Loading AI tools
วัดในจังหวัดพิษณุโลก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกระบังมังคลารามลักษณะที่วัดเป็นราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย เส้นทางหลวงสายพิษณุโลก-วัดโบสถ์ ที่ดินของวัดเป็นโฉนดเลขที่ 4072 เป็นหลักฐาน เนื้อที่ดิน 40 ไร่ 79 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือติดแม่น้ำแควน้อย ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินเลขที่4 ทิศตะวันออกติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกติดกับที่ดินเลขที่ 4
วัดกระบังมังคลาราม | |
---|---|
พระพุทธวงค์พระประธานในอุโบสถ | |
ชื่อสามัญ | วัดกระบังมังคลาราม |
ที่ตั้ง | 27 บ้านกระบัง หมู่ที่ 2 ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธวงค์ |
เจ้าอาวาส | เจ้าอธิการวีระชัย อธิปุญฺโญ |
พระจำพรรษา | 29รูป |
เวลาทำการ | ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระพุทธวงค์ วิหารหลวงพ่อเจ้าคุณพระพิศาลธรรมภาณี(เชื้อ สุธมฺโม) เจดีย์ศรีพระพุทธวงค์ |
กิจกรรม | ให้อาหารปลา(แม่น้ำแควน้อย) |
เว็บไซต์ | https://www.facebook.com/Watkrabangmangkalaram |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดกระบังมังคลาราม สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด เมื่อปี พ.ศ. 2455 ขึ้นทะเบียนเป็นวัดประชาชนทั่วไปมักเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดกระบัง" ตามชื่อหมู่บ้าน ภายในที่ดินของวัดเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดกระบังมังคลาราม (พิศาลประชาสรรค์) มี พระพุทธวงค์[1] เป็นพระประธานในโบสถ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จทางเรือขึ้นนมัสการหลวงพ่อพระพุทธวงค์ครั้งตรวจการคณะสงฆ์ และในปี พ.ศ. 2501 ทางวัดได้ขอเสริมนามวัดเพื่อเป็นสิริมงคลจาก "วัดกระบัง" เป็น "วัดกระบังมังคลาราม" มีเจ้าอาวาสสำคัญสองรูปซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม คือ พระครูพรหมพรตบริหาร(น้อย) และ พระพิศาลธรรมภาณี(เชื้อ) เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญรูปแรกของอำเภอพรหมพิราม
หลวงพ่อพระพุทธวงค์เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดพิษณุโลก เดิมชื่อว่า “หลวงพ่อพระพุทธชินวงค์” แต่ต่อมาเหลือแค่หลวงพ่อพระพุทธวงค์ เนื่องจากชื่อยาวจึงตัดให้สั้นลงเพื่อให้เรียกง่ายขึ้น ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างเมื่อใด ประดิษฐาน ณ อุโบสถขนาด 4 ห้อง ของวัดกระบังมังคลาราม หลวงพ่อพระพุทธวงค์ เป็นพระพุทธรูป ปูนปั้น ปางมารวิชัย ขนาด 5 ศอก 5.6 นิ้ว(2.64 เมตร) สูง 6 ศอก(2.99) องค์พระนั่งขัดสมาธิอยู่บนฐานชุกชีบัวคว่ำ บัวหงาย ประดับกระจกสีอย่างงดงามมีพระอัครสาวกเบื้องซ้าย(พระโมคคัลลานะ) เบื้องขวา(พระสารีบุตร) มีซุ้มเรือนแก้วลงรักปิดทองจำลักลายด้วยไม้สัก หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ปิดทองเป็นครั้งที่ 4 ครั้งล่าสุดจัดให้มีการฉลองปิดทอง วันอังคาร ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 หลวงพ่อพระพุทธวงค์ มีลักษณะงดงามคล้ายกับ พระพุทธชินราช (จนชาวบ้านมีการเปรียบเทียบกันว่า พระพุทธชินราช กับ หลวงพ่อพระพุทธวงค์เป็นพี่น้องกัน) องค์พระมีพุทธลักษณะสมส่วนสวยงามแต่จะท้วมกว่าพระพุทธรูปยุคสุโขทัย นอกจากนี้พระหัตถ์ยังเป็น "ทีฆังคุลี" (การทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูป หมวดพระพุทธชินราชสกุลช่างพิษณุโลกพระเกตุรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง พระเกศาขดเป็นก้นหอย วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมมีพระอุณาโลมผลิกอยู่ระหว่างพระโขนง(คิ้ว) พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆาติยาวปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ฝ่าพระบาทแบบราบส้นพระบาทยาว ซุ้มเรือนแก้วหลวงพ่อพระพุทธวงค์สลักด้วยไม้สักจำลักลายปิดทอง มีตัวมกร 2 ตัว ส่วนปลายสุดของตัวมกรบรรจบกันเหนือพระเกตุ แล้วทอดลำตัวลงมาอย่างอ่อนช้อยงดงามรับพระวรกายอันงดงาม มีคลีบเป็นลักษณะใบระกา ส่วนตัวเหลาเป็นสัตว์หิมพานต์ที่เรือนแก้วด้านซ้ายและด้านขวา คายลายเครือเถาออกมาเป็นลักษณะเขาโค้ง เหนือบ่าหลวงพ่อพระพุทธวงค์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2457 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่6) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสด็จทางเรือ เสด็จขึ้นนมัสการหลวงพ่อพระพุทธวงค์ครั้งตรวจการคณะสงฆ์
การสร้างเหรียญ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2517 จัดมีพิธีพุทธาภิเษกเหรียญเสมาและเหรียญแหนบหลวงพ่อพระพุทธวงค์ โดยเจ้าคุณพระพิศาลธรรมภาณี เจ้าอาวาส
พระครูพรหมพรตบริหาร ( น้อย ) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงพรหมพิราม เจ้าอาวาสวัดกระบังมังคลาราม ราชทินนามนี้เป็นองค์แรก ซึ่งปรากฏนาม พระครูพรหมพรตบริหาร ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส[3] เสด็จตรวจการคณะสงฆ์พิษณุโลก เสด็จวัดกระบัง ทางเรือ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2457 พระครูพรหมพรตบริหาร (น้อย ) วัดกระบัง เป็นสหธรรมิกกับ พระครูวิมลคุณากร[4] หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท หลวงปู่ศุข เคยเดินทางมาแวะ พักกับ พระครูพรหมพรตบริหาร และ พระครูต่วน วัดเตาไห (วัดตาปะขาวหาย ) พิษณุโลก ในคราวไปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์ พ.ศ. 2461
พระพิศาลธรรมภาณี นามเดิม เชื้อ นามสกุล สุขม่วง เกิดที่บ้านหอกลอง หมู่ที่ 1 ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก บิดาชื่อ นายบาง มารดาชื่อ นางฝอย สุขม่วง เกิดวันเสาร์ ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2448 มีพี่น้องรวม 7 คน อายุ 8 ขวบ เข้าเรียนภาษาไทย ที่โรงเรียนประชาบาลวัดกระบัง เรียนจบชั้น ป.4 อายุ 18 ได้บรรพชา ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มี พระวรญาณมุนี (พร้อม นิลพงษ์) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2464 สอบ นักธรรมชั้นตรี ได้ ไปเรียนพระปริยัติธรรมต่อที่วัดอนงคาราม ธนบุรี(กรุงเทพมหานคร) อุปสมบท อายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2469 เวลา 10.00 น. ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมี พระวรญาณมุนี เป็นอุปัชฌาย์ พระครูอนุโยคศาสนกิจ (รอด) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดชั้น เป็นอนุสาวนาจารย์ พ.ศ. 2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดกระบังมังคลาราม พ.ศ. 2476 เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม พ.ศ. 2485 เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูเมธาประยุต และเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2497 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระพิศาลธรรมภาณี พระพิศาลธรรมภาณี (เชื้อ สุธมฺโม) มรณะภาพ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2520รวมอายุ 73 ปี 53 พรรษา รวมอุปสมบทบรรพชา 56 พรรษา[5] พระพิศาลธรรมภาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดกระบังมังคลาราม และเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม ท่านใช้หลักการปกครอง 4 อย่าง คือ 1. การศึกษา 2. ซ่อม 3. สร้าง 4. รักษา ในสมัยที่ท่านได้รับหน้าที่ปกครองวัดกระบังมังคลาราม ท่านได้เน้นการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ ได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในวัดกระบังมังคลาราม ทั้งนักธรรม และบาลี ท่านเป็นเจ้าสำนักเรียน มีลูกศิษย์มากมายที่ได้ดีจากวัดกระบังมังคลาราม เป็นใหญ่เป็นโต จากการสั่งสอนของพระพิศาลธรรมภาณี ความประพฤติส่วนตัว ยินดีในเนกขัมมปฏิบัติ ท่านเป็นอุตตสัมมาปณิธิบุคคล ตั้งตนไว้ชอบตลอดมา ท่านเคร่งครัด เป็นพระเคารพวินัย สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีมารยาทและโคจรดีงาม เป็นสงฆ์ทรงศีล มีศีลเป็นที่รัก พุทธบริษัทคารวะ ควรเชิดชูเป็นอย่างยิ่ง[6]ตลอดจนพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านให้ความเครพท่านอย่างยิ่ง
เสนาสนะวัดกะบังมังคลาราม ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก | |||||
ลำดับที่ | เสนาสนะ | ขนาดกว้าง/เมตร | ขนาดยาว/เมตร | ลักษณะอาคาร | สร้างเมื่อ พ.ศ. |
1 | ศาลาการเปรียญ | 26 | 40 | พื้นไม้/เสาคานปูน | 2515 |
2 | กุฏิรับรองสงฆ์ | 11 | 11 | ปูน2 ชั้น | 2543 |
3 | กุฏิสองชั้น ไม้/ปูน | 7.5 | 7.5 | ชั้นบนไม้ด้านล่างปูน | 2478 |
4 | กุฏิสองชั้น ไม้/ปูน | 7.5 | 7.5 | ชั้นบนไม้ด้านล่างปูน | 2478 |
5 | กุฎิผาสุการโกวิท 2 ชั้น | 10 | 31 | ปูน2 ชั้น เรือนไทย | 2534 |
6 | ศาลาการเปรียญหลังเล็ก | 12 | 19 | ไม้ทั้งหลัง | 2456 |
7 | หอสวดมนต์ | 11 | 98 | ไม้ทั้งหลัง ใต้ถุนโล่ง | 2458 |
8 | กุฎิพระพิศาลธรรมภาณี | 11.5 | 15 | ไม้ทั้งหลัง 2ชั้น | 2509 |
9 | กุฎิประภากรกิจมงคล | 9 | 8.5 | ชั้นบนไม้ด้านล่างปูน | 2455 |
10 | โรงเรียนปริยัติธรรม เพ็ญศรี | 12.2 | 10.5 | ไม้ขั้นล่งปูน | 2476 |
11 | วิหารพระพิศาลธรรมภาณี | 6.2 | 10.6 | ปูน | 2525 |
12 | อุโบสถ | 10.5 | 18.8 | ทรงเตี้ย มหาอุด | 2455 |
13 | ศาลาเตือนใจ | 12 | 23.6 | ปูน | 2544 |
14 | ฌาปนสถาน (เมรุ) | 22 | 24.3 | 2534 | |
15 | ศาลาธรรมสังเวช | 23 | 39 | ปูน | 2534 |
16 | พระธาตุเจดีย์ศรีพระพุทธวงค์ | 9.7 | 9.7 | ||
17 | แพปลา | 5 | 6 | 2560 | |
18 | แทงค์ปประปา | 25 | 25 | ||
19 | หอระฆัง | 5.2 | 5.2 | 2517 | |
20 | กุฎิไม้ 3 ห้อง | 8 | 15 | 2509 | |
21 | กุฎิไม้ | 3 | 4 | 2558 | |
22 | กุฎิไม้ | 3 | 4 | 2558 | |
23 | กุฎิไม้ | 3 | 4 | 2558 | |
24 | ลานบาตร | 4.5 | 8.1 | ไม้/ปน | 2476 |
25 | ซุ้มประตู | 2543 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.