Remove ads

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ราชอาณาจักรสยาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 เป็นราชอาณาจักรของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

ข้อมูลเบื้องต้น อาณาจักรรัตนโกสินทร์ราชอาณาจักรสยาม, เมืองหลวง ...
อาณาจักรรัตนโกสินทร์
ราชอาณาจักรสยาม[a]

2325–2475
แผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2348 (รวมดินแดนของเจ้าประเทศราช)
แผนที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2348 (รวมดินแดนของเจ้าประเทศราช)
แผนที่ทางรัฐศาสตร์ของราชอาณาจักรสยามก่อนสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452
แผนที่ทางรัฐศาสตร์ของราชอาณาจักรสยามก่อนสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452
เมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์
ภาษาทั่วไปไทย
ศาสนา
ศาสนาพุทธเถรวาท
เดมะนิมชาวสยาม
การปกครองระบอบราชาธิปไตยแบบระบบเจ้าขุนมูลนาย (พ.ศ. 2325–2435)
(110 ปี)
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พ.ศ. 2435–2475)
(40 ปี)
ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475)
(92 ปี)
พระมหากษัตริย์ 
 พ.ศ. 2325–2352
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระองค์แรก)
 พ.ศ. 2411–2453
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 พ.ศ. 2468–2478
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระองค์สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติอภิรัฐมนตรีสภา (พ.ศ. 2468–2475)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคต้นสมัยใหม่, ยุคสมัยใหม่
 สถาปนา
6 เมษายน 2325
2328–2329, 2352–2355
2369
2369–2371
2384–2388
18 เมษายน 2398
2417–2418
2436
22 กรกฎาคม 2460
24 มิถุนายน 2475
ประชากร
 พ.ศ. 2343[1]
4,000,000
 พ.ศ. 2472[2]
11,506,207
สกุลเงินพดด้วง (จนถึง พ.ศ. 2447)
บาทไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2447)
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรธนบุรี
นครเชียงใหม่
นครลำปาง
นครน่าน
นครลำพูน
นครแพร่
อาณาจักรนครศรีธรรมราช
อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
ประเทศไทย
อินโดจีนฝรั่งเศส
รัฐนอกสหพันธรัฐมลายู
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ปิด

ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับพม่า เวียดนามและลาว ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม อังกฤษและฝรั่งเศส จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่รัฐชาติ สมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น

Remove ads

การก่อตั้ง

Thumb
ภาพกรุงเทพมหานครโดยมีภูเขาทองเป็นฉากหลัง

รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกกฎหมายตราสามดวงประมวลกฎหมายใหม่ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ กรมกลาโหมปกครองทางใต้ กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราชซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พม่าซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328 ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก

การรุกรานเวียดนาม

ใน พ.ศ. 2319 เมื่อกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงียนและประชากรท้องถิ่นเป็นอันมาก เหงียน อั๊ญ (Nguyễn Ánh) พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ทรงหนีข้ามแม่น้ำมายังสยาม ขณะที่ลี้ภัยในสยาม เหงียน อั๋นห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับกบฏเต็ยเซินออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่วางพระองค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนด้านกำลังพลและกำลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. 2326

กลาง พ.ศ. 2327 เหงียน อั๊ญ พร้อมกับกองทัพสยาม 20,000-50,000 นาย และเรือ 300 ลำ[3] เคลื่อนผ่านกัมพูชา ทางตะวันออกของโตนเลสาบ และแทรกซึมแคว้นอันนัมซึ่งเพิ่งถูกผนวกล่าสุด ทหาร 20,000 นายถึงเกียนเซียง (Kien Giang) และอีก 30,000 นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เกิ่นเทอ (Cần Thơ) ปีเดียวกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซึ่งอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหารสยามกระทำทารุณต่อประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเวียดนาม ทำให้ประชาชนท้องถิ่นหันไปสนับสนุนเตยเซิน[3]

เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคลื่อนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้ำเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลางแม่น้ำบางเกาะ เผชิญกับกำลังอื่นฝั่งเหนือ พร้อมกำลังเสริมทางเรือทั้งสองฝั่งของที่ตั้งทหารราบ[3]

