อำเภอบางมูลนาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร เดิมมีพื้นที่กว่า 2,441.60 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอทับคล้อ[1] อำเภอดงเจริญ[2][3] พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอตะพานหิน[4] ในจังหวัดพิจิตร พื้นที่ของอำเภอชนแดนทั้งหมด[5][6] จังหวัดเพชรบูรณ์ บางส่วนของอำเภอชุมแสง[7] บางส่วนของอำเภอหนองบัว[7] จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 สุขาภิบาลท้องที่ในอดีต (โพธาราม, บ้านโป่ง, ชุมแสง, บางมูลนาก และบ้านหมี่) ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอบางมูลนาก, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอบางมูลนาก |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Mun Nak |
---|
พิพิธภัณฑ์ชาวบางมูลนาก |
คำขวัญ: ปลายอขึ้นชื่อ เลื่องลือมะม่วงแผ่น ดินแดนหลวงพ่อหิน ถิ่นข้าวขาวกอเดียว |
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอบางมูลนาก |
พิกัด: 16°1′42″N 100°22′42″E |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | พิจิตร |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 354.94 ตร.กม. (137.04 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 44,189 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 124.49 คน/ตร.กม. (322.4 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 66120 (ไปรษณีย์บางมูลนาก - เฉพาะตำบลเนินมะกอก ตำบลบางไผ่ ตำบลบางมูลนาก (เทศบาล) ตำบลภูมิ ตำบลลำประดา ตำบลวังกรด ตำบลวังสำโรง ตำบลห้วยเขน และตำบลหอไกร), 66210 (ไปรษณีย์วังตะกู - เฉพาะตำบลวังตะกู รวมไปถึงตำบลวังงิ้ว ตำบลวังงิ้วใต้ ตำบลสำนักขุนเณร ตำบลห้วยพุก และตำบลห้วยร่วม ในเขตอำเภอดงเจริญ) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 6605 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางมูลนาก ถนนประเทืองถิ่น ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 66120 |
---|
|
ปิด
อำเภอบางมูลนากมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
อำเภอบางมูลนากในอดีตเคยเป็นเมืองภูมิมาก่อน โดยมีที่ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ จากคำบอกเล่าได้ความว่า เมืองภูมินี้มีพระธรรมยาเป็นเจ้าเมืองแต่ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าเมืองมาตั้งแต่สมัยใด ปัจจุบันมีผู้สร้างศาลพระธรรมยาขึ้นที่วัดหนองเต่า ตำบลภูมิ ชาวบ้านนับถือกันมาก หลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเมืองภูมิก็คือ ใบบอกเมืองพิจิตร พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 แผ่นที่ 12 วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2436 ได้ความต้องตรงกันว่าเมืองภูมิเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิจิตรและผู้ว่าราชการเมืองชื่อพระณรงค์เรืองนาช
ใน พ.ศ. 2446 เมืองพิจิตรแบ่งเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (ท่าหลวง) อำเภอบางคลาน และอำเภอเมืองภูมิ สันนิษฐานว่าที่ว่าการอำเภอเมืองภูมินี้ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ ต่อมา พ.ศ. 2450 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกเหนือวัดบางมูลนาก แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอภูมิอย่างเดิม จนกระทั่งวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศใช้ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งว่าการอำเภอ ซึ่งที่ว่าอำเภอเมืองภูมิตั้งอยู่ที่ตำบลบางมูลนาก จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางมูลนาก และมาตั้งถิ่นฐานใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านกระทั่งปัจจุบัน โดย"บางมูลนาก" เดิมเรียกว่า "บางขี้นาก" เพราะเดิมที่คลองบุษบง (เหนือตลาดบางมูลนาก) มีนากชุกชุมและได้ถ่ายมูลไว้เกลื่อนกลาดทั่งบริเวณนั้น จึงเรียกว่า "บางขี้นาก" ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็น "บางมูลนาก"
- วันที่ 17 มกราคม 2460 จัดตั้งสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางมูลนาก[8]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอภูมิ จังหวัดพิจิตร มณฑลพิษณุโลก เป็น อำเภอบางมูลนาก[9]
- วันที่ 6 กันยายน 2468 ขยายเขตสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก[10][11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 22 มีนาคม 2478 ตั้งตำบลทับคล้อ แยกออกจากตำบลท้ายทุ่ง[1]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะท้องถิ่นสุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก ให้เป็น เทศบาลเมืองบางมูลนาก[12]
- วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[4] ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองเต่า อำเภอบางมูลนาก เป็น ตำบลภูมิ[13]
- วันที่ 25 มีนาคม 2482 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบางมูลนาก กับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร โดยโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง ของอำเภอบางมูลนาก ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร[14]
- วันที่ 8 เมษายน 2483 ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก เป็น อำเภอตะพานหิน
