โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ในรูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 289 หมู่ 5 ถนนเอกาทศรถ ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546

ข้อมูลเบื้องต้น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ, ที่ตั้ง ...
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
Traim Udom Suksa School Of The North
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.อ. / T.N.
ประเภทโรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ.
คติพจน์ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี)
สถาปนาโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (50 ปี) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 (21 ปี)
ผู้ก่อตั้งนางพรรณี เพ็งเนตร, นายมนู วัฒนไพบูลย์
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1065360462
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายยงค์ยุทธ รุ่งแจ้ง[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน1,586 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567)[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาจีน
ภาษาเกาหลี
สี  สีชมพู
เพลงปิ่นหทัย
เว็บไซต์http://www.tn.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - จามจุรี
ปิด

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา) ในขณะนั้นได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมและได้ปรารภกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูงหรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีกหนึ่งแห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้า ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมควบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกหนึ่งแห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีกหนึ่งแห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาคนแรก ได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน

โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ขยายตัวเพื่อรองรับนักเรียน ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างรวดเร็ว ต่อมกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการจัดการศึกษาให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน แม้จะอยู่ส่วนใดของประเทศไทยก็ตาม อีกทั้งกรมสามัญศึกษา มีนโยบายที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาและต้องการที่จะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.สกลนคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ที่ จ.นครศรีธรรมราช และมีดำริที่จะตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่ จ.พิษณุโลก

ในปี พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายจุฬา ทารักษา ได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คือ นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ตอบรับเป็นเบื้องต้น โดยรับโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาเข้าเป็นเครือข่ายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยได้ดำเนินการร่วมกันผ่านกรมสามัญศึกษาเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ แต่ได้ระงับไปช่วงหนึ่งเพราะผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เกษียณอายุราชการ ต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายมนู วัฒนไพบูลย์ ได้รับทราบการขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และได้รับนโยบายของกรมสามัญศึกษาในการประสานงานจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา จังหวัดพิษณุโลก เพราะเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือมีสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันราชภัฏ สถาบันราชมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ปัจจุบัน คือ นางพรรณี เพ็งเนตร เพื่อเข้าเป็นเครือข่ายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ตอบรับไม่ขัดข้องในการขอเป็นเครือข่ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ[3]

แผนการเรียน

  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-เทคโนโลยี (SMT)
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-สุขภาพ
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-วิศวกรรมศาสตร์
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (หุ่นยนต์)
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Stem Education)
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-อังกฤษ
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-ฝรั่งเศส
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-จีน
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-ญี่ปุ่น
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-เกาหลี
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ศิลปกรรม (ศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์)
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์การกีฬา

อาคารเรียนภายในโรงเรียน

  • อาคารอำนวยการ (อาคาร 5)
    • ชั้นที่ 1 ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องประชุม 1 ห้องเกียรติยศ (ห้องประชุม 2) ห้องประชุม 200 ที่นั่ง (ห้องโสตทัศนศึกษา) ห้องพัสดุ ห้องถ่ายเอกสาร สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา-เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
    • ชั้นที่ 2 ห้องท่านผู้อำนวยการ (527) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายจัดการศึกษาและฝ่ายจัดการศึกษา+ฝ่ายรับเข้าศึกษา (521) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและฝ่ายกิจการนักเรียน (525) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการและฝ่ายอำนวยการ (528) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไปและฝ่ายบริหารทั่วไป (526) ห้องแนะแนวการศึกษา (524) ห้องประกันคุณภาพการศึกษา (523) ห้องทะเบียน-วัดผล (522)
    • ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 1 (531) ห้องศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ (537) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 533 534 535 536 ห้องเรียน E-Classroom (532) ห้องแสดงผลงานห้องเรียนสีเขียว (538)

  • หอประชุมใหญ่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ
    • ชั้นที่ 1 ใต้ถุนโล่ง เป็นโรงอาหาร ห้องอาหารครู
    • ชั้นที่ 2 หอประชุม 800 ที่นั่ง
  • อาคาร 3 (อาคาร ม.4)
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 2 ห้องระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียน 312 313 314 315 316
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียน 321 322 323 324 325 326 327
  • อาคาร 2 (อาคาร ม.6)
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (218) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1-2 (211, 212 ตามลำดับ) ห้องเรียน 213 214 215 216 217
    • ชั้นที่ 2 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 2 (221) ห้องเรียน 222 223 224 225 226 227 228
    • ใต้ถุนอาคาร เป็นห้องโภชนาการ ห้องกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ห้องคณะกรรมการสภานักเรียน ห้องอาจารย์ สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
  • อาคาร 4 (อาคาร ม.5)
    • ชั้นที่ 1 เป็นห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (418) ห้อง To Be Number One (417) ห้องเก็บของ (416-417) ห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (411) ห้องนอนเวร ห้องเรียน 412 413 414 415
    • ชั้นที่ 2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 (421) ห้องเรียน 422 423 424 425 426 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาคณิตศาสตร์ (427) ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 (428)
    • ชั้นที่ 3 ห้อง SoundLab (438) ห้องเรียนรวม (431) ห้องเรียน 432 433 434 435 436 437
  • อาคาร 1 (อาคารวิทยาศาสตร์)
    • ชั้นที่ 1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (111-112) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา 1-2 (113 114 115) ห้องเก็บสารเคมี (117) ห้องปฏิบัติการเคมี 1-2 (116 118) ห้องประชุม ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่ 2 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ 1-3 (128 127 122 ตามลำดับ) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ (121) ห้องพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (123-126)
  • อาคาร ศิลปะ เป็นอาคารกลุ่มสาระวิชาศิลปะและการงานอาชีพและเทคโนโลยี
    • ชั้นที่ 1 ห้องวงโยธวาทิต (ห้องดนตรีสากล) ห้องพักครู
    • ชั้นที่ 2 ห้องนาฏศิลป์ตะวันตก ห้องนาฏศิลป์ไทย ห้องดนตรีไทย ห้องคหกรรมและงานประดิษฐ์
    • ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการศิลปะ ห้องงานหัตถกรรม
    • ชั้นที่ 4 ห้องปฏิบัติการงานช่าง
  • เรือนพยาบาล เป็นสถานที่ให้บริการในด้านยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นแก่นักเรียนตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณสระว่ายน้ำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
  • หอสมุดมาลากุล เป็นหอสมุดปรับอากาศขนาดใหญ่และเป็นหอสมุดศูนย์รวมความรู้ของนักเรียน เป็นสถานที่สำคัญ มีคำขวัญที่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ประพันธ์ไว้ว่า "โรงเรียนของเรามีประวัติงดงามมานานแล้ว และหวังว่าประวัตินี้จะตกทอดมาถึงพวกเธอ และเธอจะรับไว้มิให้เสื่อมเสีย"
  • สระว่ายน้ำจามจุรี เป็นสระว่ายน้ำขนาด 50 เมตร เป็นสถานที่เรียนวิชา พลศึกษา และเป็นสถานที่ออกกำลังกายของครู ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ และบุคคลทั่วไป
  • ลานจามจุรี
  • สระน้ำคูบัว เป็นสระน้ำโรงเรียน มีบัวหลายสายพันธุ์ เป็นสถานที่สำคัญของโรงเรียน
  • ลานกีฬา
  • สนามวอลเล่บอล 2 สนาม
  • สนามตะกร้อ 2 สนาม
  • สนามบาสเกสบอล 2 สนาม
  • สนามบอลขนาดเล็ก 1 สนาม
  • สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน 1 สนาม
  • สนามรักบี้
  • ลานมะฮอกกานี

สิ่งเคารพภายในโรงเรียน

  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระพรหม
  • พระพุทธชินราชจำลอง
  • ศาลตายาย เจ้าที่

ทำเนียบผู้บริหาร

ข้อมูลเพิ่มเติม ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา, ลำดับ ...
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา
ลำดับ รายนาม ปี ตำแหน่ง
1 นายประสิทธิ์ มากลิ่น พ.ศ. 2517 - 2522 อาจารย์ใหญ่
2 นายวิทูร ญาณสมเด็จ พ.ศ. 2522 อาจารย์ใหญ่
3 นายเรือง ปาเฉย พ.ศ. 2522 - 2528 อาจารย์ใหญ่
4 นายจำรัส ลอยมา พ.ศ. 2528 - 2530 อาจารย์ใหญ่
5 นายฉลอง เกษน้อย พ.ศ. 2530 - 2535 อาจารย์ใหญ่
6 นายธงชัย จักกาบาตร์ พ.ศ. 2535 - 2540 ผู้อำนวยการ
7 นายชูชาติ อุทะโก พ.ศ. 2540 - 2541 ผู้อำนวยการ
8 นายจุฬา ทารักษา พ.ศ. 2541 - 2543 ผู้อำนวยการ
9 นายสุพจน์ จินันทุยา พ.ศ. 2543 - 2545 ผู้อำนวยการ
10 นายมนู วัฒนไพบูลย์ พ.ศ. 2545 - 2546 ผู้อำนวยการ
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ, ลำดับ ...
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ลำดับ รายนาม ปี ตำแหน่ง
1 นายมนู วัฒนไพบูลย์ พ.ศ. 2546 - 2548 ผู้อำนวยการ
2 นายสุพจน์ จินันทุยา พ.ศ. 2548 - 2549 ผู้อำนวยการ
3 นายถวิล ศรีวิชัย พ.ศ. 2550 - 2554 ผู้อำนวยการ
4 นายชูชาติ อุทะโก พ.ศ. 2554 - 2555 ผู้อำนวยการ
5 นางสุเนตร ทองคำพงษ์ พ.ศ. 2555 - 2556 ผู้อำนวยการ
6 นายวิโรจน์ รอดสงฆ์ พ.ศ. 2556 - 2563 ผู้อำนวยการ
7 นายชัยลักษณ์ รักษา พ.ศ. 2563 - 2566 ผู้อำนวยการ
8 ดร.บุปผา ทองน้อย พ.ศ. 2566 - 2567 ผู้อำนวยการ
9 นายยงค์ยุทธ รุ่งแจ้ง พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ
ปิด

โรงเรียนอื่น ๆ ในเครือ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.