คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11
Remove ads

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ–ใต้ เชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีระยะทาง 562.673 กิโลเมตร ปลายทางทิศใต้ของทางหลวงสายนี้อยู่ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนปลายทางทิศเหนืออยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[1]

ข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลของเส้นทาง, ความยาว ...
Remove ads
Remove ads

รายละเอียดของเส้นทาง

สรุป
มุมมอง

อินทร์บุรี–วังทอง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีเส้นทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร มีระยะทางในจังหวัดสิงห์บุรีเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น ก็เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นข้ามคลองอนุศาสนนันท์ (ส่วนสะพานข้ามคลองยังมีขนาด 2 ช่องจราจร) ข้ามทางรถไฟสายเหนือ จนถึงกิโลเมตรที่ 28 จากนั้นถนนจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร แล้วตัดกับถนนพหลโยธิน (ครั้งที่ 1) ที่ตำบลสุขสำราญ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเส้นทางตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว แล้วเข้าสู่เขตจังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอดงเจริญ แล้วตัดกับทางหลวงหมายเลข 113 (พิจิตร-บ้านวังชมภู) ที่ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ แล้วขึ้นไปอำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก เมื่อพ้นแยกสากเล็กถนนจะขยายเป็น 4 ช่องจราจร และเข้าสู่เขตจังหวัดพิษณุโลก ผ่านอำเภอบางกระทุ่มเป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่แยกวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

พิษณุโลก–ลำปาง

Thumb
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ที่แยกคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

เมื่อมาถึงแยกวังทอง บริเวณกิโลเมตรที่ 211+841 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 จะใช้เส้นทางนับเลขกิโลเมตรร่วมกันกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เป็นระยะทาง 11.894 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกอินโดจีน ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จึงได้เริ่มต้นเส้นทางใหม่ บริเวณกิโลเมตรที่ 223+735 ขึ้นไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126) ที่แยกดงประโดก ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ ผ่านตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิรามเพียง 11 กิโลเมตร แล้วเข้าอำเภอวัดโบสถ์อีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านตำบลนาอิน ตำบลนายาง อำเภอพิชัย ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน ตำบลวังกะพี้ ตำบลป่าเซ่า ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขึ้นเขาพลึงเข้าเขตจังหวัดแพร่ โดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย โดยเส้นทางตั้งแต่พิษณุโลกถึงอำเภอเด่นชัย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 13[2] จากนั้นใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มาทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 11.513 กิโลเมตร แล้วแยกทางจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ที่ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ไปทางทิศตะวันตก และผ่านอำเภอลองเป็นอำเภอสุดท้าย

ลำปาง–เชียงใหม่

Thumb
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 บริเวณแยกดอยติ อ.เมืองลำพูน

เมื่อเข้าเขตจังหวัดลำปาง เส้นทางจะผ่านอำเภอแม่ทะ แล้วเข้าสู่อำเภอเมืองลำปาง โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ในช่วงนี้มีชื่อถนนว่า "ถนนวชิราวุธดำเนิน" ตัดกับทางเลี่ยงเมืองลำปาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127) ที่แยกดอยพระบาท (1) ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง แล้วมาสิ้นสุดที่ถนนพหลโยธิน (ครั้งที่ 2) ที่แยกดอยพระบาท (2) บริเวณกิโลเมตร 457+066 จากนั้นนับเลขกิโลเมตรร่วมกันกับถนนพหลโยธินไปทางทิศใต้ เป็นระยะทาง 5.548 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกภาคเหนือ จึงแยกออกไปทางทิศตะวันตก เริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 462+614 ข้ามแม่น้ำวัง ผ่านอำเภอห้างฉัตรเป็นอำเภอสุดท้าย จากนั้นขึ้นเขาขุนตาล เข้าสู่เขตจังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอแม่ทา อำเภอเมืองลำพูน มักเรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง–เชียงใหม่ และเข้าสู่เขตจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำเภอสารภี อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นถนนอ้อมเมืองเชียงใหม่หรือหากนับเป็นถนนวงแหวน ถนนสายนี้ถือเป็นถนนวงแหวนรอบในของเมืองเชียงใหม่ ไปสิ้นสุดเส้นทางโดยบรรจบกับถนนนิมมานเหมินทร์

