จังหวัดพิจิตร
จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิจิตร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,531 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 539,374 คน จังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำน่านและแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองพิจิตรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน
จังหวัดพิจิตร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Phichit |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพิจิตรเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ธนียา นัยพินิจ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 4,531.013 ตร.กม. (1,749.434 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 46 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 521,907 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 49 |
• ความหนาแน่น | 115.18 คน/ตร.กม. (298.3 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 41 |
รหัส ISO 3166 | TH-66 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | บุนนาค |
• ดอกไม้ | บัวหลวง |
• สัตว์น้ำ | จระเข้น้ำจืด |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดพิจิตร ถนนพิจิตร-ตะพานหิน ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร 66000 |
• โทรศัพท์ | 0 5661 1318 |
• โทรสาร | 0 5661 1318 |
เว็บไซต์ | http://www.phichit.go.th/ |
พิจิตร เดิมสะกดว่า พิจิตร์[3] มีความหมายว่า "(เมือง) งาม" พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆะบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้างเมืองพิจิตร แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ นอกจากนี้ เมืองพิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พระเจ้าเสือ)
ในสมัยอยุธยา พิจิตรเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีตำแหน่งเจ้าเมืองปรากฏตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนาทหารหัวเมืองว่า ออกญาเทพาธิบดีศรีรณรงค์ฤๅไชยอภัยพิรียภาหะ ศักดินา 5,000 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ระดับสูง ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีหัวเมืองชั้นตรีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา จึงนับว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองที่ค่อนข้างจะมีความสำคัญสูง จนตำแหน่งเจ้าเมืองมีการตราไว้ในพระไอยการฯซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงตราไว้
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่น ๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศเหนือประมาณ 350 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตอนกลางและค่อยสูงขึ้นทางทิศตะวันออกและตะวันตกมีแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านไหลผ่านจากเหนือจรดใต้ มีบึงสีไฟ และบึง หนอง คลอง อีกจำนวนมาก สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส ต่ำสุดโดยประมาณ 14.4 องศาเซลเซียส สูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 911.3 มิลลิเมตร สูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นภาคการผลิตหลัก รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าส่ง การค้าปลีก และการบริการ ผลผลิตสำคัญได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเขียว และการประมง
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 89 ตำบล 888 หมู่บ้าน
จังหวัดพิจิตรมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 102 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองตะพานหิน เทศบาลเมืองบางมูลนาก และเทศบาลเมืองพิจิตร, เทศบาลตำบล 25 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 75 แห่ง[4]
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระยาเทพาธิบดี (พุ่ม) | ไม่ระบุ ถึง พ.ศ. 2420 |
2 | หลวงธรเณณทร์ (แจ่ม) | พ.ศ. 2420 ถึง ไม่ระบุ |
3 | เจ้าพระยาศรีวิชัย | ไม่ระบุ |
4 | พระยาอุตรกิจพิจารณ์ | ไม่ระบุ |
5 | พระยาราชฤทธานนท์ | ไม่ระบุ |
6 | พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์) | ไม่ระบุ |
7 | พระยานิกรกิตติสาร | ไม่ระบุ |
8 | พระยาศรีสุริยราชวราภัย (จร รัตนบิณฑะ) | พ.ศ. 2445 ถึง พ.ศ. 2450 |
9 | พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ดิศ นามะสนธิ) | พ.ศ. 2450 ถึง พ.ศ. 2454 |
10 | พระยาศรีสิทธิรักษ์ (ทิพย์ โรจนประดิษฐ์) | พ.ศ. 2454 ถึง พ.ศ. 2462 |
11 | พระยาสุรเทพภักดี (พร้อม ณ นคร) | พ.ศ. 2462 ถึง พ.ศ. 2466 |
12 | พระยาวิฑูรธุระการ (เพิ่ม นิลอุบล) | พ.ศ. 2466 ถึง พ.ศ. 2470 |
13 | หม่อมเจ้านิสากร ศรีธวัช | พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2471 |
14 | พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร) | พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2474 |
15 | พระอนุบาลสกลเขต (สัน มหาสันทนะ) | พ.ศ. 2474 ถึง พ.ศ. 2476 |
16 | พระอนุมานสารกรรม (โต่ง สรัคคานนท์) | พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2479 |
17 | หลวงนรัตถรักษา (ชื่น วิจิตรเนตร) | พ.ศ. 2479 ถึง พ.ศ. 2482 |
18 | ขุนบริรักษ์บทวลัญช์ (ชุ่ม เธียรพงศ์) | พ.ศ. 2482 ถึง พ.ศ. 2485 |
19 | นายจรูญ คชภูมิ | พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2487 |
20 | พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์ (ชุบ ศรลัมภ์) | พ.ศ. 2487 ถึง พ.ศ. 2489 |
21 | พระราชญาติรักษา (ประกอบ บุญนาค) | พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2490 |
22 | นายปรง พะหูชนม์ | พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2495 |
23 | นายเจริญ ภมรบุตร | พ.ศ. 2495 ถึง พ.ศ. 2497 |
24 | นายเยียน โพธิสุวรรณ | พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2501 |
25 | นายคำรณ สังขกร | พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2505 |
26 | นายเที่ยง เฉลิมช่วง | พ.ศ. 2505 ถึง พ.ศ. 2507 |
27 | นายพูลสวัสดิ์ กำลังงาม | พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2508 |
28 | นายแสวง ศรีมาเสริม | พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2511 |
29 | นายอรุณ นาถะเดชะ | พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2515 |
30 | นายสมบูรณ์ เจริญจิตร | พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2515 |