เช้าวันที่ 19 มกราคม เหงวียนเหวทรงส่งกำลังทางเรือขนาดเล็กใต้ธงสงบศึก เพื่อลวงให้ฝ่ายสยามเข้าสู่กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายครั้ง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าทำลายแนวของสยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันตั้งตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกทำลายสิ้น แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกทำลาย และมีกองทหารดั้งเดิมเพียง 2,000-3,000 นายที่รอดชีวิตหลบหนีกลับข้ามแม่น้ำไปในสยามได้[4]

Remove ads

สันติภาพ

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 100 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม

อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครองปีนัง และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้งสิงคโปร์ ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2367 กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ใน พ.ศ. 2368 อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2369 สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลดการผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น

กบฏเจ้าอนุวงศ์ของลาวพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2370 ซึ่งหลังจากนั้นสยามได้ทำลายกรุงเวียงจันทน์ และดำเนินการถ่ายโอนประชากรแบบบังคับจากลาวมายังภาคอีสานปัจจุบันที่ครอบครองแน่นหนากว่า และแบ่งแยกเมืองลาวเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อป้องกันการก่อการกำเริบอีก ใน พ.ศ. 2385-2388 สยามทำสงครามกับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้สยามปกครองกัมพูชาได้รัดกุมขึ้น

จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1840 (พ.ศ. 2383) เป็นที่ประจักษ์ว่า เอกราชของสยามอยู่ในอันตรายจากประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งระหว่างอังกฤษกับจีนใน พ.ศ. 2382-2385 ใน พ.ศ. 2393 อังกฤษและอเมริกาส่งคณะทูตมายังกรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ยุติการจำกัดการค้าทั้งหมด จัดตั้งรัฐบาลแบบตะวันตกและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองของตน รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านี้

ในทางเศรษฐกิจ นับแต่ก่อตั้งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ่อค้าจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ถูกขับไล่ออกไปโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกเหนือจากพ่อค้า ชาวจีนที่เป็นชาวนาก็เข้ามาแสวงโชคไม่หยุดหย่อนในราชอาณาจักร ผู้ปกครองสมัยนี้ต้อนรับชาวจีนเพราะเป็นแหล่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ่อค้าเชื้อสายจีนบางคนได้กลายมาเป็นข้าราชสำนึกถือตำแหน่งสำคัญ วัฒนธรรมจีน เช่น วรรณกรรม ได้รับการยอมรับและสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสยามกับจักรวรรดิจีนนั้นเข้มแข็ง ซึ่งรับประกันโดยคณะทูตบรรณาการ ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ชาวจีนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเกิดใหม่ของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์

Remove ads

การทำให้ทันสมัย

เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2394 ทรงถูกกำหนดให้ช่วยสยามให้รอดพ้นจากการครอบงำอาณานิคมโดยทรงบังคับให้คนในบังคับทันสมัย แม้พระองค์จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชในทางทฤษฎี แต่พระราชอำนาจของพระองค์มีจำกัด หลังจากออกผนวชนาน 27 ปี พระองค์จึงขาดฐานในหมู่เจ้านายที่ทรงอำนาจ และไม่อาจดำเนินระบบรัฐสมัยใหม่ตามพระประสงค์ได้ ความพยายามแรกของพระองค์ในการปฏิรูปเพื่อสถาปนาระบบการปกครองใหม่และยกสถานภาพของทาสสินไถ่และสตรีไม่สัมฤทธิ์ผล

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับการบุกรุกของตะวันตกในสยาม อันที่จริง พระองค์และข้าราชบริพารนิยมอังกฤษอย่างแข็งขัน ใน พ.ศ. 2398 มีคณะทูตอังกฤษ นำโดย เซอร์จอห์น เบาริง ผู้ว่าราชการฮ่องกง เดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานครเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทันที โดยได้รับการสนับสนุนจากการข่มขู่ใช้กำลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมยอมรับข้อเรียกร้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริง ซึ่งจำกัดอัตราภาษีขาเข้าที่ร้อยละ 3 กำจัดการผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ ไม่นาน ชาติตะวันตกอื่น ๆ ก็ได้เรียกร้องและได้สัมปทานที่คล้ายกัน

ไม่นาน พระองค์ก็ทรงตระหนักว่า ภัยคุกคามต่อสยามแท้จริงนั้นมาจากฝรั่งเศส มิใช่อังกฤษ อังกฤษสนใจในประโยชน์พาณิชย์ แต่ฝรั่งเศสสนใจสร้างจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสยึดครองไซ่ง่อนใน พ.ศ. 2402 และ พ.ศ. 2410 ได้สถาปนารัฐในอารักขาเหนือเวียดนามตอนใต้และกัมพูชาตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหวังว่าอังกฤษจะปกป้องสยามหากพระองค์พระราชทานสัมปทานเศรษฐกิจตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ในรัชกาลต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวังของพระองค์เป็นเพียงภาพลวงตา แต่ก็เป็นจริงที่อังกฤษมองสยามเป็นรัฐกันชนที่มีประโยชน์ระหว่างพม่าและมลายูของอังกฤษกับอินโดจีนฝรั่งเศส

Remove ads

การปฏิรูป

Thumb
สยาม พ.ศ. 2348

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2411 และสืบราชบัลลังก์ต่อโดยเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ วัย 15 ชันษา เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ทรงได้รับการศึกษาอย่างตะวันตกมาอย่างสมบูรณ์ ในตอนแรก รัชสมัยของพระองค์ถูกครอบงำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษนิยม แต่เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระองค์ก็ทรงเข้าปกครองโดยตรง พระองค์ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ระบบศาลและสำนักงบประมาณอย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงประกาศว่า ความเป็นทาสจะค่อย ๆ ถูกเลิกไปและจำกัดพันธะหนี้สินในช่วงแรก เจ้านายและผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมพระองค์อื่นสามารถขัดขวางวาระการปฏิรูปของพระมหากษัตริย์ได้ แต่เมื่อเจ้านายรุ่นเก่าถูกแทนที่ด้วยเจ้านายรุ่นใหม่และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก การขัดขวางก็จางลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพันธมิตรอันทรงพลังในพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลังปัจจุบัน) พระองค์แรก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงจัดระเบียบรัฐบาลภายในและการศึกษา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เป็นราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศกว่า 38 ปี เมื่อ พ.ศ. 2430 กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการเสด็จเยือนยุโรปเพื่อทรงศึกษาระบบรัฐบาล ในการถวายความเห็น พระมหากษัตริย์ทรงจัดตั้งการปกครองแบบรัฐสภา สำนักงานตรวจสอบบัญชีและกระทรวงธรรมการ (ดูแลการศึกษา) สถานะกึ่งปกครองตนเองของเชียงใหม่สิ้นสุดลง และกองทัพถูกจัดระเบียบใหม่และทำให้ทันสมัย

Thumb
แผนที่ทางรัฐศาสตร์ของราชอาณาจักรสยามก่อนสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449)

พ.ศ. 2436 เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสในอินโดจีนใช้ข้อพิพาทพรมแดนเล็กน้อยเพื่อปลุกปั่นวิกฤตการณ์ เรือปืนฝรั่งเศสปรากฏขึ้นที่กรุงเทพมหานคร และเรียกร้องให้โอนดินแดนลาวที่อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขออังกฤษ แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษกราบทูลพระองค์ให้ระงับด้วยเงื่อนไขใดก็ตามที่พระองค์จะทรงได้รับ และพระองค์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำตาม ท่าทีเดียวของอังกฤษคือ ความตกลงกับฝรั่งเศสรับประกันบูรณภาพของสยามส่วนที่เหลือ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สยามยอมยกการอ้างสิทธิ์เหนือรัฐฉานทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าแก่อังกฤษ

อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสยังคงกดดันสยาม และใน พ.ศ. 2449-2450 ก็ได้ก่อวิกฤตการณ์ขึ้นอีกหน หนนี้สยามจำต้องโอนดินแดนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและรอบจำปาศักดิ์ทางตอนใต้ของลาว ตลอดจนกัมพูชาตะวันตก ให้อยู่ในการควบคุมของฝรั่งศส อังกฤษเข้าไกล่เกลี่ยเพื่อกันมิให้ฝรั่งเศสระรานสยามอีก แต่ใน พ.ศ. 2452 สยามจำต้องจ่ายราคาเป็นการยอมรับอธิปไตยของอังกฤษเหนือไทรบุรี กลันตัน ปะลิสและตรังกานูภายใต้สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 "ดินแดนที่เสียไป" ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ที่ขอบเขตอิทธิพลของสยามและไม่เคยกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของสยามอย่างรัดกุมอีกเลย แต่ถูกบังคับให้สละการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดเหนือดินแดนเหล่านี้เป็นการทำให้พระมหากษัตริย์และประเทศอัปยศ และเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิกฤตการณ์เหล่านี้ถูกรัฐบาลที่เป็นชาตินิยมเพิ่มขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งการถือสิทธิ์ของตนต่อตะวันตกและประเทศเพื่อนบ้าน