- วันที่ 7 ตุลาคม 2484 ตั้งตำบลวังงิ้ว แยกออกจากตำบลวังตะกู และตำบลหนองกลับ[15]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลห้วยเขน แยกออกจากตำบลวังกรด[16]
- วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองกลับ ของอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และโอนพื้นที่หมู่ 1,2 และ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[7]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ ในท้องที่ตำบลภูมิ[17]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลห้วยพุก แยกออกจากตำบลห้วยร่วม[18]
- วันที่ 15 พฤศจิกายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลวังตะกู ในท้องที่บางส่วนของตำบลวังตะกู[19] และจัดตั้งสุขาภิบาลบางไผ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางไผ่[20]
- วันที่ 21 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลสำนักขุนเณร แยกออกจากตำบลวังงิ้ว[21]
- วันที่ 4 ธันวาคม 2522 ตั้งตำบลลำประดา แยกออกจากตำบลภูมิ[22]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2525 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านสามแยก และหมู่ 13 บ้านห้วยหลัว (ในขณะนั้น) ของตำบลบางไผ่ ไปขึ้นกับตำบลลำประดา และจัดตั้งเป็นหมู่ 6 บ้านสามแยก และหมู่ 7 บ้านห้วยหลัว ของตำบลลำประดา[23]
- วันที่ 18 ตุลาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ 5–6 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยเขน ไปตั้งเป็นหมู่ 8–9 ของตำบลลำประดา[24]
- วันที่ 3 มิถุนายน 2529 จัดตั้งสุขาภิบาลสำนักขุนเณร ในท้องที่หมู่ 1 บ้านสำนักขุนเณร,บ้านห้วยแห้ง หมู่ 2 บ้านไทรย้อย และหมู่ 4 บ้านกุดระกำ ตำบลสำนักขุนเณร[25]
- วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลวังงิ้วใต้ แยกออกจากตำบลวังงิ้ว[26]
- วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลวังงิ้วใต้ ตำบลวังงิ้ว ตำบลห้วยร่วม ตำบลห้วยพุก และตำบลสำนักขุนเณร อำเภอบางมูลนาก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดงเจริญ[2] ขึ้นกับอำเภอบางมูลนาก
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลวังตะกู สุขาภิบาลบางไผ่ และสุขาภิบาลสำนักขุนเณร เป็นเทศบาลตำบลวังตะกู เทศบาลตำบลบางไผ่ และเทศบาลตำบลสำนักขุนเณร ตามลำดับ[27]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอดงเจริญ อำเภอบางมูลนาก เป็น อำเภอดงเจริญ[3]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 แยกหมู่บ้านไดปลาดุก หมู่ 2 ตำบลวังสำโรง จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก 1 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านสายห้วย โดยตั้งเป็นหมู่ 8 ตำบลวังสำโรง[28]
มีทางรถไฟสายเหนือตัดผ่านพื้นที่ โดยอำเภอบางมูลนากมีสถานีรถไฟทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่
- สถานีรถไฟวังกร่าง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4,9 บ้านวังกร่าง และหมู่ 12 บ้านวังกร่างใต้ ตำบลเนินมะกอก เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 290.24 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ กา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 8 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.) และขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
- สถานีรถไฟบางมูลนาก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก ตำบลบางมูลนาก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 297.03 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ นา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 14 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 102 (ชม.-กท.), ขบวนรถเร็ว 107/108 (กท.–ดช.–กท.), ขบวนรถเร็ว 109 (กท.-ชม.), ขบวนรถเร็ว 111/112 (กท.–ดช.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.),ขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
- สถานีรถไฟหอไกร ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 บ้านหอไกร ตำบลหอไกร เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 303.50 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ ไก. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 9 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถเร็ว 102 (ชม.-กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.),ขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)
- สถานีรถไฟดงตะขบ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านสถานีดงตะขบ ตำบลบางไผ่ เป็นสถานีรถไฟชั้น 3 ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 309.87 (จากสถานีรถไฟกรุงเทพ) ใช้ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟแบบไฟสีสามท่า (Three Aspect) ใช้ระบบบังคับประแจแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยรีเลย์ (All Relay Interlocking) ตัวย่อสถานี คือ กา. มีขบวนรถให้บริการทั้งหมด 8 ขบวน ได้แก่ ขบวนรถท้องถิ่น 201/202 (กท.–พล.–กท.), ขบวนรถธรรมดา 211/212 (กท.–ตห.–กท.), ขบวนรถท้องถิ่น 401/402 (ลบ.–พล.–ลบ.) และขบวนรถท้องถิ่น 407/408 (นว.–ชม.–นว.)