รัฐปะลิส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปะลิส[3] หรือ เปอร์ลิซ[3] หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ[4] และ เปอร์ลิศ[5] (มลายู: Perlis, ڤرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan, ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย
รัฐปะลิส Negeri Perlis | |
---|---|
เนอเกอรีเปอร์ลิซอินเดอรากายางัน Negeri Perlis Indera Kayangan | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Perlis (รูมี) ڤرليس (ยาวี) |
เพลง: อามินอามินยาราบัลจาลิล | |
พิกัด: 6°30′N 100°15′E | |
เมืองหลวง | กางาร์ |
เมืองเจ้าผู้ครอง | อาเรา |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• รายา | สมเด็จพระราชาธิบดีซัยยิด ซีรอญุดดีน |
• มุขมนตรี | อัซลัน มัน (BN-UMNO) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 819 ตร.กม. (316 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2019)[2] | |
• ทั้งหมด | 254,400 คน |
• ความหนาแน่น | 310 คน/ตร.กม. (800 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010) | 0.779 (สูง) (อันดับที่ 8) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 01xxx ถึง 02xxx |
รหัสโทรศัพท์ | 04 |
ทะเบียนพาหนะ | R |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
เว็บไซต์ | www |
ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือกางาร์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบอซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาเปอร์ลิซ
ปะลิสเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรี แม้ว่าบางครั้งจะอยู่ภายใต้การปกครองของสยามหรืออาเจะฮ์ก็ตาม หลังจากสยามปราบไทรบุรีได้ในปี พ.ศ. 2364 (ค.ศ. 1821) อังกฤษก็รู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนในเมืองเประถูกคุกคาม
ผลทำให้ในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เกิดข้อตกลงระหว่างสยามและสองรัฐมลายูในนามของเจ้าผู้ครองนคร ในสนธิสัญญาเบอร์นีได้เนรเทศสุลต่านอาห์มัด ตาจุดดิน ออกจากตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครไทรบุรี ไม่สามารถกลับเข้ามาปกครองได้อีกจนกระทั่งปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) โดยยอมรับอำนาจของสยามในที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม จากความไม่ไว้วางใจของสยามในตัวเจ้าผู้ครองนคร ทำให้สยามแยกไทรบุรีออกเป็นสี่ส่วนขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สตูล ปะลิส ไทรบุรี และกะปังปาสู
ซัยยิด ฮุสเซน ญะมาลุลลัยล์ ผู้มีพื้นเพมาจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหลานของสุลต่านไทรบุรี ได้กลายเป็นรายาองค์แรกของเมืองปะลิส ผู้สืบสกุลของรายาองค์นี้ยังคงปกครองปะลิส แต่เป็นในฐานะรายา แทนที่ฐานะสุลต่าน
ต่อมา สนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 บังคับให้สยามต้องสละเมืองปะลิสให้กับอังกฤษ พร้อม ๆ กับเมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู โดยอังกฤษได้แต่งตั้งผู้แทนของอังกฤษขึ้นในเมืองอาเรา
เศรษฐกิจของรัฐส่วนใหญ่เป็นด้านเกษตรกรรม เช่น ข้าว น้ำตาล และการประมงเป็นสำคัญ ส่วนด้านอุตสาหรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก
ชาวรัฐปะลิสนับถือศาสนาตามลำดับดังต่อไปนี้ อิสลามร้อยละ 87.9, พุทธร้อยละ 10, ฮินดูร้อยละ 0.8, คริสต์ร้อยละ 0.6, ศาสนาพื้นบ้านของจีน ร้อยละ 0.2 และไม่มีศาสนาร้อยละ 0.2
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.