Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยุหะคีรี เป็น 1 ใน 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ เดิมมีพื้นที่กว่า 2,165.50 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอตาคลี[1] อำเภอตากฟ้า และบางส่วนของอำเภอเมืองอุทัยธานี[2][3] ในจังหวัดอุทัยธานี และเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่มีทางรถไฟสายเหนือผ่านพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟให้บริการ 3 สถานี ได้แก่ สถานีรถไฟหัวงิ้ว สถานีรถไฟเนินมะกอก และสถานีรถไฟเขาทอง
อำเภอพยุหะคีรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phayuha Khiri |
สถานีรถไฟเนินมะกอก ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอพยุหะคีรี | |
คำขวัญ: สามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตพระเครื่อง นามกระเดื่องช่างฝีมือ เลื่องระบือเกษตรกรรม | |
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอพยุหะคีรี | |
พิกัด: 15°29′14″N 100°8′24″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 740.8 ตร.กม. (286.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 60,506 คน |
• ความหนาแน่น | 81.68 คน/ตร.กม. (211.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 60130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6010 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรี เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอพยุหะคีรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
พยุหะคีรี เดิมเป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดนครสวรรค์ มีหน้าที่เก็บเงินส่วยอากร ผู้มีหน้าที่เก็บส่วยอากรสมัยนั้นชื่อ หลวงภูมิ ได้ตั้งบุตรชายของตนชื่อ จันทร์ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองพยุหะคีรี มีที่ทำการอยู่ข้างวัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่บ้านสระเศรษฐี ตำบลน้ำทรง ตั้งที่ทำการแบบชั่วคราวมีจวนเจ้าเมือง บ้านราชการเรือนจำ (ล้อมด้วยไม้ไผ่) เจ้าเมืองคนต่อมา ชื่อ กัน และ อิ่ม ต่อมามีโจรกล่มหนึ่งคุมสมัครพรรคพวกประมาณ 40 คน เข้าทำการปล้นจวนเจ้าเมือง สถานที่ราชการ จึงได้ย้ายตัวเมืองพยุหะคีรีมาตั้งอยู่ที่คลองหลวงพิบูลย์ เมื่อสิ้นอายุเจ้าเมืองอิ่มแล้ว เจ้าเมืองคนต่อมาชื่อ ปุ้ย ได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าแร่ สร้างที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรีขึ้น ณ ตำบลพยุหะ[4]
อำเภอพยุหะคีรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 125 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | พยุหะ | (Phayuha) | 9 หมู่บ้าน | 7. | เขาทอง | (Khao Thong) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
2. | เนินมะกอก | (Noen Makok) | 12 หมู่บ้าน | 8. | ท่าน้ำอ้อย | (Tha Nam Oi) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
3. | นิคมเขาบ่อแก้ว | (Nikhom Khao Bo Kaeo) | 16 หมู่บ้าน | 9. | น้ำทรง | (Nam Song) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ม่วงหัก | (Muang Hak) | 10 หมู่บ้าน | 10. | เขากะลา | (Khao Kala) | 19 หมู่บ้าน | |||||||
5. | ยางขาว | (Yang Khao) | 9 หมู่บ้าน | 11. | สระทะเล | (Sa Thale) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
6. | ย่านมัทรี | (Yan Matsi) | 7 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอพยุหะคีรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
รายนาม | วัด | ปีที่ประจำตำแหน่ง |
---|---|---|
พระครูพยุหานุสาสน์ (เงิน) | วัดพระปรางค์เหลือง | พ.ศ. 2444 |
พระครูพยุหานุศาสก์ (สิทธิ์) | วัดบ้านบน | พ.ศ. 2451 |
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) | วัดหนองโพ | พ.ศ. 2458 |
พระครูพยุหานุศาสก์ (ชิต ชิตจิตฺโต) | วัดยางขาว | พ.ศ. 2477 |
พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (บุญธรรม ธมฺมปฺปสาโท) | วัดเขาแก้ว | พ.ศ. 2502 |
พระครูนิทัศน์ธรรมเวที (ปลด ปิยธโร) ป.ธ.๕) | วัดเขาแก้ว | พ.ศ. 2523 |
พระครูปภัสสรธรรม (ละมัย ปภสฺสโร ป.ธ.๕) | วัดคลองบางเดื่อ | พ.ศ. 2552 |
พระครูนิภาธรรมวงศ์ (ประเทือง อริยวํโส)[21] | วัดเขาทอง | พ.ศ. 2562 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.