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

เนื่องจากทางหลวงแผ่นดินสายนี้ ก่อสร้างในระยะเวลาแตกต่างกันเป็นช่วง ๆ ทำให้มีเส้นทางไม่ติดต่อกัน โดยกรมทางหลวง ได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงลำปาง-เชียงใหม่ เป็นลำดับแรกในช่วงปี พ.ศ. 2512 ต่อมาได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงพิษณุโลก-เด่นชัย โดยบางส่วนทับแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 (พิษณุโลก (แยกร้องโพธิ์-วัดโบสถ์) ) บางส่วน ที่สร้างไว้เดิม ในช่วงปี พ.ศ. 2524 ยกระดับทางหลวงหมายเลข 112 (วังทอง-บ้านเขาทราย) พร้อมกับก่อสร้างเส้นทางช่วงอินทร์บุรี-เขาทรายในช่วงเวลาเดียวกัน และก่อสร้างเส้นทางช่วงเด่นชัย-ลำปางเป็นลำดับสุดท้าย จึงแล้วเสร็จตามโครงการตลอดสาย

ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 ได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงเลี่ยงเมืองลำปาง จากสามแยกโยนก (หน้าศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง) ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง ไปบรรจบกับเส้นทางช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ที่สี่แยกภาคเหนือ ทำให้เส้นทางสายนี้เชื่อมต่อกันตั้งแต่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ประวัติการก่อสร้าง

แต่เดิม ถนนสายนี้ทั้งหมดเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน แล้วในปี พ.ศ. 2544 ถนนได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร โดยแบ่งเป็นถนนขาไป และขากลับ ฝั่งละ 2 ช่องทางจราจร โดยถนนช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ได้รับการขยายเป็น 4 ช่องทางจราจรเป็นช่วงแรก ซึ่งเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2544

แล้วต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2547 ช่วงพิษณุโลก - อุตรดิตถ์ก็ได้รับการขยายให้เป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแบบดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ ในขณะที่ช่วงอุตรดิตถ์ - เด่นชัย ก็ได้รับการขยายเป็น 4 ช่องทางจราจรแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งช่วงแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2555 ส่วนถนนช่วง อำเภอเด่นชัย - ลำปาง ช่วงลำปาง - อำเภอแม่ทะ ก็ได้รับการขยายเป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแล้ว และแนวถนนจากอำเภอแม่ทะ - อำเภอเด่นชัย รวมทั้งทางหลวงหมายเลข 101 ในช่วงอำเภอเด่นชัย ปัจจุบันยังคงเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทาง เพื่อที่จะดำเนินการขยายให้เป็นถนน 4 ช่องทางจราจร ไป-กลับ ตลอดแนว ส่วนช่วงวังทอง-สากเหล็ก ก็ได้รับการขยายเป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแล้ว ส่วนที่เหลือ ตั้งแต่สากเหล็ก - อินทร์บุรี ก็ยังคงเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน

ในปีงบประมาณ 2562 กรมทางหลวงโดยสำนักก่อสร้างทางที่ 1 ได้มีโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ตอนอินทร์บุรี - สากเหล็ก ตอนแยกต่างระดับอินทร์บุรี - บ.หนองบัวทอง ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร โดยขยายทางหลวงจากเดิม 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจร เพื่อพัฒนาระบบขนส่งทางถนน ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรเมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ที่จังหวัดนครสวรรค์

ต่อมาในปีงบประมาณ 2563 ได้มีการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เพิ่มเติมช่วงอำเภอทับคล้อ - อำเภอสากเหล็ก เป็นระยะทาง 30.9 กิโลเมตร นอกจากนี้ในปีงบประมาณ 2564 ได้มีโครงการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงไดตาล - เขาทรายอีกด้วย โดยการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ

  1. ตอน 1 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 72+275 จนถึงกิโลเมตรที่ 92+275
  2. ตอน 2 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 92+275 จนถึงกิโลเมตรที่ 112+275
  3. ตอน 3 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 112+275 จนถึงกิโลเมตรที่ 131+798

สรุปได้ว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2563 - 2564 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 มีส่วนที่ได้รับการขยายเพิ่มเติม 2 ช่วง ที่อยู่ในตอน อินทร์บุรี - สากเหล็ก คือ

  1. ช่วงไดตาล - เขาทราย เริ่มต้นที่แยกไดตาล ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี กินพื้นที่อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอดงเจริญ สิ้นสุดที่แยกเขาทราย ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
  2. ช่วงทับคล้อ - สากเหล็ก เริ่มต้นที่บ้านวังแดง ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ กินพื้นที่อำเภอทับคล้อ อำเภอวังทรายพูน สิ้นสุดที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
Remove ads

รายชื่อทางแยก

ข้อมูลเพิ่มเติม จังหวัด, อำเภอ ...
Remove ads

อ้างอิง

Loading content...

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads