Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาคกลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่
ภาคกลาง | |
---|---|
จากซ้ายบนไปล่างขวา: สวนลุมพินี, วัดไชยวัฒนาราม, การประมงที่บึงบอระเพ็ด, วัดมหาธาตุ วัดใหญ่ใจกลางตัวเมืองเก่าสุโขทัย, และทิวทัศน์ภูเขาที่อุทยานแห่งชาติเขาค้อ | |
ภาคกลางในประเทศไทย ตามการแบ่งภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค | |
เมืองใหญ่สุด | กรุงเทพมหานคร |
จังหวัด | |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 91,798.64 ตร.กม. (35,443.65 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2557) | |
• ทั้งหมด | 20,388,366 คน |
• ความหนาแน่น | 220 คน/ตร.กม. (580 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2019) | 0.781 (สูง)[1] |
เขตเวลา | UTC+7 (Thailand) |
ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยที่ราบตะกอนน้ำพาที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และตะกอนมาทับถมพอกพูนมานับเป็นเวลาล้าน ๆ ปี บริเวณที่ราบของภาคนี้กินอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของจังหวัดอุตรดิตถ์ลงไปจนจรดอ่าวไทย นับเป็นพื้นที่ราบที่มีขนาดกว้างใหญ่กว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ อย่างไรก็ตามบางบริเวณของภาคกลาง มีภูเขาโดด ๆ ทางจังหวัดนครสวรรค์และด้านตะวันตกของจังหวัดพิษณุโลก จากหลักฐานทางธรณีวิทยา สันนิษฐานว่าภูเขาโดดเหล่านี้เดิมเคยเป็นเกาะ เพราะน้ำทะเลท่วมขึ้นไปถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ในหลายยุค พื้นดินยกตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกระทำของแม่น้ำหลาย ๆ สายซึ่งมีการกัดเซาะสึกกร่อนและการทับถมพอกพูน ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ของประเทศ
เมื่อพิจารณาตามลักษณะโครงสร้าง บริเวณภาคกลางสามารถแบ่งได้เป็น 3 เขต คือ
1. ภาคกลางตอนบน ได้แก่ บริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปทางตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย รวมทั้งบางบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ภูมิประเทศโดยทั่วไปในบริเวณตอนบนนี้ ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบลูกฟูก (rolling plains) ซึ่งเกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และลำน้ำสาขา ภูมิประเทศที่เป็นลูกฟูกนั้นอาจเกิดจากการที่แม่น้ำพัดพาเอาเศษหิน กรวด ทรายที่มีขนาดใหญ่และตกตะกอน ก่อนทับถมพอกพูน ถ้าหากเทียบกับดินตะกอนแล้ว ชนิดแรกสามารถต้านทานต่อการสึกกร่อนได้มากกว่าชนิดหลัง ทำให้กลายเป็นภูมิประเทศคล้ายลูกคลื่น มีลูกเนินเตี้ย ๆ สลับกับบริเวณที่ง่ายแก่การสึกกร่อน ซึ่งกลายเป็นร่องลึกมีลักษณะเป็นที่ราบลูกฟูก นอกจากนี้การกระทำของแม่น้ำยังทำให้เกิดที่ราบขั้นบันได (terraces) ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกด้วย ภูมิประเทศทางด้านตะวันออกของเขตนี้เป็นภูเขาและทิวเขาจรดขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวทิวเขาดังกล่าว ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 ซึ่งต่อเนื่องมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ 1 กับทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 มีที่ราบแคบ ๆ ในเขตอำเภอหล่มสักและจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านลงไปทางใต้ ทิวเขาเพชรบูรณ์ 2 นี้ส่วนใหญ่เป็นหินแอนดีไซต์ หินไดโอไรต์ยุคเทอร์เชียรี ทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขาสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ไปจนจรดที่ราบลุ่มแม่น้ำ
2. ภาคกลางตอนล่าง เป็นที่ราบลุ่มซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครสวรรค์ลงไปจนจรดอ่าวไทย ภูมิประเทศภาคกลางตอนล่างบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกงพัดพามา แม่น้ำเหล่านี้เมื่อไหลผ่านบริเวณที่เป็นที่ราบ ความเร็วของกระแสน้ำจะลดลง วัตถุต่าง ๆ ที่ละลายปนมากับน้ำจะตกตะกอนทับถมพอกพูน ซึ่งตะกอนเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทรายละเอียด ดินเหนียว และดินตะกอน บางส่วนไปตกตะกอนในบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตะกอนที่ทับถมห่างจากชายฝั่งออกไปไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลเมตร และยังก่อให้เกิดสันดอนในแม่น้ำ ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคมทางน้ำเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ดินตะกอนที่แม่น้ำพัดพามามีประโยชน์ในการปลูกข้าวซึ่งเป็นพืชหลักของประเทศ ทั้งนี้เพราะดินตะกอนสามารถอุ้มน้ำได้ ความหนาของชั้นดินตะกอนในบางบริเวณที่มีการขุดเจาะเพื่อสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าบางแห่งหนาเกิน 120 เมตร จึงจะถึงหินดินดาน (dedrock) ข้างใต้
3. บริเวณขอบที่ราบ (marginal plain) ได้แก่ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบแคบ ๆ บางบริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดอุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และบางบริเวณทางด้านตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ซึ่งลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวมีความแตกต่างจากที่ลุ่มแม่น้ำในทางธรณีสัณฐานวิทยา ทั้งนี้เพราะหินที่สึกกร่อนกลายเป็นดินรวมทั้งน้ำเป็นตัวการทำให้เศษดิน เศษหิน เหล่านี้มาทับถมในบริเวณเชิงเขา และส่วนที่ต่อแนวของที่ราบลุ่มแม่น้ำเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการเกิดพบว่าต่างกัน บริเวณทางด้านตะวันตกของจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะในเขตอำเภอโคกสำโรง เป็นที่ราบสลับลูกเนินเตี้ย ๆ ซึ่งบริเวณนี้สึกกร่อนมาจากหินปูน (ชุดราชบุรี) หินชนวน และหินดินดาน ทำให้ดินมีสีเทาเข้มถึงดำ นอกจากนี้ในบางบริเวณยังมีหินอัคนีแทรกขึ้นมาเป็นหย่อม ๆ มีหินบะซอลต์และหินแอนดีไซต์ปนอยู่ด้วย บางแห่งมีแร่เหล็ก เช่น ที่เขาทับควาย อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่บริเวณขอบที่ราบทั้ง 2 ด้าน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีความสำคัญในการปลุกพืช เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง และอื่น ๆ กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ใช้ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ โดยภาคกลางของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 21 จังหวัด[2] และกรุงเทพมหานคร (ซึ่งเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัด) โดยมีพื้นที่ทางเหนือไปจนสุดเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก และทางใต้ลงไปสุดที่อ่าวไทย ยกเว้นจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขา และยกเว้นจังหวัดทางภาคตะวันออก จังหวัดในภาคกลางตามการแบ่งที่เป็นทางการ ประกอบไปด้วยจังหวัดต่าง ๆ 21 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดังตารางข้างล่างนี้
ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อจังหวัด อักษรไทย |
ชื่อจังหวัด อักษรโรมัน |
จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | Bangkok | 5,682,415 | 1,568.7 | 3,622.2 | |
กำแพงเพชร | Kamphaeng Phet | 714,117 | 8,607.5 | 84.5 | |
ชัยนาท | Chai Nat | 322,477 | 2,469.7 | 135.6 | |
นครนายก | Nakhon Nayok | 260,080 | 2,122.0 | 119.1 | |
นครปฐม | Nakhon Pathom | 920,729 | 2,168.3 | 396.7 | |
นครสวรรค์ | Nakhon Sawan | 1,040,308 | 9,597.7 | 111.8 | |
นนทบุรี | Nonthaburi | 1,276,725 | 622.3 | 1,770.4 | |
ปทุมธานี | Pathum Thani | 1,176,411 | 1,525.9 | 645.9 | |
พระนครศรีอยุธยา | Phra Nakhon Si Ayutthaya | 819,088 | 2,556.6 | 305.9 | |
พิจิตร | Phichit | 532,310 | 4,531.0 | 122.0 | |
พิษณุโลก | Phitsanulok | 849,481 | 10,815.8 | 78.6 | |
เพชรบูรณ์ | Phetchabun | 996,940 | 12,668.4 | 78.6 | |
ลพบุรี | Lop Buri | 757,273 | 6,199.8 | 121.9 | |
สมุทรปราการ | Samut Prakan | 1,351,479 | 1,004.1 | 1,180.3 | |
สมุทรสงคราม | Samut Songkhram | 192,052 | 416.7 | 465.7 | |
สมุทรสาคร | Samut Sakhon | 586,199 | 872.3 | 563.9 | |
สระบุรี | Saraburi | 643,828 | 3,576.5 | 172.6 | |
สิงห์บุรี | Sing Buri | 205,897 | 822.5 | 261.0 | |
สุโขทัย | Sukhothai | 601,778 | 6,596.1 | 91.2 | |
สุพรรณบุรี | Suphan Buri | 845,850 | 5,358.0 | 157.9 | |
