คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตอนบนของภาคกลาง หรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคเหนือตอนล่าง จึงได้รับสมญานามว่าเป็น "ประตูสู่ภาคเหนือ" มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี, ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก
Remove ads
Remove ads
ประวัติศาสตร์
สรุป
มุมมอง
![]() |
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมืองนครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่าเมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำศึกสงครามตั้งแต่สมัยสุโขทัย, กรุงศรีอยุธยา, ธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนเป็นนครสวรรค์ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันติดปากว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่านครสวรรค์เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ
เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ ปัจจุบันอยู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานใน ตำนานมูลศาสนา ว่า พระญาณคัมภีร์ ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้ [3]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค นครสวรรค์ได้เป็นที่ตั้งมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 มณฑลที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438 ในการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ ได้รวมเอาหัวเมืองทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน 8 เมืองได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ สรรคบุรี กำแพงเพชร และตาก โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โลหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก ตั้งที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ การจัดรูปปกครองในลักษณะมณฑลได้ดำเนินการ มาจนถึง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุบมณฑลและระเบียบเทศาภิบาลของเก่าไปให้คงไว้แต่หัวเมืองและอำเภอ โดยให้ทุกเมืองมีฐานะเท่าเทียมกัน ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อเจ้ากระทรวง และรับคำสั่งจากเจ้ากระทรวงโดยตรง
เดิมทีเมืองพระบางหรือนครสวรรรค์ตั้งอยู่หลังตลาดปากน้ำโพ บริเวณวัดสี่เข่า หรือ วัดวรนาถบรรพต [4] [5] ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากปากน้ำโพมาข้างใต้ประมาณ 200 เส้น [6][7] หลักฐานแผนที่ของ ปิแอร์ ฟาน เดอ อา นักแผนที่ชาวฮอลันดา ระบุว่าในช่วงอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครสวรรค์ได้ตั้งอยู่บนบริเวณพื้นที่ทางใต้ [4] บริเวณบ้านไผ่ล้อม ใต้มณฑลทหารบกที่ 4 [8] ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการย้ายเมืองมาบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน โดยคนพื้นที่สมัยนั้นเรียกว่า “เมืองชอนตะวัน” เพราะตื่นขึ้นมาตะวันมันจะแยงตา [9] ต่อมาเมื่อพื้นที่ของเมืองปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์ขยายตัวขึ้น จึงถูกควบรวมเข้าเป็นพื้นที่การปกครองเดียวกัน เรียกว่า อำเภอเมืองนครสวรรค์ โดยที่ว่าการอำเภอเมืองนครสวรรค์ ไปตั้งที่ปากน้ำโพ ส่วนศาลากลางจังหวัดตั้งที่เมืองนครสวรรค์เดิม[4]
Remove ads
ภูมิศาสตร์
สรุป
มุมมอง
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการไหลบรรจบของแม่น้ำสองสายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ
ภูมิอากาศ
จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ในเขตร้อนแบบมรสุม
Remove ads
หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน
โครงสร้างพื้นฐาน
สรุป
มุมมอง
โรงพยาบาล
อ.เมืองนครสวรรค์
โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
- โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (เขาเขียว)
- โรงพยาบาลเมืองสี่แคว (ในเครือโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์)
- โรงพยาบาลแม่และเด็ก (ศูนย์อนามัยที่ 3)
- โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
โรงพยาบาลเอกชน
- โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 1
- โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 2
- โรงพยาบาลศรีสวรรค์ (ศูนย์หัวใจศรีสวรรค์ โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ)
- โรงพยาบาลร่มฉัตร
- โรงพยาบาลรวมแพทย์
- โรงพยาบาลสินแพทย์ (โครงการก่อสร้าง)
อ.พยุหะคีรี
โรงพยาบาลรัฐ
- ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
- โรงพยาบาลพยุหะคีรี
อ.ตาคลี
โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลตาคลี
- โรงพยาบาลกองบิน 4
โรงพยาบาลเอกชน
- โรงพยาบาลแพทย์ช่องแค
อ.ลาดยาว
โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลลาดยาว
อ.เก้าเลี้ยว
โรงพยาบาลรัฐ
- โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว
การศึกษา
- โรงเรียน
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย
- วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคนิคแม่วงก์
- วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
- วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการตากฟ้า
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิริยาลัยนครสวรรค์
- โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนา จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยภาคกลาง
- มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์[10]
- มหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์ตาคลี อำเภอตาคลี
การขนส่ง
การขนส่งทางถนนในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วยทางหลวงสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อไปยังภาคกลางตอนล่างและภาคเหนือ, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เชื่อมต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดชัยภูมิ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดนครสวรรค์มีระบบขนส่งทางรางเป็นรถไฟทางไกลบนเส้นทางรถไฟสายเหนือของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีสถานีรถไฟ ที่หยุดรถไฟ และป้ายหยุดรถไฟ รวมทั้งสิ้น 19 แห่ง ได้แก่ ป้ายหยุดรถไฟโรงเรียนจันเสน สถานีรถไฟจันเสน ป้ายหยุดรถไฟบ้านกกกว้าว สถานีรถไฟช่องแค ที่หยุดรถไฟทะเลหว้า สถานีรถไฟโพนทอง สถานีรถไฟบ้านตาคลี สถานีรถไฟดงมะกุ สถานีรถไฟหัวหวาย สถานีรถไฟหนองโพ สถานีรถไฟหัวงิ้ว สถานีรถไฟเนินมะกอก สถานีรถไฟเขาทอง สถานีรถไฟนครสวรรค์ สถานีรถไฟปากน้ำโพ สถานีรถไฟบึงบอระเพ็ด สถานีรถไฟทับกฤช สถานีรถไฟคลองปลากด สถานีรถไฟชุมแสง
นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนครสวรรค์[11]
Remove ads
เศรษฐกิจ
จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน, รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรงหรือนาย ทรง องค์ชัยวัฒนะ ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเทศบาลนครที่เจริญเป็นอันดับที่ 13 ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads