Remove ads
จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิษณุโลก เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย[a] มีประชากรในปี พ.ศ. 2561 จำนวน 866,891 คน[2] มีพื้นที่ 10,815.854 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 9 อำเภอ มีเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นเขตเมืองศูนย์กลางของจังหวัดและเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด เป็นจังหวัดเดียวของภาคกลางที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว
จังหวัดพิษณุโลก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Phitsanulok |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลกเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ทวี เสริมภักดีกุล (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 10,815.854 ตร.กม. (4,176.025 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 16 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 841,729 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 27 |
• ความหนาแน่น | 77.82 คน/ตร.กม. (201.6 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 62 |
รหัส ISO 3166 | TH-65 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | นครพระพิษณุโลกสองแคว, สระหลวงสองแคว, สรลวงสองแคว, สองแคว, สองคญี, โอฆะบุรี, จันทบูร, ชัยนาท (ชื่อโบราณ), ไทวยนที, ทวิสาขะนคร, พิดสีโลก |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ปีบ |
• ดอกไม้ | นนทรี |
• สัตว์น้ำ | ปลากดคัง |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 |
• โทรศัพท์ | 0 5525 8947 |
• โทรสาร | 0 5525 8559 |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อของจังหวัดมาจากคำว่า พิษณุ หมายถึง "พระวิษณุ" เทพตามความเชื่อของชาวฮินดู รวมกับคำว่า โลก ทำให้มีความหมายเป็น "โลกแห่งพระวิษณุ" ในสมัยที่ยังปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาล ชื่อของจังหวัดนั้นสะกดว่า พิศณุโลก[5] ชื่อ เมืองพิษณุโลก มาจากเรื่องการสร้างเมืองพิษณุโลกในพงศาวดารเหนือว่าเมืองฝั่งตะวันออกและชื่อ จันทบูร เป็นเมืองฝั่งตะวันตก หรือมาจากแผนที่เก่าบางฉบับสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งเขียนชื่อเมืองสองแควว่า พิดสีโลก ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าชื่อเมืองพิษณุโลกเปลี่ยนมาจากเมืองสองแควสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นไปเสวยราชย์ ณ เมืองพิษณุโลก
ชื่อ เมืองสองแคว เป็นชื่อเก่าแก่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[6]: 5 [7]: 196 พบในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) และศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ ๘ (จารึกวัดเขาสุมนกูฏ) ส่วนชื่อ สรลวงสองแคว โดยคำ "สรลวง" (ไม่ใช่สระหลวง) มาจากคำเขมรว่า "ชฺรลวง" แปลว่า "ลำน้ำ" รวมกันจึงมีความหมายว่า "ลำน้ำสองแคว" หรือ "ลำน้ำสองกระแส" สอดคล้องกับชื่อในภาษาบาลีว่า "ไทวยนทีศรียมนา" แปลว่า "ลำน้ำอันเป็นสิริที่มีสองสาย"[8] ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ เข้าใจว่า "สรลวง" คือคำว่า "สรวง" ที่แปลว่าสวรรค์[9] ในพระราชพงศาวดารพม่าและพงศาวดารไทยใหญ่ พระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ปรากฏชื่อเมืองพิษณุโลกว่า เมืองสองคญี[10][11][12] และพระอิสริยยศ เจ้าฟ้าสรวงคญี คำว่า "คญี" พม่าแปลว่า "มหา" จึงเขียนว่า "เจ้าฟ้ามหาสรวง" กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงดำริอีกว่า "สหายข้าพเจ้าแนะว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้าสองแคว เพราะสองแควเป็นนามเมืองพิศณุโลก ดังปรากฏในตำนานพระแก่นจันทร์"[13] หมายถึง พระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลก[14]
ชื่อ เมืองทวิสาขะนคร และชื่อ เมืองไทวยนที เป็นชื่อเมืองสองแควในภาษาบาลีแปลมาจากภาษามคธในพงศาวดารเหนือมาจากสภาพภูมิศาสตร์เดิมของจังหวัดพิษณุโลกซึ่งพระโพธิรังสีได้นำชื่อเมืองพิษณุโลกไปแปลว่า ทวิสาขะ และแปลชื่อเมืองสรลวงว่า โอฆบุรี พบในสิหิงคนิทาน[6]: 7 [7]: 196 ชื่อ เมืองชัยนาทบุรี พบในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑๒ หลักศิลาจารึกหลักที่ ๙๗ ศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุวรวิหารจังหวัดชัยนาท ลิลิตยวนพ่าย บทที่ ๖๖ และชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่ง ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ชี้หลักฐานให้เห็นจนเป็นที่ยอมรับว่าเมืองชัยนาทบุรีคือชื่อหนึ่งของเมืองพิษณุโลก[15]: 148 [6]: 7 ชื่อ เมืองอกแตก เป็นชื่อเรียกเมืองที่มีแนวลำน้ำไหลผ่านกำแพงเมืองเมืองซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่วัดจุฬามณี (จังหวัดพิษณุโลก) สันนิฐานว่าเดิมเป็นคลองขุดจากแม่น้ำน่านเพื่อชักน้ำเข้าเมือง แต่ภายหลังน้ำเซาะคลองกว้างออกกลายเป็นลำแม่น้ำเป็นเหตุให้แม่น้ำเก่าตื้นเขิน เมืองพิษณุโลกจึงมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นเมืองอกแตก[6]: 8
พบแหล่งโบราณคดีในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ภาพสลักบนหินที่ถ้ำกาและผาขีดเขาภูขัด อำเภอนครไทย และภาพสลักหินที่ผากระดานเลข อำเภอชาติตระการ ซึ่งภาพสลักหินเหล่านี้อยู่ในยุคโลหะมีอายุประมาณสี่พันปีก่อน[16]
จดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวถึงพระเจ้าพนมไชยศิริอพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่นครไทย อาจหมายถึงพระเจ้าชัยศิริแห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสนซึ่งเผชิญกับการรุกรานของอาณาจักรสุธรรมวดีอพยพลงมาทางใต้[17][18] (ตำนานสิงหนวัติกล่าวว่าอพยพไปกำแพงเพชร[19]) แหล่งโบราณคดีนครไทยเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย[17] ในสมัยขอมโบราณมีชุมชนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองพิษณุโลกในปัจจุบันบริเวณวัดจุฬามณีคือเมืองสองแควเดิม พระปรางค์วัดจุฬามณีสร้างขึ้นในสมัยขอม[20] ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาวแห่งเมืองบางยางร่วมมือกับพ่อขุนผาเมืองแห่งเมืองราดขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกไปจากภูมิภาคนำไปสู่การกำเนิดอาณาจักรสุโขทัย สันนิษฐานว่าเมืองบางยางคือเมืองนครไทย[21]
บันทึกเรื่อง ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (Histoire Naturelle et Politique du Royaume de Siam) ของนิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2224–29 รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงเมืองพิษณุโลกว่า :-
"La ſeconde Ville du Royaume s’appelle communément Porſelouc, ou Pet-ſe-lou-louc, ce qui fignifie en langage du Païs Perle, ou Diamant enchaſſé; elle eſt plus Septentrionale que Juthia d’environ cent lieuës, ſon climat eſt plus temperé, & ſon terroir plus fertile : Elle fut bâtie par Chaou Meüang Hâng, qui regnoit environ 250 ans avant Chaou Thông Fondateur de la Capitale ; [...] Cette Ville eſtoit autrefois le fejour ordinaire des Rois de Siam, & on y voit encore aujourd’huy un de leursanciens Palais ; ..."[22]
(คำแปล): "เมืองอันเป็นอันดับสองของราชอาณาจักร เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า พิษโลก (Porselouc) หรือ พิษณุโลก (Pet-se-lou-louc) ซึ่งมีความหมายในภาษาพื้นเมืองว่าไข่มุก หรือ ฝังเพชร อยู่ทางทิศเหนือของยุธยาประมาณ ๑๐๐ ลี้ ภูมิอากาศอบอุ่นปานกลางและพื้นดินอุดมกว่าอยุธยา สร้างขึ้นโดยเจ้าเมืองหาง (Chaou Meüang Hâng) ซึ่งครองราชสมบัติอยู่ราว ๒๕๐ ปี ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะมาสร้างพระนครหลวงขึ้น [...] เมืองนี้แต่ก่อนนี้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระเจ้าแผ่นดิน."[23]: 41–42
— Nicolas Gervaise, Histoire naturelle et politique du Royaume de Siam, 1688. (แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร)
บันทึกของปีแยร์ บรีโก มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงเมืองพิษณุโลก ต่อมาฟร็องซัว-อ็องรี ตูร์แป็งได้นำมาเผยแพร่ ความว่า[24] :-
เมืองพิษณุโลก (Porcelon) ซึ่งชาวโปรตุเกสเรียกเพี้ยนว่า ปอร์ซาลุก (Porsalouc) นั้น แต่ก่อนขึ้นแก่พวกเจ้าที่เป็นทายาทสืบต่อกันมา และในปัจจุบันเราก็ยังชำระคดีในนามเจ้านายเก่าของเมืองนี้และในวังของเขาอันว่า เมืองนี้ ซึ่งมั่นคงด้วยป้อมสิบสี่ป้อมที่สร้างโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสนั้นเป็นเมืองที่ร่ำรวยและค้าขาย เป็นต้นว่า งาช้าง นอแรด หนังสัตว์ป่า น้ำตาล ยาสูบ หัวหอม ขี้ผึ้งและน้ำผึ้ง ที่จังหวัดพิษณุโลก มีคนทำไต้ที่ทำด้วยน้ำมันดินกับน้ำมัน และมีคนทำยางแดง (Gomme rouge) ที่ใช้ทำครั่งประทับตรา (cire d' Eapagne) นอกจากนั้นยังมีคนทำไม้สำหรับสร้างบ้านและย้อมสีมาก พื้นดินเมืองพิษณุโลกผลิตดีบุก และอำพันสีเทาด้วย
เมืองพิษณุโลกเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน ปรากฏชื่อเมือง "สองแคว" ในจารึกวัดศรีชุม "พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีเกิดในนครสรลวงสองแคว"[25] ชื่อเมืองสองแควหมายถึงเมืองซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย ในช่วงต้นสมัยสุโขทัยเมืองสองแควอยู่ในการปกครองของพระยาคำแหงพระรามแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม จนกระทั่งรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเมืองสองแควเข้ามาอยู่ในการปกครองของสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงดังที่ระบุไว้ในจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ในพงศาวดารเหนือระบุว่า "พระเจ้าศรีธรรมปิฎก"หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน พระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างวัดต่างๆขึ้นเป็นจำนวนมากได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) วัดเจดีย์ยอดทอง วัดอรัญญิก และบูรณะวัดวัดราชบูรณะ ทรงให้หล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดาขึ้นประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือวัดใหญ่ พระพุทธชินราชซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุใช้เป็นตราประจำจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทยังทรงสร้างพระราชวังจันทน์[26] เมืองสองแควพัฒนาขึ้นกลายเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรสุโขทัยทางทิศตะวันออก
นอกจากนี้เมืองสองแควยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองชัยนาท"[27]หมายถึงเมืองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านบริเวณพระราชวังจันทน์ ขุนหลวงพะงั่วยกทัพอยุธยาขึ้นมายึดเมืองชัยนาทได้สำเร็จ[28] จนพระมหาธรรมราชาลิไทจำต้องเจรจากับพระเจ้าอู่ทองสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เพื่อขอเมืองชัยนาทคืน ทำให้พระมหาธรรมราชาลิไทต้องเสด็จย้ายมาประทับที่เมืองสองแควหรือเมืองชัยนาทอยู่เป็นเวลาเจ็ดปี[29] พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองสองแคว[29] ทำให้เมืองสองแควกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรสุโขทัย เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) สวรรคตในพ.ศ. 1962 เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยารามและพระยาบาลเมือง สมเด็จพระนครินทราธิราชแห่งอยุธยาเสด็จขึ้นมาไกล่เกลี่ย ให้พระยารามครองเมืองสุโขทัยในขณะที่พระยาบาลเมืองขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสองแคว ทำให้เมืองสองแควแยกตัวจากสุโขทัยและเป็นประเทศราชของอยุธยา เมืองสองแควทวีความสำคัญขึ้นมามากกว่าสุโขทัย
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สวรรคตในพ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระโอรสคือพระราเมศวรซึ่งมีพระราชมารดาเป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปครองเมืองสองแควประทับที่พระราชวังจันทน์ เมื่อพระราเมศวรต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองสองแควจึงได้รวมกับอาณาจักรอยุธยา[30]
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแต่งตั้งให้พระยายุทธิษเฐียรซึ่งเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 เป็น "พระยาสองแคว" เป็นเจ้าเมืองอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา แต่พระยายุทธิษเฐียรคิดตั้งตนขึ้นเป็นพระมหาธรรมราชาจึงหันไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนา นำไปสู่สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถย้ายมาประทับที่เมืองสองแควในพ.ศ. 2006 เมื่อตั้งรับศึกกับล้านนาและทรงผนวชที่วัดจุฬามณีในพ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน[31] สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงรวมเมืองฝั่งตะวันออกและเมืองชัยนาทฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้าด้วยกัน[27]แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว ปรากฏชื่อเมือง "พิษณุโลก" ขึ้นครั้งแรกในลิลิตยวนพ่าย[32]
หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองของอยุธยาในหัวเมืองเหนือ โดยมีพระมหาอุปราชซึ่งเป็นพระราชโอรสทรงครองเมืองและประทับอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตพระเชษฐาพระโอรสเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาพระเชษฐาได้ราชสมบัติอยุธยาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสคือพระไชยราชาให้ครองเมืองพิษณุโลก พระไชยราชายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชขึ้นเป็นสมเด็จพระไชยราชาธิราช จากนั้นไม่มีการตั้งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อขุนพิเรนทรเทพยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชในพ.ศ. 2091 และเชิญสมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพให้เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชปกครองเมืองพิษณุโลก ทำให้เมืองพิษณุโลกมี "พระมหาธรรมราชา" มาปกครองอีกครั้ง พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงสร้างวัดนางพญา
เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่ายกทัพมาประชิดเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2106 พระมหาธรรมราชายอมจำนนต่อพระเจ้าบุเรงนองทำให้พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดกลายเป็นประเทศราชของพม่า สมเด็จพระมหินทราธิราชแห่งอยุธยาทรงร่วมมือกับสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชแห่งล้านช้างร่วมกันยกทัพเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกในแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งพระเจ้าบุเรงนองตั้งให้พระมหาธรรมราชาครองอยุธยา