อ่างทอง | Ang Thong | 284,970 | 968.4 | 294.3 | |
อุทัยธานี | Uthai Thani | 327,959 | 6,730.3 | 48.7 |
ยังมีหลายหน่วยงานที่กำหนดขอบเขตของภาคกลางแตกต่างกันออกไป เพราะภูมิภาคเป็นการปกครองที่ไม่มีผู้บริหาร ไม่มีเขตที่ชัดเจน การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคจึงเป็นเพียงการจัดกลุ่มทางภูมิศาสตร์และสถิติเท่านั้น บางครั้งก็มีการระบุว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่แยกต่างหากจากภาคกลาง หรือระบุว่าภาคกลางไม่มีจังหวัดนครนายก แต่ไปอยู่ภาคตะวันออก เช่น การจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคกลางประกอบด้วย 8 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่
ส่วนการจัดแบ่งภาคกลางตามระบบ 4 ภาค (เหนือ กลาง อีสาน ใต้) ซึ่งเป็นการแบ่งที่ไม่เป็นทางการ โดยมีพื้นที่ทางเหนือถึงแค่จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลพบุรี และรวมภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเข้ามารวมด้วย ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 25 จังหวัด และเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 เขต ได้แก่
นอกจากนี้ เพื่อวัตถุประสงค์เชิงสถิติ จึงมีการแบ่งภาคกลางของระบบ 4 ภาค ออกเป็นภูมิภาคย่อย 4 กลุ่ม[3] ซึ่งเป็นการแบ่งอย่างไม่เป็นทางการเช่นกัน ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคกลางนอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก
อันดับ | จังหวัด | จำนวน (คน) [4] | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2557)[5] | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2556)[6] | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2555) [7] | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2554) [8] | จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2553) [9] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กรุงเทพมหานคร | 5,696,409 | 5,692,284 | 5,686,252 | 5,673,560 | 5,674,843 | 5,701,394 |
2 | สมุทรปราการ | 1,279,310 | 1,261,530 | 1,241,610 | 1,223,302 | 1,209,405 | 1,185,180 |
3 | นนทบุรี | 1,193,711 | 1,173,870 | 1,156,271 | 1,141,673 | 1,122,627 | 1,101,743 |
4 | ปทุมธานี | 1,094,249 | 1,074,058 | 1,053,158 | 1,033,837 | 1,010,898 | 985,643 |
5 | นครสวรรค์ | 1,071,942 | 1072,756 | 1,073,142 | 1,073,347 | 1,071,686 | 1,073,495 |
6 | เพชรบูรณ์ | 996,986 | 995,807 | 994,397 | 993,702 | 990,807 | 996,031 |
7 | นครปฐม | 899,342 | 891,071 | 882,184 | 874,616 | 866,064 | 860,246 |
8 | พิษณุโลก | 863,404 | 858,988 | 856,376 | 854,372 | 851,357 | 849,692 |
9 | สุพรรณบุรี | 849,699 | 849,053 | 848,066 | 847,308 | 845,053 | 845,850 |
10 | พระนครศรีอยุธยา | 808,360 | 803,599 | 797,970 | 793,509 | 787,653 | 782,096 |
11 | ลพบุรี | 758,655 | 758,406 | 757,970 | 758,059 | 756,127 | 755,854 |
12 | กำแพงเพชร | 730,158 | 729,522 | 728,631 | 727,555 | 726,009 | 727,093 |
13 | สระบุรี | 637,673 | 633,460 | 629,261 | 625,689 | 620,454 | 617,384 |
14 | สุโขทัย | 601,712 | 602,460 | 602,713 | 602,601 | 601,504 | 608,820 |
15 | พิจิตร | 545,957 | 547,543 | 548,855 | 549,395 | 549,688 | 552,690 |
16 | สมุทรสาคร | 545,454 | 531,887 | 519,457 | 508,812 | 499,098 | 491,887 |
17 | ชัยนาท | 331,655 | 332,283 | 332,769 | 333,172 | 333,256 | 334,934 |
18 | อุทัยธานี | 330,906 | 330,179 | 329,536 | 328,950 | 328,034 | 327,959 |
19 | อ่างทอง | 283,173 | 283,568 | 283,732 | 283,882 | 284,061 | 284,970 |
20 | นครนายก | 258,577 | 257,300 | 256,085 | 255,174 | 253,831 | 252,734 |
21 | สิงห์บุรี | 211,426 | 212,158 | 212,690 | 213,216 | 213,587 | 214,661 |
22 | สมุทรสงคราม | 194,376 | 194,189 | 194,116 | 194,042 | 194,086 | 194,057 |
— | รวม | 20,183,134 | 20,085,971 | 19,985,241 | 19,889,773 | 19,790,128 | 19,744,413 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.