จังหวัดสระแก้ว
จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สระแก้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย แยกออกมาจากจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยในปัจจุบันถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออก และเป็นอีกหนึ่งจังหวัดพรมแดนที่มีการติดต่อค้าขายเป็นอย่างมาก
จังหวัดสระแก้ว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Sa Kaeo |
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย): ละลุ, อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม, หัวจักรที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ, ร้ายขายรองเท้าในตลาดโรงเกลือ, สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ข้างตลาดโรงเกลือ | |
คำขวัญ: ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระแก้วเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ปริญญา โพธิสัตย์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 7,195.436 ตร.กม. (2,778.173 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 27 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 562,902 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 44 |
• ความหนาแน่น | 78.23 คน/ตร.กม. (202.6 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 64 |
รหัส ISO 3166 | TH-27 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | มะขามป้อม |
• ดอกไม้ | แก้ว |
• สัตว์น้ำ | ปลาบ้า |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว หมู่ที่ 3 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 |
• โทรศัพท์ | 0 3742 1135 |
เว็บไซต์ | http://www.sakaeo.go.th/ |
สระแก้ว เป็นชื่อที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว มีอยู่จำนวน 2 สระ ในสมัยกรุงธนบุรีราว พ.ศ. 2323 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอยและได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว-สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์[3]: 126
ประมาณ 4,000 ปีก่อน บริเวณอ่าวไทยยังเป็นทะเลโคลนตมเว้าลึกเข้ามาในแผ่นดินมากกว่าปัจจุบัน พื้นที่ที่เป็นจังหวัดสระแก้วยังไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เป็นเพียงแค่ทางผ่าน ต่อมาเริ่มมีคนมาตั้งถิ่นฐานจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้าน ผู้คนพากันตั้งหลักแหล่งบริเวณเชิงเขา ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอเขาฉกรรจ์ โดยเฉพาะบนสองฝั่งลำน้ำพระปรงและพระสะทึง จากนั้นผู้คนได้กระจายออกไปอยู่บริเวณที่ดอนกลางทะเลโคลนตม ที่ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม ในจังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ. 1000 ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองสระแก้วได้พัฒนาเป็นชุมชนที่หนาแน่นขึ้น โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มลำน้ำพระปรง-พระสะทึง มีวัฒนธรรมแบบสุวรรณภูมิสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และแบบทวาราวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่เขาฉกรรจ์ และกลุ่มลำห้วยพรมโหด มีวัฒนธรรมแบบขอม ศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทเขาน้อย-เขารังและบ้านเมืองไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศ)
สมัยโบราณ สระแก้วมีความสำคัญในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางตะวันตก-ตะวันออก (ระหว่างเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกับกัมพูชา) และทางเหนือ-ใต้ (ระหว่างเมืองในลุ่มน้ำโขง ชี มูล กับเมืองชายฝั่งทางจันทบุรี) กระทั่งหลัง พ.ศ. 1500 รัฐพื้นเมืองต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิมีการปรับตัวเนื่องจากการทำการค้ากับจีน ประกอบกับภูมิประเทศบริเวณอ่าวไทยเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแผ่นดินตื้นเขินขึ้น เส้นทางคมนาคมทางน้ำเปลี่ยนแปลง ผู้คนจึงอพยพย้ายถิ่นออกจากสระแก้ว
บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงมีกลุ่มบ้านเมืองเกิดขึ้นราว พ.ศ. 1900 เป็นชุมชนขนาดเล็ก ผู้คนเสาะหาของป่าเพื่อส่งส่วยให้แก่ราชธานีต่าง ๆ ต่อมาพัฒนาเป็นเมืองชายแดน เป็นเส้นทางเดินทัพผ่านไปยังกัมพูชา
ในสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวารวดี สระแก้วเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)
สระแก้วเป็นเมืองชายแดน จึงเป็นทางผ่านของกองทัพในการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่บ่อยครั้ง โดยในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ได้ยกทัพมาปราบปรามอริราชศัตรูที่ลักลอบเข้าโจมตี กวาดต้อนผู้คนบริเวณชายแดน มีการตั้งค่ายคูเมืองและปลูกยุ้งฉางไว้ที่ท่าพระทำนบ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอำเภอวัฒนานครในปัจจุบัน ต่อมาในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากทรงหนีพม่าไปเมืองจันทบุรี โดยพาไพร่คนสนิทหนีฝ่ากองทัพพม่าไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณ ดงศรีมหาโพธิ์ อันเป็นเขตป่าต่อเนื่องจากที่ราบลุ่ม ขึ้นไปถึงที่ลุ่มดอนของเมืองสระแก้ว แล้วไปยังชลบุรี ระยอง และจันทบุรี
ในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี พร้อมบุตรชาย ยกทัพไปเสียมราฐและได้แวะพักแรมในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า สระแก้ว สระขวัญ อันเป็นที่มาของชื่อจังหวัด และในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พักทัพก่อนยกไปปราบญวน โดยเมื่อเสร็จศึกญวนแล้ว ได้สร้างบริเวณที่พักนั้นเป็นวัดตาพระยา ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอตาพระยาในปัจจุบัน
