Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขาฉกรรจ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้ว เป็นที่ตั้งของเขาฉกรรจ์ เป็นจุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมัยที่ทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ได้ทรงรวบรวมคนไทยจากชุมนุมต่างๆ เพื่อกอบกู้เอกราชตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้ทรงกระทำพิธี ฉอ-กัณฑ์ และกอบกู้เอกราชสำเร็จ และเคยเป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปราจีนบุรี ภายหลังได้แยกพื้นที่การปกครองออกเป็นอำเภอวังน้ำเย็น[1][2]ทั้งหมด อำเภอวังสมบูรณ์[1]ทั้งหมด
อำเภอเขาฉกรรจ์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khao Chakan |
คำขวัญ: เขาหินแกร่ง แหล่งอารยธรรม ถ้ำเขาทะลุ กรุโครงกระดูก เพาะปลูกพืชไร่ ลิงไพรนับหมื่น ค้างคาวตื่นนับล้าน | |
แผนที่จังหวัดสระแก้ว เน้นอำเภอเขาฉกรรจ์ | |
พิกัด: 13°39′6″N 102°5′48″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระแก้ว |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 374.31 ตร.กม. (144.52 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 55,899 คน |
• ความหนาแน่น | 149.34 คน/ตร.กม. (386.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 27000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2707 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขาฉกรรจ์ หมู่ที่ 6 ถนนเขาฉกรรจ์-หนองใหญ่ ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว 27000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอเขาฉกรรจ์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
เดิมอำเภอเขาฉกกรรจ์เป็นส่วนหนึ่งของตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี เนื่องจากพื้นที่ตำบลเขาฉกรรจ์มีพื้นที่กว่า 1,082.8 ตารางกิโลเมตร ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลเขาฉกรรจ์ ได้แก่ พื้นที่หมู่ 8–9, 16–17 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลวังน้ำเย็น พื้นที่หมู่ 12, 18–19 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลวังสมบูรณ์ กับพื้นที่หมู่ 5, 13–14 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลตาหลังใน[1] และย้าย 3 ตำบลที่แยกขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอวังน้ำเย็นในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน[2][3]
ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2526 ได้ตั้งตำบลหนองหว้า โดยแยกพื้นที่หมู่ 4, 7–8, 10–11, 13–14 (ในขณะนั้น) ของตำบลเขาฉกรรจ์[4] และแยกพื้นที่หมู่ 1, 4, 7–8, 10, 17–19 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็นตำบลพระเพลิง ในปี พ.ศ. 2527[5] ในปี พ.ศ. 2536 ทางราชการยังเห็นว่าตำบลเขาฉกรรจ์มีพื้นที่กว้างใหญ่ จึงแยกพื้นที่หมู่ 1–2, 4–5, 13–15, 17–18 (ในขณะนั้น) รวม 9 หมู่บ้านตั้งขึ้นเป็นตำบลเขาสามสิบ[6] ตำบลเขาฉกรรจ์จึงเหลือพื้นที่การปกครอง 9 หมู่บ้าน
ต่อมาจังหวัดปราจีนบุรีได้แยกพื้นที่อำเภอสระแก้วที่เป็นสระน้ำโบราณอยู่ 2 สระ ได้แก่ "สระแก้ว" และ "สระขวัญ" ซึ่งตามประวัติของจังหวัดสระแก้ว สระน้ำทั้งสองนี้ถือว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ในอดีต เนื่องจากได้นำน้ำจากสระไปใช้ในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำทั้งสองสระนี้เรียกกันติดปากว่า สระแก้ว-สระขวัญ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระจายอํานาจมายังส่วนภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในด้านการปกครอง การให้บริการของรัฐ การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน การส่งเสริมให้ท้องที่เจริญยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อความมั่นคงของชาติ ประกอบกับจังหวัดปราจีนบุรีมีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก จึงเห็นสมควรแยกอําเภอต่าง ๆ บางอําเภอ ตั้งขึ้นเป็นจังหวัด จึงแยกอำเภอสระแก้ว อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอตาพระยา อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น ตั้งเป็น จังหวัดสระแก้ว[7] เขาฉกรรจ์จึงมีฐานะเป็นตำบลในจังหวัดสระแก้ว
ในปี พ.ศ. 2537 ราษฎรในพื้นที่ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ให้ตั้งกิ่งอำเภอที่ตำบลเขาฉกรรจ์ โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้ง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาฉกรรจ์ ตำบลหนองหว้า ตำบลพระเพลิง และตำบลเขาสามสิบ เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร ห่างไกลจากตัวอำเภอ จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอเมืองสระแก้ว รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย และเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 จึงตั้งกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์[8] ที่มาของชื่ออำเภอมาจากเขาฉกรรจ์ เป็นจุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรวบรวมคนไทยจากชุมนุมต่างๆ เพื่อกอบกู้เอกราชตอนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ได้ทรงกระทำพิธี ฉอ-กัณฑ์ และกอบกู้เอกราชสำเร็จ และปี พ.ศ. 2540 หลังจากตั้งเป็นกิ่งอำเภอเพียง 2 ปี ก็ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเขาฉกรรจ์[9] เนื่องจากพื้นที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก
อำเภอเขาฉกรรจ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 71 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[10] |
---|---|---|---|---|
1. | เขาฉกรรจ์ | Khao Chakan | 11 |
8,903 |
2. | หนองหว้า | Nong Wa | 28 |
22,484 |
3. | พระเพลิง | Phra Phloeng | 19 |
16,154 |
4. | เขาสามสิบ | Khao Sam Sip | 13 |
8,402 |
ท้องที่อำเภอเขาฉกรรจ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.