คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
ราชสกุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
Remove ads
ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ "นามสกุล" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดโดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า ราชนิกุล และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล
การแก้ไขบทความนี้ของผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนถูกปิดใช้งาน ดูนโยบายการป้องกันและปูมการป้องกันสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หากคุณไม่สามารถแก้ไขบทความนี้และคุณประสงค์เปลี่ยนแปลง คุณสามารถส่งคำขอแก้ไข อภิปรายการเปลี่ยนแปลงทางหน้าคุย ขอเลิกป้องกัน ล็อกอิน หรือสร้างบัญชี |
ส่วน ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)
Remove ads
ราชตระกูล
สรุป
มุมมอง
ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้
สายสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
Remove ads
ราชสกุล
สรุป
มุมมอง
หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งราชวงศ์จักรีนั้น ราชสกุลมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล
สายรัชกาลที่ 1
สายรัชกาลที่ 2
สายรัชกาลที่ 3
สายรัชกาลที่ 4
สายรัชกาลที่ 5
สายรัชกาลที่ 7
สายรัชกาลที่ 9
สายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ราชสกุลย่อยสายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)
ราชสกุลย่อยสายเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)
Remove ads
บวรราชสกุล
สายวังหน้า
สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
สายสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
สายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
สายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
สายวังหลัง
สายสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
Remove ads
ราชินิกุล
สรุป
มุมมอง
สายสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 2 ซึ่งมักเรียกรวม ๆ กันไปว่า ราชินิกุลบางช้าง เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง (ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค
สายสมเด็จพระศรีสุลาลัย
พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาลัยในรัชกาลที่ 2 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจากท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาลัย
สายสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 4 ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล
สายสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 5 ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ "สกุลสุรคุปต์"
สายสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 รวมถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 พระอัยยิกาในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า "สุจริตกุล"
สายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ชูกระมล" เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป
สายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 10 แบ่งเป็นสองสายได้แก่สายพระบิดา เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 พระปัยยิกาเป็นบุตรีของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) และปราง สมบัติศิริ ส่วนสายพระมารดา พระปัยกาคือ คุณรวย บุญธร มีมารดาเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์
Remove ads
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads