559 นายดำรง ลีนานุรักษ์ อดีตรองอธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้เรียกร้องให้รื้อฟื้นคดีและทวงคืนพระพุทธสิหิงค์คืนมายังวัด (ขณะนี้อยู่ในการดำเนินการติดตามทวงคืน)
จากตัวเมืองตรัง ไปตามถนนเพชรเกษมหมายเลข 4 ตรัง-พัทลุง หลังจากผ่านหน้าโรงเรียนเพาะปัญญา จะมีถนนก่อนถึงไปรษณีย์นาโยง ให้เลี้ยวซ้ายไป 1 กิโลเมตร วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ(ปัจจุบันมีการสร้างทางเข้าใหม่ข้างโรงเรียนเพาะปัญญา)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.