สระแก้วเคยมีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดกบินทร์บุรี ซึ่งทางราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึง พ.ศ. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า กิ่งอำเภอสระแก้ว โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอกบินทร์บุรี (ในตอนนั้นจังหวัดกบินทร์บุรีถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีเรียบร้อยแล้ว) ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอสระแก้ว ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด เป็นจังหวัดลำดับที่ 74 ของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับจัดตั้งยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นในปีนั้น พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญ
สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกตอนบนของประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 15 ลิปดา ถึง 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ กับประมาณเส้นแวงที่ 101 องศา 45 ลิปดา ถึง 103 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
สภาพทั่วไป พื้นที่จังหวัดสระแก้วโดยรวมเป็นพื้นที่ราบถึงที่ราบสูงและมีภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 74 เมตร โดยทางด้านทิศเหนือ มีทิวเขาบรรทัดซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง มีลักษณะเป็นป่าเขาทึบได้แก่ บริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทางด้านทิศใต้ มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีสภาพเป็นป่าโปร่ง ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้เกิดสภาพป่าเสื่อมโทรม ตอนกลางมีลักษณะเป็นที่ราบ ได้แก่ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อจังหวัดจันทบุรี ทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นที่ราบถึงที่ราบสูง และมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ทำไร่ ทำนา และทางด้านทิศตะวันออก นับตั้งแต่อำเภอวัฒนานคร มีลักษณะเป็นสันปันน้ำและพื้นที่ลาดไปทางอำเภอเมืองสระแก้วและอำเภออรัญประเทศ เข้าเขตประเทศกัมพูชา
ลำคลองสายสำคัญมีดังนี้
จังหวัดสระแก้วมีอุทยานแห่งชาติทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งทั้งคู่ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 27.5-28.78 องศาเซลเซียส
การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 59 ตำบล 731 หมู่บ้าน
จังหวัดสระแก้วเป็นศูนย์รวมของคนหลายเชื้อชาติซึ่งอพยพเข้ามาพำนักอาศัยในจังหวัด
ชาวเขมรอพยพเข้ามาในสระแก้ว เนื่องจากเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง อพยพชาวเขมรให้เข้ามาในฝั่งไทยภายหลังเหตุการณ์ที่ไทยเข้าปกครองกัมพูชาและจัดตั้งมณฑลบูรพาขึ้น แล้วถูกฝรั่งเศสยึดกัมพูชารวมทั้งมณฑลบูรพาคืนไปได้ นอกจากนี้เมื่อเกิดสงครามเวียดนามและสงครามกัมพูชาขึ้น ก็มีการอพยพชาวกัมพูชาเข้ามาในบริเวณชายแดนฝั่งไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตอำเภออรัญประเทศ
ชาวเวียดนามหรือญวนอพยพมายังจังหวัดสระแก้ว เพื่อหนีภัยสงครามเวียดนามในยุคที่เวียดนามใต้แตก โดยเดินทางผ่านประเทศกัมพูชาเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภออรัญประเทศ
ชาวลาวมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มไทยโยนกหรือลาวพุงดำ เป็นกลุ่มล้านนาเดิม อาศัยอยู่ที่อำเภอวังน้ำเย็น รวมทั้งชาวญ้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่สิบสองปันนา แล้วไปตั้งรกรากที่แขวงไชยบุรีของลาว ต่อมาถูกทัพไทยกวาดต้อนลงมาที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยบางส่วนได้อพยพต่อมายังอำเภออรัญประเทศ นอกจากนี้ยังมีชาวอีสานอพยพเข้ามาประกอบอาชีพในเกือบทุกอำเภอของจังหวัดสระแก้ว
|
ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ
|
ด้านการสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว ประกอบไปด้วย
การขนส่งทางถนน จังหวัดสระแก้วมีถนนสำคัญหลายสาย ซึ่งเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ถนนสุวรรณศร เชื่อมต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 เชื่อมต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 เชื่อมต่อกับจังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง โดยเส้นทางส่วนใหญ่จะผ่านอำเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่การค้าที่สำคัญ
การขนส่งทางราง มีทางรถไฟสายตะวันออกพาดผ่าน โดยขบวนรถที่ให้บริการมีเฉพาะรถธรรมดาเท่านั้น เส้นทางสายนี้ไปเชื่อมต่อกับสายปอยเปตของกัมพูชาที่สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก โดยได้มีพิธีเปิดเดินรถระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562
สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในจังหวัดสระแก้วเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ มีร่องรอยอารยธรรมโบราณปรากฏอยู่ในรูปของปราสาทหิน แหล่งหินตัด และซากสิ่งก่อสร้าง กรมศิลปากรสำรวจพบปราสาทขอมในจังหวัดสระแก้วมากถึง 40 แห่ง ตั้งเรียงรายอยู่บนเส้นทางผ่านช่องเขา หันไปทางทิศตะวันออก (หันหน้าเข้าหานครวัด) จากหลักฐาน พบว่าปราสาทเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้คนจากสองฝั่งภูเขาที่ไร้เส้นเขตแดนในอดีต และตัวปราสาทยังเป็นศูนย์กลางของชุมชนโบราณอีกด้วย
ปราสาทหินที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่
อุทยานแห่งชาติที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่
การท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา
โครงการในมูลนิธิชัยพัฒนา
อ่างเก็บน้ำ/สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การท่องเที่ยววัด/การกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
การท่องเที่ยวแนวผจญภัย (Adventure)
การแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) ประจำ พ.ศ. 2555
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.