คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

บริติชราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริติชราช
Remove ads

บริติชราช (อังกฤษ: British Raj) เป็นการปกครองของพระมหากษัตริย์อังกฤษในอนุทวีปอินเดีย[6] เรียกอีกอย่างว่า การปกครองส่วนพระองค์ในอินเดีย[7] (อังกฤษ: Crown rule in India) หรือ การปกครองโดยตรงในอินเดีย[8] (Direct rule in India) โดยดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1858 จนถึง 1947[9] ภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การปกครองของบริเตนแห่งนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า อินเดีย ตามการใช้งานในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่ในปกครองของสหราชอาณาจักรโดยตรง ซึ่งเรียกแบบโดยรวมว่าบริติชอินเดีย ตลอดจนรัฐในปกครองของเจ้าพื้นเมือง แต่เนื่องจากบรรดารัฐดังกล่าวอยู่ภายใต้อธิปไตยชั้นสูงสุดโดยบริเตน จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวเรียกว่ารัฐมหาราชา บางครั้งภูมิภาคแห่งนี้เรียกว่า บริติช-อินเดีย หรือ จักรวรรดิอินเดีย ถึงแม้ว่าจะเป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม[10]

ข้อมูลเบื้องต้น อินเดีย, สถานะ ...
Remove ads

ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกกว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสองประเทศในเครือจักรภพคืออินเดีย (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และปากีสถาน (ประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) ส่วนพม่านั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และรัฐบาลสหราชอาณาจักรปกครองโดยตรงตั้งแต่บัดนั้น

บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (1839-1937), พม่าตอนบน (1885-1937), และพม่าตอนล่าง (1853-1937), โซมาลิแลนด์ของบริเตน (1884-98), โอมานและมัสกัต (1892-1947), บาห์เรน (1861-1947), กาตาร์ (1916-47), คูเวต (1899-1947), รัฐทรูเชียล (1820-1947), และ สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (1826-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ บริติชซีลอน (ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน) มีฐานะเป็นคราวน์โคโลนีที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย

ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้มีความขัดแย้งกับสหราชอาณาจักร แต่ก็ลงนามทำสนธิสัญญากันและได้รับการยอมรับในฐานะรัฐเอกราชและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของบริติชราช[11][12] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐราชวงศ์หลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี 1862 อย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีการตกลงในประเด็นว่าด้วยความมีอธิปไตย มัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ปี 1867 ถึงปี 1965 ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช

Thumb
เหรียญทองหนึ่งโมอูร์ (เท่ากับ 15 เหรียญเงินรูปี) เป็นเงินตราที่ใช้ในบริติชราชตลอดจนในเนปาลและอัฟกานิสถาน
Remove ads

บริติชอินเดียและรัฐมหาราชา

สรุป
มุมมอง

อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ บริติชอินเดีย ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ รัฐพื้นเมือง (รัฐมหาราชา) ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:

(4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย
(5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย[1]

โดยทั่วไป คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นใช้เพื่อสื่อถึงอนุทวีปอินเดียภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1600 ถึง 1858 นอกจากยังคำว่าบริติชอินเดีย ยังใช้สื่อถึงชาวอังกฤษในอินเดียด้วย ส่วนคำว่า "จักรวรรดิอินเดีย" นั้นเป็นคำที่ไม่ใช้ในสารบบกฎหมาย แต่เนื่องจากกษัตริย์อังกฤษทรงปกครองอินเดียในพระอิสริยยศ จักรพรรดิแห่งอินเดีย ดังนั้นเวลากษัตริย์อังกฤษมีพระราชดำรัสไปยังรัฐสภาจึงมักจะเรียกอินเดียว่า "จักรวรรดิอินเดีย" ทั้งนี้ หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลบริติชอินเดียนั้น ปรากฏคำว่า "Indian Empire" บนปก และปรากฏคำว่า "Empire of India" อยู่ด้านใน[13] นอกจากนี้ยังมีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งแห่งจักรวรรดิอินเดีย ด้วย

มณฑลขนาดใหญ่

ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 บริติชอินเดียประกอบด้วยมณฑลทั้งสิ้น 8 มณฑล ซึ่งมณฑลเหล่านั้นได้รับการปกครองโดยผู้ว่าราชการ หรือรองผู้ว่าราชการ

ข้อมูลเพิ่มเติม มณฑล (และดินแดนในปัจจุบัน), พื้นที่รวม ...

ในช่วงของการแบ่งเบงกอล (ค.ศ. 1905–1913) มณฑลอัสสัมและเบงกอลตะวันออกได้รับการก่อตั้งขึ้นในฐานะเขตผู้แทนพระองค์ ใน ค.ศ. 1911 มณฑลเบงกอลตะวันออก ถูกรวมกับมณฑลเบงกอลอีกครั้ง และมณฑลใหม่ทางตะวันออกได้กลายไปเป็นมณฑลอัสสัม, เบงกอล, พิหาร และโอฑิศา[14]

Remove ads

ธงที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

    อ้างอิง

    Loading content...

    บรรณานุกรม

    Loading content...

    หนังสืออ่านเพิ่ม

    Loading related searches...

    Wikiwand - on

    Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

    Remove ads