Thumb
การสละการอ้างสิทธิเหนือดินแดนของสยามในรัชกาลที่ 5

ขณะเดียวกัน การปฏิรูปดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชซึ่งอิงความสัมพันธ์ของอำนาจเป็นรัฐชาติรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางสมัยใหม่ ขบวนการดังกล่าวเพิ่มพูนขึ้นภายใต้รัชสมัยพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งล้วนแต่ได้รับการศึกษาในยุโรปทั้งสิ้น ทางรถไฟและสายโทรเลขเชื่อมจังหวัดที่แต่ก่อนเคยห่างไกลและกึ่งปกครองตนเอง สกุลเงินถูกผูกติดกับมาตรฐานทองคำและระบบการจัดเก็บภาษีสมัยใหม่แทนที่การรีดภาษีตามอำเภอใจและราชการแรงงานอย่างในอดีต ปัญหาใหญ่ที่สุดคือ การขาดแคลนข้าราชการที่ผ่านการฝึกฝน และจำต้องจ้างชาวต่างชาติหลายคนกระทั่งสามารถสร้างโรงเรียนใหม่และมีการผลิตบัณฑิตออกมา จนถึง พ.ศ. 2453 หลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว อย่างน้อยสยามได้กลายมาเป็นประเทศกึ่งสมัยใหม่ และยังหนีการปกครองแบบอาณานิคมต่อไป

การกลายเป็นชาติสมัยใหม่

หนึ่งในการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 คือ การนำกฎหมายการสืบพระราชสันตติวงศ์แบบยุโรปมาใช้ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรส จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อมา พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยทหารแซนเฮิสต์ และที่ออกซฟอร์ด ปัญหาหนึ่งของสยาม คือ ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างพระราชวงศ์ที่มีแนวคิดแบบตะวันตกกับชนชั้นสูงและประชาชนที่เหลือของประเทศ ต้องใช้เวลาอีก 20 ปี การศึกษาแบบตะวันตกจึงขยายไปยังข้าราชการส่วนที่เหลือและกองทัพ อันเป็นแหล่งความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้

สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปทางการเมืองอยู่บ้าง แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งทรงเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีและทรงแต่งตั้งพระประยูรญาติดำรงตำแหน่งในทุกหน่วยงานของรัฐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีการศึกษาแบบตะวันตก ทรงทราบว่า ส่วนที่เหลือของชาติใหม่นี้ไม่อาจถูกตัดออกจากรัฐบาลได้ตลอดไป แต่พระองค์ไม่ศรัทธาในประชาธิปไตยแบบตะวันตก พระองค์ทรงปรับการสังเกตความสำเร็จของพระมหากษัตริย์อังกฤษในการปกครองอินเดีย โดยทรงปรากฏพระองค์แก่สาธารณะบ่อยครั้งขึ้นและทรงริเริ่มพระราชพิธีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี พระองค์ยังดำเนินแผนการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยต่อจากพระราชชนก มีการยกเลิกพหุสามีภริยา ริเริ่มการศึกษาขั้นประถมแบบบังคับ และใน พ.ศ. 2459 มีการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นจุดเริ่มต้นของอุดมศึกษา ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นแหล่งเพาะกลุ่มปัญญาชนใหม่ของสยาม

กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองหลวงของชาติมากขึ้นทุกที รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มโครงการพัฒนาทั่วประเทศหลายอย่าง แม้จะประสบปัญหาด้านการเงิน มีถนน สะพาน ทางรถไฟ โรงพยาบาลและโรงเรียนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศด้วยงบประมาณแห่งชาติจากกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งอุปราชที่เพิ่งตั้งใหม่ถูกแต่งตั้งไปประจำมณฑลเทศาภิบาล เป็นผู้แทนของพระมหากษัตริย์คอยกำกับเรื่องการปกครองในจังหวัดต่าง ๆ