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงตั้งให้พระโอรสคือสมเด็จพระนเรศวรขึ้นเป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองพิษณุโลกอีกครั้งในพ.ศ. 2114 ประทับที่พระราชวังจันทน์ ตามข้อสันนิษฐานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล[33] ในปีพ.ศ. 2127 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เมืองพิษณุโลกทำให้ "เกิดเหตุอัศจรรย์แม่น้ำซายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นนั้นสามศอก" เมืองพิษณุโลกอาจเสียหายมาก หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงแล้วจึงมีพระราชโองการให้ "เทครัว" กวาดต้อนผู้คนในหัวเมืองเหนือทั้งหมดรวมถึงพิษณุโลกลงมายังภาคกลางตอนล่างเพื่อเตรียมการรับศึกกับพม่า[34] ทำให้เมืองพิษณุโลกกลายเป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาแปดปี จนกระทั่งหลังจากเสร็จสิ้นสงครามยุทธหัตถีแล้วสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงฟื้นฟูเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2136 โดยการแต่งตั้งให้พระชัยบุรี หรือพระยาชัยบูรณ์ เป็นพระยาสุรสีห์ฯ เจ้าเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกเปลี่ยนฐานะจากเมืองของพระมหาอุปราชมาเป็นเมืองชั้นเอกมีขุนนางเป็นเจ้าเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า เจ้าพระยาสุรสีห์พิศมาธิราช ชาติพัทยาธิเบศราธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ หรือ "เจ้าพระยาพิษณุโลกเอกอุ" ศักดินา 10,000 ไร่ เมืองพิษณุโลกหัวเมืองชั้นเอกฝ่ายเหนือของอยุธยาคู่กับเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองเอกฝ่ายใต้
สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จมานมัสการพระพุทธชินราชในพ.ศ. 2146 พร้อมทั้งโปรดฯให้นำทองนพคุณมาปิดทองพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปสำริด เป็นการปิดทององค์พระพุทธชินราชครั้งแรก ในพ.ศ. 2205 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลังจากเสร็จสิ้นศึกเชียงใหม่ทรงนมัสการพระพุทธชินราช และโปรดฯให้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อพ.ศ. 2222 ประดิษฐานไว้ ที่วัดจุฬามณี ในรัชสมัยพระเพทราชามีการปฏิรูปการปกครอง หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมถึงเมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของสมุหนายก ในพ.ศ. 2309 เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่ายกทัพเข้ายึดเมืองสุโขทัย เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นำทัพพิษณุโลกเข้ากอบกู้เมืองสุโขทัย เจ้าฟ้าจีดเสด็จหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยามายึดอำนาจที่เมืองพิษณุโลก[35] ทำให้เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเลิกทัพจากสุโขทัยกลับไปยึดอำนาจคืนจากเจ้าฟ้าจีด และทัพพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาได้โดยไม่ยึดเมืองพิษณุโลก
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าชุมนุมพิษณุโลกมีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์และปากน้ำโพ ใน พ.ศ. 2311 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าพิษณุโลกพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองหลวง[36] รัฐเอกราชแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยามีนามว่า กรุงพระพิศณุโลกย์ราชธานีศรีอยุทธยามหานคร[37] เจ้าพระฝางยกทัพมาตีกรุงพิษณุโลกแต่ไม่แพ้ไม่ชนะกัน[38] เมื่อปลายปีสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาตีชุมนุมพิษณุโลกแต่พ่ายแพ้ต้องยกทัพกลับไปยังกรุงธนบุรี พระเจ้าพิษณุโลกครองกรุงพิษณุโลกได้ 7 วัน[39] หรือ 6 เดือนจึงเสด็จสวรรคต (คาดว่าน่าจะ 6 เดือนมากกว่า[40]) พระอินทร์อากร (จัน) น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกขึ้นเป็นผู้นำชุมนุมพิษณุโลกต่อมา แต่ชุมนุมเจ้าพระฝางเข้ายึดชุมนุมพิษณุโลกประหารชีวิตพระอินทร์อากรและกวาดต้อนทรัพย์สินผู้คนไปยังเมืองสวางคบุรี เมืองพิษณุโลกอยู่ภายใต้การปกครองของชุมนุมเจ้าพระฝางจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยายมราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จในพ.ศ. 2313 ทำให้พิษณุโลกเข้ามาอยู่การปกครองของธนบุรีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแต่งตั้งให้เจ้าพระยายมราช (บุญมา) เป็น "เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชฯ" ปกครองเมืองพิษณุโลก
ใน พ.ศ. 2318 ในขณะที่เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเจ้าพระยาสุรสีหพิษณวาธิราช (บุญมา) ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กำลังทำศึกที่เมืองเชียงแสนนั้น แม่ทัพพม่าอะแซหวุ่นกี้ยกทัพเข้ามาผ่านด่านแม่ละเมาแขวงเมืองตากเข้ารุกรานเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เร่งทัพลงมาป้องกันเมืองพิษณุโลก อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่นานสี่เดือนและตัดเส้นทางเสบียงทำให้เมืองพิษณุโลกขาดแคลนอาหาร อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระเจ้าพระยาจักรีที่เนินดินซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันอยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลกเดิมซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ[41] เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์พิจารณาว่าศึกครั้งนี้ไม่สามารถต้านได้จึงฝ่าวงล้อมของศัตรูออกไปตั้งมั่นที่เพชรบูรณ์ อะแซหวุ่นกี้นำทัพพม่าเข้าปล้นสะดมเผาทำลายเมืองพิษณุโลก เมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงโดยส่วนใหญ่ ทำลายพระราชวังจันทน์ เหลือเพียงพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งไม่ถูกทำลาย
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อพ.ศ. 2325 จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้ "หลวงนรา"[42] เป็น "พระยาพิษณุโลก" ในพ.ศ. 2328 สงครามเก้าทัพ แม่ทัพพม่าเนเมียวสีหซุยยกทัพจากลำปางลงมารุกรานหัวเมืองเหนือ หลวงนราพระยาพิษณุโลกเห็นว่าข้าศึกมีกำลังมากฝ่ายหัวเมืองเหนือมีกำลังน้อยจากการสูญเสียกำลังพลไปมากในสงครามอะแซหวุ่นกี้ จึงสละเมืองพิษณุโลกหลบหนีเข้าป่าไม่ได้ต่อสู้ต้านทานการรุกรานของพม่า[42] ทัพพม่าจึงเดินทัพผ่านหัวเมืองเหนือลงไปยังนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกลง[43]เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น เมืองพิษณุโลกซึ่งเผชิญกับศึกสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณยี่สิบปีอยู่ในสภาวะทรุดโทรมและขาดการทำนุบำรุง ในพ.ศ. 2372 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ได้อัญเชิญพระศรีศาสดาไปยังวัดบางอ้อยช้าง[44] (ซึ่งต่อมาพระศรีศาสดาได้ไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องพระพุทธชินราชว่า "...จะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว" มีพระราชดำริอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปเป็นองค์ประธานของวัดเบญจมบพิตร[45] ปรากฏเรื่องเล่ามุขปาฐะว่าในการอัญเชิญพระพุทธชินราชนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถนำพระพุทธชินราชลงแพได้ หรือเมื่อเข็นลงแพแล้วแพหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว[45] จึงไม่สามารถอัญเชิญพระพุทธชินราชลงไปยังกรุงเทพได้และประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกขึ้นในพ.ศ. 2437 โดยมีเมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการปกครองประกอบด้วยห้าเมืองได้แก่เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสุโขทัย เมืองพิจิตร และเมืองสวรรคโลก ต่อมารวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าร่วมด้วย โดยมีเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงคนแรก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสยามมกุฏราชกุมารเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกในพ.ศ. 2450 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมีการตรา"พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476" ขึ้น มณฑลเทศาภิบาลสิ้นสุดลงนำไปสู่การจัดตั้งจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน
ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย[ต้องการอ้างอิง] ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง]
จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคที่แตกต่างกันตามการแบ่งแบบต่าง ๆ หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภา จะจัดอยู่ในภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 377 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปราง อำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการจุดสูงสุดคือภูสอยดาว2,102 เมตร เป็นยอดเขาปันเขตแดนไทย-ลาว พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.3 (97.3) |
38.0 (100.4) |
40.3 (104.5) |
41.8 (107.2) |
42.0 (107.6) |
38.7 (101.7) |
38.4 (101.1) |
36.7 (98.1) |
36.6 (97.9) |
35.3 (95.5) |
35.7 (96.3) |
35.6 (96.1) |
42 (107.6) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) |
33.9 (93) |
35.9 (96.6) |
37.4 (99.3) |
35.6 (96.1) |
33.6 (92.5) |
32.8 (91) |
32.3 (90.1) |
32.3 (90.1) |
32.3 (90.1) |
31.7 (89.1) |
30.9 (87.6) |
33.36 (92.05) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 24.1 (75.4) |
26.7 (80.1) |
29.0 (84.2) |
30.6 (87.1) |
29.6 (85.3) |
28.5 (83.3) |
28.1 (82.6) |
27.8 (82) |
27.8 (82) |
27.6 (81.7) |
26.1 (79) |
24.0 (75.2) |
27.49 (81.49) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.0 (64.4) |
20.8 (69.4) |
23.5 (74.3) |
25.3 (77.5) |
25.2 (77.4) |
24.8 (76.6) |
24.6 (76.3) |
24.5 (76.1) |
24.5 (76.1) |
24.0 (75.2) |
21.6 (70.9) |
18.3 (64.9) |
22.93 (73.27) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 8.9 (48) |
13.2 (55.8) |
12.7 (54.9) |
19.1 (66.4) |
20.4 (68.7) |
21.8 (71.2) |
21.6 (70.9) |
22.2 (72) |
21.5 (70.7) |
17.6 (63.7) |
12.1 (53.8) |
9.4 (48.9) |
8.9 (48) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 7 (0.28) |
12 (0.47) |
29 (1.14) |
51 (2.01) |
188 (7.4) |
183 (7.2) |
190 (7.48) |
257 (10.12) |
241 (9.49) |
157 (6.18) |
31 (1.22) |
6 (0.24) |
1,352 (53.23) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 1 | 2 | 4 | 12 | 13 | 14 | 17 | 15 | 9 | 3 | 1 | 92 |
แหล่งที่มา: NOAA (2504-2533)[46] |
จังหวัดพิษณุโลกแบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน ซึ่งอำเภอทั้ง 9 อำเภอมีดังนี้
ทำเนียบผู้ปกครองเมืองสองแควระหว่างปี พ.ศ. 1792–1981 ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย ในบางช่วงเวลามีฐานะเป็นเมืองหลวง
ลำดับ | พระนาม/ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
1 | พระยาคำแหงพระราม | ไม่ปรากฏ | ปรากฏในจารึกวัดศรีชุม[47] | |
2 | วัตติเดชอำมาตย์ | ไม่ปรากฏ–1905 | ปรากฏในตำนานพระพุทธสิหิงค์[48]และชินกาลมาลีปกรณ์[49] ปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ยึดเมืองสองแควอาจอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1902–1905[47] | |
3 | พระมหาธรรมราชาที่ 1 | 1905–1911 | ปรากฏในตำนานพระพุทธสิหิงค์และชินกาลมาลีปกรณ์ ปีที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จไปประทับที่เมืองสองแควได้รับการสันนิษฐานว่า ควรเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 1904[50] ไทยสากล พระองค์ประทับที่เมืองสองแคว 7 ปี[51] อย่างไรก็ตาม ปีสวรรคตอย่างเป็นทางการของพระองค์คือ พ.ศ. 1911[52] | |
4 | สมเด็จพระมหาธรรมราชา | ไม่ปรากฏ–1946[53][54] | ||
- | พระมหาธรรมราชา | ไม่ปรากฏ–1962 | ข้อเสนอของพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ว่า หลังพระมหาธรรมราชาที่ 2 สวรรคต นามธรรมราชาถูกสถาปนาให้แก่เจ้าเมืองสองแควผู้เป็นอนุชา[47] ปีสวรรคตยึดตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ | |
- | เจ้าสามพระยา | 1962–1967 | ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)[50] โดยอาจจะครองเมืองคนละฝั่งแม่น้ำกับพระมหาธรรมราชาที่ 4[47] ปีที่ได้รับการแต่งตั้งถูกสันนิษฐานโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[47] | |
5 | พระมหาธรรมราชาที่ 4 | 1962–1981 | รัชกาลเจ้าสามพระยา | |
สิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1981) |
ทำเนียบผู้ปกครองเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2127–2310 ขึ้นกับอาณาจักรอยุธยา มีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกอุและหัวเมืองชั้นเอก
ลำดับ | พระนาม/ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
เป็นเมืองร้างจากการเทครัวหัวเมืองเหนือ (พ.ศ. 2127–2136) | ||||
1 | เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระชัยบุรี)[55]: 204 | 2136–ไม่ปรากฏ[56] | รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |
2 | ออกญาพิษณุโลก (ออกญาพระคลัง)[55]: 220 | 2172–2179[55]: 223 | รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[57] (ทรงตั้งพระสหายสนิทที่ร่วมคิดแย่งราชสมบัติเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก) | |
3 | ออกญาพิษณุโลก (ออกญาวัง) | 2179–ไม่ปรากฏ[55]: 223 | ||
4 | เจ้าพระยาจักรี | ไม่มีข้อมูล | รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[58] (โอนเมืองพิษณุโลกไปขึ้นกับเจ้าพระยาจักรี) | |
5 | ออกญาพิษณุโลก | ไม่มีข้อมูล | รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[59] (เจ้าเมืองพิษณุโลกถูกประหารจากการยักยอกรายได้ของหลวง) | |
6 | สมเด็จพระเพทราชา | ไม่ปรากฏ–2231[60] | รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช | |
7 | กรมพระราชวังบวร (หลวงสรศักดิ์) | 2231–2246 | รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา | |
8 | เจ้าพระยาพิษณุโลก (เมฆ) | 2251–2275[61] | รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ | |
9 | เจ้าพระยาสุรสีห์ (หลวงจ่าแสนยากร)[62]: 153 | 2275–2276[63]: 8 | รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ | |
10 | เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) | 2276–2310 | รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ – สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[64] | |
เสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) |
ทำเนียบเจ้าเมืองพิษณุโลกระหว่างปี พ.ศ. 2310–2325 มีฐานะเป็นเมืองอิสระและหัวเมืองชั้นเอกอุ[65][66]: 42
ลำดับ | พระนาม/ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
1 | พระเจ้าพิศณุโลก (เรือง โรจนกุล) | 2311 | ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) | |
2 | พระยาไชยบูรณ์ (จัน) | 2311–2312 | ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) | |
3 | หลวงโกษา (ยัง) | 2312–2313 | ชุมนุมเจ้าพระฝาง | |
4 | เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) | 2313–2324 | หัวเมืองชั้นเอกอุ | |
สิ้นสุดอาณาจักรธนบุรี (พ.ศ. 2325) |
ทำเนียบผู้สำเร็จราชการเมือง สมุหเทศาภิบาล และผู้ว่าราชการจังหวัดระหว่างปี พ.ศ. 2325–ปัจจุบัน
มีฐานะเป็นหัวเมือง ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ. 2325–2437
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
1 | พระยาพิษณุโลก (หลวงนรา) | 2325–2328 | สงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 | |
2 | พระยาพิษณุโลก (พุ่ม) | ไม่มีข้อมูล | สมัยรัชกาลที่ 3[67] | |
3 | พระยาพิษณุโลกาธิบดี (บัว) | 2365–2367 | ||
4 | พระยาพิษณุโลก | 2380–ไม่ปรากฏ[68] | ||
5 | พระยาพิษณุโลกาธิบดี | ไม่มีข้อมูล | สมัยรัชกาลที่ 5[69] | |
6 | พระยาพิษณุโลกาธิบดี | 2428–ไม่ปรากฏ[70] | ||
ปฏิรูปเขตการปกครองมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2440) |
เมืองพิษณุโลกได้รับการจัดตั้งเป็นเขตการปกครองระดับที่สองในระบบมณฑลเทศาภิบาล ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2437 และเปลี่ยนคำเรียกเป็นจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2459[71] รายชื่อผู้ว่าราชการเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด มีดังนี้[72][73]
ลำดับ | ชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
---|---|---|
1 | พระบริรักษ์โยธี (ทองอยู่ สุวรรณบาตร์) | ไม่ทราบข้อมูล |
2 | พระไชยศิรินทรภักดี (สวัสดิ์ มหากายี) | 2456–2457 |
3 | พระพิษณุโลกบุรี (สวัสดิ์ มหากายี) | 2457–2458 |
4 | พระเกษตรสงคราม (เชียร กัลยาณมิตร) | 2458–2459 |
5 | พระสวรรคโลกบุรี | 2459–2461 |
6 | พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ (เชียร กัลยาณมิตร) | 2461–2470 |
7 | พระยาสุนทรพิพิธ (เชย มัฆวิบูลย์) | 2470–2476 |
8 | พระยาศิรีชัยบุรินทร์ (เบี๋ยน หงสะเดช) | 12 มีนาคม 2456 – 1 กรกฎาคม 2476 |
9 | พระสาครบุรานุรักษ์ (ปริก สุวรรณานนท์) | 20 มีนาคม 2478 – 18 พฤษภาคม 2481 |
10 | พระยาสุราษฎร์ธานีศรีเกษตรนิคม (เต่า ศตะกูรมะ) | 10 มิถุนายน 2481 – 18 มิถุนายน 2482 |
11 | หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี) | 24 มิถุนายน 2482 – 7 กรกฎาคม 2483 |
12 | พันเอก พระศรีราชสงคราม (ศรี ศุขะวาที) | 7 กันยายน 2483 – 7 พฤษภาคม 2484 |
13 | พันตรี หลวงยุทธสารประสิทธิ์ (เมี้ยน โรหิตเสรนี) | 16 มิถุนายน 2484 – 27 กรกฎาคม 2485 |
14 | หลวงวิเศษภักดี (ชื่น วิเศษภักดี) | 28 เมษายน 2485 – 3 มกราคม 2487 |
15 | หลวงศรีนราศัย (ผิว จันทิมาคม) | 11 พฤษภาคม 2487 – 7 กรกฎาคม 2488 |
16 | นายพรหม สูตรสุคนธ์ | 7 กรกฎาคม 2488 – 7 ตุลาคม 2489 |
17 | ขุนคำณวนวิจิตร (เชย บุนนาค) | 18 พฤศจิกายน 2489 – 6 ธันวาคม 2490 |
18 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุณยนิตย์) | 6 ธันวาคม 2490 – 31 ธันวาคม 2493 |
19 | นายพ่วง สุวรรณรัฐ | 1 มกราคม 2494 – 10 พฤศจิกายน 2494 |
20 | พันตรี ขุนทะยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล) | 12 กุมภาพันธ์ 2494 – 1 พฤศจิกายน |
21 | พระบรรณศาสน์สาทร (สง่า คุปตารักษ์) | 1 กุมภาพันธ์ 2497 – 1 สิงหาคม 2497 |
22 | นายปรง พะหูชนม์ | 1 สิงหาคม 2497 – 22 กุมภาพันธ์ 2501 |
23 | นายพ่วง สุวรรณรัฐ (รักษาการในตำแหน่ง ผ.ว.ก.จว.) | 14 กุมภาพันธ์ 2501 – 3 มีนาคม 2501 |
24 | นายเยียน โพธิสุวรรณ | 27 มีนาคม 2501 – 3 เมษายน 2507 |
25 | นายเจริญ ภมรบุตร | 9 เมษายน 2507 – 4 กุมภาพันธ์ 2509 |
26 | นายนิรุต ไชยกูล | 11 กุมภาพันธ์ 2509 – 21 ตุลาคม 2510 |
27 | นายพล จุฑางกูร | 21 พฤศจิกายน 2510 – 2 ตุลาคม 2513 |
28 | นายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ | 2 ตุลาคม 2513 – 21 กันยายน 2514 |
29 | นายจำรูญ ปิยัมปุตระ | 1 ตุลาคม 2514 – 30 กันยายน 2515 |
30 | พลตำรวจตรี สามารถ วายวานนท์ | 1 ตุลาคม 2515 – 30 กันยายน 2517 |
31 | นายสิทธิเดช นรัตถรักษา | 1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2519 |
32 | นายชาญ กาญจนาคพันธุ์ | 1 ตุลาคม 2519 – 30 กันยายน 2523 |
33 | นายยง ภักดี | 1 ตุลาคม 2523 – 30 กันยายน 2525 |
34 | นายสืบ รอดประเสริฐ | 1 ตุลาคม 2525 – 31 ตุลาคม 2528 |
35 | นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์ | 1 พฤศจิกายน 2528 – 30 กันยายน 2532 |
36 | นายไพฑูรย์ สุนทรวิภาต | 1 ตุลาคม 2532 – 30 กันยายน 2534 |
37 | นายอภัย จันทนจุลกะ | 1 ตุลาคม 2534 – 30 กันยายน 2536 |
38 | นายสวัสดิ์ ส่งสัมพันธ์ | 1 ตุลาคม 2536 – 30 กันยายน 2539 |
39 | นายนิธิศักดิ ราชพิตร | 1 ตุลาคม 2539 – 30 กันยายน 2542 |
40 | นายวิจารณ์ ไชยนันท์ | 1 ตุลาคม 2542 – 30 กันยายน 2545 |
41 | นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ | 1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2550 |
42 | นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ | 1 ตุลาคม 2550 – 15 มีนาคม 2552 |
43 | นายปรีชา เรืองจันทร์ | 16 มีนาคม 2552 – 27 เมษายน 2555 |
44 | นายชัยโรจน์ มีแดง | 27 เมษายน 2555 – 7 ตุลาคม 2555 |
43 | นายปรีชา เรืองจันทร์ (ครั้งที่ 2) | 8 ตุลาคม 2555 – 30 กันยายน 2556 |
44 | นายระพี ผ่องบุพกิจ | 1 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2557 |
45 | นายจักริน เปลี่ยนวงษ์ | 1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558 |
46 | นายชูชาติ กีฬาแปง | 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 |
47 | นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ | 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560 |
48 | นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ | 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561 |
49 | นายพิพัฒน์ เอกภาพันธ์ | 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2563 |
50 | นายรณชัย จิตรวิเศษ | 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565 |
51 | นายภูสิต สมจิตต์ | 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2567 |
52 | นายทวี เสริมภักดีกุล | 17 พฤศจิกายน 2567 – ปัจจุบัน |
องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพิษณุโลก มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 30 คน[74]
ภายในพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลกแบ่งออกเป็นเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างหรือระดับพื้นฐานจำนวนทั้งหมด 102 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร 1 แห่ง, เทศบาลเมือง 1 แห่ง, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[75] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดพิษณุโลกจำแนกตามอำเภอ มีดังนี้
อันดับ (ปีล่าสุด) | อำเภอ | พ.ศ. 2557[76] | พ.ศ. 2556[77] | พ.ศ. 2555[78] | พ.ศ. 2554[79] | พ.ศ. 2553[80] | พ.ศ. 2552[81] | พ.ศ. 2551[82] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เมืองพิษณุโลก | 283,419 | 281,762 | 280,922 | 280,457 | 279,292 | 276,293 | 274,415 |
2 | วังทอง | 120,824 | 120,535 | 120,513 | 119,878 | 119,485 | 119,103 | 119,213 |
3 | บางระกำ | 94,980 | 94,832 | 94,578 | 94,020 | 93,841 | 93,725 | 93,673 |
4 | พรหมพิราม | 87,864 | 87,853 | 87,739 | 87,629 | 87,869 | 87,868 | 87,962 |
5 | นครไทย | 87,042 | 86,684 | 86,163 | 85,534 | 85,213 | 84,911 | 85,202 |
6 | เนินมะปราง | 58,208 | 58,043 | 58,062 | 57,916 | 57,873 | 57,906 | 58,015 |
7 | บางกระทุ่ม | 48,152 | 48,307 | 48,390 | 48,313 | 48,605 | 48,667 | 48,849 |
8 | ชาติตระการ | 40,801 | 40,633 | 40,432 | 40,144 | 40,121 | 39,759 | 39,483 |
9 | วัดโบสถ์ | 37,698 | 37,727 | 37,573 | 37,466 | 37,393 | 37,329 | 37,183 |
— | รวม | 858,988 | 856,376 | 854,372 | 851,357 | 849,692 | 845,561 | 843,995| |
จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล และเอกชนดังนี้
|
ประถมศึกษา
จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โรงพยาบาลกองบิน 46 และมีโรงพยาบาลประจำอำเภอดังต่อไปนี้
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก)
โดยทั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่งด้วยกัน
นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้วยังสามารถเดินทางด้วยรถไฟที่สถานีรถไฟพิษณุโลก หรือทางอากาศที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีเที่ยวบินพาณิชย์ให้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แก่ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชียและสายการบินไทยไลออนแอร์ โดยให้บริการทุกวัน
การเดินทางภายในตัวจังหวัด มีรถโดยสารสองแถวสีม่วงและรถโดยสารประจำทางมินิบัสสีม่วงให้บริการหลายสาย และยังมีรถแท็กซี่มิตเตอร์ให้บริการอีกด้วย
|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.