31 | นายสิทธิเดช นรัตถรักษา | พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2517 |
32 | นายไสว ศิริมงคล | พ.ศ. 2517 ถึง พ.ศ. 2519 |
33 | นายประสิทธิ์ โกมลมาลย์ | พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2520 |
34 | นายชูวงศ์ ฉายะบุตร | พ.ศ. 2520 ถึง พ.ศ. 2523 |
35 | นายวัชระ สิงควิบูลย์ | พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2524 |
36 | นายศรีพงษ์ สระวาสี | พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2528 |
37 | นายธวัชชัย สมสมาน | พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2532 |
38 | นายธวัช มกรพงษ์ | พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2533 |
39 | นายสุพงษ์ ศรลัมภ์ | พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2535 |
40 | นายดิเรก อุทัยผล | พ.ศ. 2535 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2539 |
41 | นายสันติ เกรียงไกรสุข | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ถึง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2540 |
42 | นายสุนทร ริ้วเหลือง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2541 |
43 | นายโกเมศ แดงทองดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2542 |
44 | นายประสาท พงษ์ศิวาภัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2545 |
45 | นายสุวัฒน์ ภิญโญเศรษฐ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2546 |
46 | นายพรเทพ พิมลเสถียร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548 |
47 | นายพินิจ พิชยกัลป์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ถึง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 |
48 | นายปรีชา เรืองจันทร์ | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ถึง 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 |
49 | นายสมชัย หทยะตันติ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 |
50 | นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555 |
51 | นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
52 | นายสุรชัย ขันอาสา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 |
53 | นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
54 | นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561 |
55 | นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 |
56 | นายสิริรัฐ ชุมอุปการ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 |
57 | นายรังสรรค์ ตันเจริญ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 |
58 | นายไพบูลย์ ณะบุตรจอม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
59 | นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2566 |
60 | นายอดิเทพ กมลเวชช์ | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 |
61 | นางสาวธนียา นัยพินิจ | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ถึง ปัจจุบัน |
การขนส่งในจังหวัดพิจิตรมีทั้งทางถนนและทางราง ทางหลวงสำคัญในจังหวัดในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมต่อจากจังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดพิจิตร ไปยังจังหวัดพิษณุโลก ส่วนในแนวตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 ซึ่งเป็นทางหลวงที่เชื่อมต่อไปจังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 113 ซึ่งเชื่อมต่อจากตัวเมืองไปยังอำเภอตะพานหิน และไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์
นอกจากทางถนนแล้ว จังหวัดพิจิตรยังมีทางรถไฟสายเหนือผ่านอำเภอบางมูลนาก อำเภอตะพานหิน และอำเภอเมืองพิจิตร โดยมีสถานีรถไฟ 10 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟวังกร่าง บางมูลนาก หอไกร ดงตะขบ ตะพานหิน ห้วยเกตุ หัวดง วังกรด พิจิตร และสถานีรถไฟท่าฬ่อ
จังหวัดพิจิตรมีการแข่งเรือประเพณีมาเป็นเวลานานแล้วเพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้าจัดงานปิดทองไหว้พระแล้วก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย มักจัดกันในฤดูน้ำหลาก ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์ต้นเดือนกันยายนของทุกปี ในงานจะมีการแข่งเรือประเพณีและการประกวดขบวนแห่เรือต่าง ๆ ในแม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวงมีการจัดกิจจกรรมภายในงานที่น่าสนในมากมาย
การแข่งเรือยาวของหวัดท่าหลวงเริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณพระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 ได้กำหนดงานจัดงานแข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วัน ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่านลดลงเร็วเกินไป ไม่เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัดแข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาวได้จัดนำผ้าห่มหลวงพ่อเพชรมอบให้เป็นรางวัลสำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน
เป็นประเพณีสำคัญของชาวบ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน ซึ่งเป็นชาวไทยพวน ซึ่งถือปฏิบัติต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน จัดตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำและ 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อแสดง ความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพรวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์และเล่นกีฬาพื้นบ้าน
ตามตำนานเล่าว่าในสมัยโบราณ พิจิตรเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เวลามีศึกสงคราม ก็มักจะมีการเกณฑ์ชายฉกรรจ์ชาวพิจิตรไปรบ และนักรบจากเมืองพิจิตรนี้มีความกล้าหาญอย่างยิ่ง ก็มีผู้สงสัยว่าทำไมนักรบเหล่านี้จึงกล้าหาญ ก็ปรากฏว่า ชายฉกรรจ์เหล่านี้ต่างมีพระเครื่อง ที่เป็นวัตถุมงคลติดตัวไปทุกคน และพระเครื่องเหล่านี้ก็แปลกกว่าที่อื่น ๆ คือตรงเศียรพระจะเอียงไม่ตรง เข้าใจว่าพิมพ์ที่นำมาใช้หล่อพระนั้นจะทำไม่ตรง แต่ภายหลังก็เป็นที่นิยมกันว่า พระเครื่องของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่ทำขึ้นในเมืองพิจิตรในสมัยต่อมามักจะทำเกศให้คด เป็นรูปพิมพ์นิยม จึงเรียกกันติดปากว่า พิจิตรเกศคด
ชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตร
แม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำาหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สนบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง คือหัวอยู่ฝั่งนี้ หางอยู่ฝั่งโน้น เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.