พระองค์ยังได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า ซึ่งเป็นองค์การกำลังกึ่งทหารของสยามที่มีการผสมรวม "คุณลักษณะที่ดี" เข้าเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ของชาติ พระองค์ยังทรงจัดตั้งสาขาเยาวชนซึ่งดำรงมาถึงปัจจุบันเป็นคณะลูกเสือแห่งชาติ พระองค์ทรงใช้เวลามากในการพัฒนาขบวนการดังกล่าว ด้วยทรงเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างพันธะระหว่างพระองค์กับพลเมืองที่จงรักภักดี เหล่าอาสาสมัครที่ตั้งใจสละชีพเพื่อชาติและพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังเป็นหนทางหนึ่งที่พระองค์จะเลือกและให้เกียรติแก่ผู้ที่พระองค์โปรด ขบวนการกึ่งทหารดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่หายไปเมื่อถึง พ.ศ. 2470 แต่มีการฟื้นฟูและวิวัฒนามาเป็นกองอาสารักษาดินแดน หรือเรียก ลูกเสือชาวบ้าน

รูปแบบรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแตกต่างจากรัฐบาลในพระราชชนก ช่วงต้นรัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ใช้คณะของพระราชชนกและกิจวัตรประจำวันของรัฐบาลยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ฉะนั้นกิจการประจำวันที่กำลังดำเนินอยู่ส่วนมากจึงอยู่ในมือของผู้มีประสบการณ์และความสามารถ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้ทำให้สยามก้าวหน้า เช่น การพัฒนาแผนแห่งชาติให้การศึกษาแก่ประชากรทั้งหมด การจัดตั้งคลินิกที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษฟรี และการขยายทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ตำแหน่งอาวุโสค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพรรคพวกของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึง พ.ศ. 2458 คณะรัฐมนตรีครึ่งหนึ่งเป็นหน้าใหม่ ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นการเข้ามาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) แทนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย กรมพระยาดำรงราชานุภาพลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลอย่างเป็นทางการว่าสุขภาพไม่ดี แต่อันที่จริงเป็นเพราะการไม่ลงรอยกับพระมหากษัตริย์

Thumb
กำลังรบนอกประเทศของสยามระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในกรุงปารีส พ.ศ. 2462

ใน พ.ศ. 2460 สยามประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี โดยหลักเพื่อให้เป็นที่พอใจของอังกฤษและฝรั่งเศส การมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเชิงสัญลักษณ์ของสยามทำให้ได้ที่นั่งในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงใช้โอกาสนี้อภิปรายเรื่องการยกเลิกสนธิสัญญาเก่าสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการฟื้นฟูอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของสยาม สหรัฐอเมริกาตกลงยกเลิกสนธิสัญญาเหล่านั้นใน พ.ศ. 2463 ขณะที่ฝรั่งเศสและอังกฤษชะลอออกไปกระทั่ง พ.ศ. 2468 ชัยชนะนี้ทำให้พระมหากษัตริย์ได้รับความนิยมบ้าง แต่ความนิยมในพระองค์ได้ลดลงไปจากความไม่พอใจในประเด็นอื่น เช่น ความฟุ่มเฟือย ซึ่งกลายมาเป็นที่สังเกตได้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงหลังสงครามส่งผลกระทบต่อสยามใน พ.ศ. 2462

พระองค์ไม่มีทายาทที่เป็นโอรส ฉะนั้น เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อ พ.ศ. 2468 ด้วยพระชนมายุเพียง 44 พรรษา สถาบันพระมหากษัตริย์ก็อยู่ในสภาพที่อ่อนแอแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา

Remove ads

วัฒนธรรม

ในสยามสมัยหลังกรุงเก่า การฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมเป็นส่วนสำคัญของการสืบทอดพระพุทธศาสนามิให้เสื่อมสูญไปตามภาวะสงครามและสภาพบ้านเมืองที่มีปัญหาขื่อแปเป็นเวลานาน

จากนั้น การฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมก็ยังคงได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติธรรมที่รุ่งเรืองและเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางในปัจจุบันจึงมิได้ดำเนินมาตามยถากรรม หากแต่ได้ผ่านการดูแลรักษาไว้แต่อดีต

สมัยกรุงธนบุรีเป็นสมัยที่การปฏิบัติธรรมได้รับการสืบทอดมิให้เสื่อมหายหรือขาดตอน

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปฏิบัติธรรมได้รับการส่งเสริมให้เติบโตควบคู่ไปกับการศึกษาของพระสงฆ์

ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลางและตอนปลาย การปฏิบัติธรรมได้รับการชำระให้มีแนวทางที่ถูกต้องและตรงสู่เป้าหมายที่แท้จริงของชาวพุทธ

ร้อยปีแห่งการชำระแนวทางการปฏิบัติธรรมนี้เป็นเหตุอันมีส่วนสร้างความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน

การสิ้นสุดรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรี สำนักกรรมฐานของสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สายปฏิบัติที่มีประวัติพอติดตามได้นั้นได้มีการสานต่อที่วัดประดู่ในอยุธยาที่เคยร้างไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุง

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูการปฏิบัติธรรมตามแนวทางสมถวิปัสสนายังคงมีการสานต่ออย่างเข้มแข็ง

เมื่อมีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเชิญพระภิกษุอาวุโสจากกรุงเก่ามาเป็นหลักในงานวิปัสสนาธุระ เกิดสำนักกรรมฐานหลักขึ้นที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) และวัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทั้งสองวัดเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีอันเป็นวัดนอกเมืองที่มุ่งไปทางการปฏิบัติธรรม

สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ซึ่งครองวัดพลับและพระปัญญาพิศาลเถร (ศรี) ซึ่งครองวัดสมอรายต่างสืบสายปฏิบัติมาจากคณะวัดป่าแก้วและต่างเป็นพระอาจารย์สำคัญในพระบรมวงศานุวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 ทรงเคยปฏิบัติธรรมในสำนักพระอาจารย์ทองอยู่ที่วัดระฆัง สมัยรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี และเมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงปฏิบัติในสำนักพระปัญญาพิศาลเถร (ศรี) เมื่อครั้งที่พระองค์อุปสมบทในปี พ.ศ. 2331 ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ 4 ก็ทรงปฏิบัติในสำนักของสมเด็จพระญาณสังวร (สุก)

ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น การปฏิบัติธรรมได้รับการส่งเสริมอย่างมากและถือเป็นส่วนสำคัญของการสืบสานพระศาสนา มีการแต่งตั้งอาจารย์บอกกรรมฐานของวัดจำนวนมาก กุลบุตรกุลธิดาก็มีการศึกษาในวัดเป็นปกติ การปฏิบัติธรรมจึงมีบทบาทมากในหมู่ฆราวาสอย่างกว้างขวาง มิใช่เฉพาะพระภิกษุและผู้อาวุโสชราเท่านั้น

การศึกษากรรมฐานและธุดงควัตรแบบอรัญวาสีเป็นกิจที่พระสงฆ์สนใจปฏิบัติเพิ่มเติมจากการศึกษาพระบาลี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงส่งเสริมวิปัสสนาธุระมาก วัดที่มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนาธุระมีหลายแห่ง เช่น วัดเงินบางพรหม (วัดรัชฎาธิษฐาน) วัดสมอแครง (วัดเทวราชกุญชร) วัดสระเกศ วัดอรุณ วัดอินทร์ และวัดสังเวชวิชยาราม ส่วนวัดทั่วไปก็มักส่งเสริมทั้งทางด้านปริยัติและวิปัสสนาควบคู่กัน

Remove ads

การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์

แตกต่างจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ่านเอกสารสำคัญของรัฐแทบทั้งหมดที่ผ่านมาทางพระองค์อย่างขันแข็ง ภายในครึ่งปี มีรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว​ทรงแต่งตั้ง 12 คน เหลือเพียง 3 คน ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ในแง่หนึ่ง การแต่งตั้งนี้ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่อีกแง่หนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณถึงการหวนคืนสู่คณาธิปไตยโดยราชวงศ์ ชัดเจนว่า พระองค์ทรงต้องการแสดงถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนกับรัชกาลที่ 6​ ที่ถูกทำให้เสียความน่าเชื่อถือ และตัวเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญเหมือนจะถูกชี้นำโดยพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูรัฐบาลแบบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มรดกเริ่มต้นที่พระองค์ทรงได้รับจากพระเชษฐา คือ ปัญหาชนิดที่กลายมาเรื้อรังในรัชกาลที่ 6​ ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เศรษฐกิจ การเงินของรัฐอยู่ในความยุ่งเหยิง งบประมาณติดลบอย่างหนัก และบัญชีของพระมหากษัตริย์เต็มไปด้วยหนี้สินและธุรกรรมที่น่าสงสัย และการที่ประเทศที่เหลือในโลกต่างประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มิได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น

พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว​ คือ ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เป็นนวัตกรรมเชิงสถาบันมีเจตนาเพื่อฟื้นฟูความความเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล คณะองคมนตรีนี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีประสบการณ์และทรงพระปรีชาสามารถ รวมทั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานด้วย เจ้านายเหล่านี้ค่อย ๆ ถือสิทธิ์เพิ่มอำนาจโดยผูกขาดตำแหน่งรัฐมนตรีหลักทั้งหมด เจ้านายหลายพระองค์รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของพวกตนที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในรัชกาลก่อน แต่โดยทั่วไปไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก

ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันความสนพระทัยไปยังปัญหาอนาคตการเมืองในสยาม พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างอังกฤษ มีพระราชประสงค์ให้สามัญชนมีสิทธิ์มีเสียงในการงานของประเทศโดยการตั้งรัฐสภา มีพระบรมราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ทรงถูกที่ปรึกษาปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหารกรุงเทพมหานครก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ 49 คน และเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช 150 กว่าปี.

Remove ads

ระบบไพร่

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ยังคงใช้ระบบไพร่ตามอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรธนบุรี แต่พบว่าจำนวนประชากรในอาณาจักรเพิ่มมากขึ้น ระยะเวลาการเกณฑ์แรงงานไพร่จึงลดลงเหลือ 4 เดือนต่อปี และ 3 เดือนต่อปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งนี้ ทางการได้หันไปจ้างแรงงานกุลีจากจีนมาทำงานมากกว่าการใช้ไพร่เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่า ระบบไพร่จึงมีความสำคัญน้อยลงจนกระทั่งถูกยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]

Remove ads

การเปลี่ยนแปลงทางดินแดนของสยามและไทย

เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางดินแดน

ข้อมูลเพิ่มเติม #, รัชสมัย ...
#รัชสมัยวันที่ดินแดนให้เนื้อที่ (ตร.กม.)
1รัชกาลที่ 415 กรกฎาคม พ.ศ. 2410แคว้นเขมร และเกาะอีก 6 เกาะ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส)124,000
2รัชกาลที่ 522 ธันวาคม พ.ศ. 2431สิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหก อินโดจีนของฝรั่งเศส87,000
3รัชกาลที่ 527 ตุลาคม พ.ศ. 2435ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) บริติชราช30,000
ปิด
ข้อมูลเพิ่มเติม วันที่, ดินแดนพิพาท ...
วันที่ดินแดนพิพาทเนื้อที่รัฐคู่พิพาทหมายเหตุ
3 ตุลาคม พ.ศ. 2436ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และ ราชอาณาจักรลาว143,000 อินโดจีนของฝรั่งเศสสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 (Traité franco-siamois du 3 octobre 1893)
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2446ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (จำปาศักดิ์ ไชยบุรี)25,500 อินโดจีนของฝรั่งเศสสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122
23 มีนาคม พ.ศ. 2450พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ51,000 อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส)หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125[6]
10 มีนาคม พ.ศ. 2452ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู38,455 สหภาพมาลายา (อังกฤษ)สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[7]
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ51,326 อินโดจีนของฝรั่งเศสอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส[8]
30 กันยายน พ.ศ. 2484เกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง ? อินโดจีนของฝรั่งเศสแถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส[9]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2489จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ
และเกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง
 ? อินโดจีนของฝรั่งเศสความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส (อนุสัญญาโตเกียว)[10]
ปิด

แผนที่การเปลี่ยนแปลงทางดินแดน

พ.ศ. 2450

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (พ.ศ. 2449 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 พร้อมด้วยสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายวี คอลแลง (เดอ ปลังซี) โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[6]

  • รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ กับเมืองศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส (ข้อ 1)
  • รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมลิง[11]ไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม (ข้อ 2)

พ.ศ. 2452

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 (พ.ศ. 2451 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[7] และสัญญาว่าด้วยเขตรแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 127 คฤสตศักราช 1909[12] ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายราลฟ์ แปชยิด โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

เชิงอรรถ

  1. บทความนี้กล่าวถึงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น, ใช้ชื่อว่า "สยาม" ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 (สนธิสัญญาเบาว์ริง)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.

Remove ads