Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาพัทลุง (ทองขาว) เป็นบุตรพระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) เป็นเจ้าเมืองพัทลุงอยู่ 26 ปี แต่เดิมชื่อนายศักดิ์ (ทองขาว) ได้มีการโปรดเกล้าฯ ในปี 2334 เป็นเจ้าเมืองพัทลุง พระยาพัทลุง (ทองขาว) เป็นผู้กล้าหาญเหมือนบิดาคือ ขุนคางเหล็ก ที่ร่วมต้านศึกฯ ทัพของพม่าที่ท่าเสม็ด จนชนะและไปตีเมืองปัตตานีจนได้รับชัยชนะเป็นครั้งที่ 2
พระยาพัทลุง (ทองขาว) | |
---|---|
เจ้าเมืองพัทลุง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2334 – พ.ศ. 2360 (26 ปี) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
ก่อนหน้า | พระศรีไกรลาศ |
ถัดไป | พระยาพัทลุง (เผือก) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2360 เมืองพัทลุง อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
บุพการี |
|
ญาติ | เจ้าจอมมารดาทรัพย์ (หลานสาว) |
ในปี พ.ศ. 2352 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองถลาง (ภูเก็ต) จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุง (ทองขาว) ยกทัพไปร่วมกับทัพหลวงที่เมืองตรัง ซึ่งก็สามารถยกทัพไปตีเมืองถลางคืนจากพม่าได้สำเร็จ
พระยาพัทลุง (ทองขาว) มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ท่านได้สร้างวัดวัง เมื่อปี พ.ศ. 2359 ที่บ้านลำปำ จังหวัดพัทลุง
พระยาพัทลุง (ทองขาว) ได้ปกครองเมืองพัทลุง ระหว่างปี 2334-2360 รวม 26 ปี หลังจากพระยาพัทลุง (ทองขาว) ได้ถึงแก่อนิจกรรม ก็ได้มีเจ้าเมืองเชื้อสายตระกูลดังกล่าว ปกครองเมืองพัทลุง ติดต่อกันมาเรื่อย ๆ จนถึงปี 2446 รวมการปกครองเมืองพัทลุง 110 ปี ส่วนหนึ่งก็ได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานกันในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดนครปฐม จังหวัดยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ
พระยาพัทลุง (ทองขาว) เป็นต้นตระกูลที่เกี่ยวโยงกับสกุลสายอื่นๆ อีกจำนวนมาก เช่น ตระกูล ณ พัทลุง สกุลจันทโรจวงศ์ สกุลศิริธร และยังเป็นคุณตาของเจ้าจอมมารดาทรัพย์ในรัชกาลที่ 3 จึงเป็นบรรพบุรุษทางชนนีของสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์) พระอัยกาพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง[1]
ลำดับสาแหรกของพระยาพัทลุง (ทองขาว) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.