รัฐเกรละ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรละ [เก-ระ-ละ] (ฮินดี: केरल; มลยาฬัม: കേരളം) เป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งมะละบาร์ของประเทศอินเดีย รัฐเกรละก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1956 ตามการประกาศใช้ States Reorganisation Act โดยรวมภูมิภาคสองรัฐที่ใช้ภาษามลยาฬัมเข้าด้วยกันคือ ตรวันโกเล-โกจีน (Travancore-Cochin) และมัทราส รัฐเกรละมีพื้นที่กว่า 38,863 km2 (15,005 sq mi) มีพื้นที่เป็นอันดับที่ยี่สิบสาม มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกรณาฏกะทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐทมิฬนาฑูทางตะวันออกและใต้ และลักษทวีปทางทะเล[11] ทางตะวันตก รัฐเกรละประกอบด้วยประชากร 33,387,677 คนตามที่ระบุในสำมะโนประชากรปี 2011 คิดเป็นอันดับที่สิบสามของประเทศอินเดีย การปกครองของรัฐแบ่งออกเป็น 14 เขต โดยมีเมืองหลวงคือติรุวนันตปุรัม ภาษามลยาฬัมเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐ[12]
รัฐเกรละ | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: นิยามสภามันทิรัม (Niyamasabha Mandiram), โกชิมารีน่า, หาด Muzaffilangad (Muzhappilangad Beach), น้ำตกอถิรัปปิลลี (Athirappilly Falls), เรือบ้าน, มันนาร์ (Munnar hills) | |
สมญา: แผ่นดินส่วนพระองค์ของพระเจ้า (God's Own Country), สวนเครื่องเทศของอินเดีย, ดินแดนมะพร้าว, ดินแดนแห่งต้นไม้ | |
ที่ตั้งของเกรละ | |
พิกัด (ติรุวนันตปุรัม): 8.5°N 77°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
ได้รับสถานะเป็นรัฐ | 1 พฤศจิกายน 1956 |
เมืองหลวง | ติรุวนันตปุรัม |
เขต | 14 เขต |
การปกครอง | |
• องค์กร | รัฐบาลเกรละ |
• ราชยปาล | อารีฟ โมฮัมหมัด ข่าน (Arif Mohammad Khan) |
• มุกขยนายก | ปีนารายี วิชยัน (Pinarayi Vijayan) (พรรค CPI(M)) |
• นิติบัญญัติ | ระบบสภาเดี่ยว (141 ที่นั่ง) |
• สมาชิกรัฐบาล | |
• ศาลสูง | ศาลสูงเกรละ โกชิ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 38,863 ตร.กม. (15,005 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 23 |
ความสูงจุดสูงสุด (อานามูดี (Anamudi)) | 2,695 เมตร (8,842 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด (กุตตานาท (Kuttanad)) | −2.2 เมตร (−7.2 ฟุต) |
ประชากร (2011)[1] | |
• ทั้งหมด | 33,387,677 คน |
• อันดับ | ที่ 13 |
• ความหนาแน่น | 860 คน/ตร.กม. (2,200 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | ชาวเกรละ (Keralite), ชาวมลายี (Malayali) |
จีดีพี (2017–18)[2][3] | |
• รวม | ₹9.78ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก (2020–21) |
• ต่อหัว | ₹225,484 (2018–19) |
ภาษา | |
• ภาษาราชการ | ภาษามลยาฬัม[4] |
• ภาษาราชการเพิ่มเติม | ภาษาอังกฤษ[5] |
เขตเวลา | UTC+05:30 (IST) |
รหัส ISO 3166 | IN-KL |
ทะเบียนพาหนะ | KL |
เอชดีไอ (2018) | 0.779[6] (High) · ที่ 1 |
การรู้หนังสือ (2011) | 94%[7] |
อัตราส่วนเพศ (2011) | 1084 ♀/1000 ♂[7] |
เว็บไซต์ | kerala |
สัญลักษณ์ | |
สัตว์ | ช้างเอเชีย |
สัตว์ปีก | นกกก |
สัตว์น้ำ | ปลาหมอโครมายด์เขียว |
ผีเสื้อ | Papilio buddha[8] |
ดอกไม้ | ราชพฤกษ์ |
ผลไม้ | ขนุน [9] |
ต้นไม้ | ต้นมะพร้าว[10] |
จักรวรรดิเจระ (Chera Dynasty) เป็นอาณาจักรแรกที่ตั้งรกรากถาวรบนพื้นที่ของเกรละ ตามด้ายอาณาจักรอัย (Ay kingdom) ลึกเข้าไปทางใต้และ อาณาจักรเอญีมาลา (Ezhimala kingdom) ในทางตอนเหนือ และอาณาจักรอื่น ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงปีหลังคริสตกาล บริเวณนี้เป็นจุดส่งออกเครื่องเทศที่สำคัญของโลกนับตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ความโดดเด่นในแวดวงการค้าขายนั้นพบในบันทึกของพลินีผู้อาวุโสและในบันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน เมื่อราว ค.ศ. 100 ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การค้าเครื่องเทศได้ดึงดูดพ่อค้าชาวโปรตุเกสมายังเกรละ และนำไปสู่อาณานิคมอินเดีย ในยุคสมัยของขบวนการเรียกร้องเอกราชอินเดีย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีอยู่สองรัฐมหาราชาที่ยังหลงเหลืออยู่ คือ รัฐเกรละ-รัฐตรวันโกเล (Kerala - Travancore State) กับราชอาณาจักรโกจีน (Kingdom of Cochin) ทั้งสองได้รวมกันเพื่อก่อตั้ง ติรู-โกจี (Thiru-Kochi) ในปี 1949 บริเวณภูมิภาคมะละบาร์ทางตอนเหนือของเกรละได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมัทราสในสมัยบริติชอินเดีย ซึ่งในภายหลังคือรัฐมัทราส ในยุคหลังได้รับเอกราช หลังการประกาศใช้ States Reorganisation Act, 1956 รัฐเกรละในปัจจุบันก็ได้จัดตั้งขึ้นโดยการรวมเขตมะละบาร์ของรัฐมัทราส (ยกเว้นเพียง Gudalur taluk ใน เขตนิลคีรีส (Nilgiris district), Topslip, ป่า Attappadi ทางตะวันออกของ Anakatti), รัฐติรู-โกจี (ยกเว้นตาลุกะทางใต้สี่แห่งของเขตกันยากุมารี (Kanyakumari), Shenkottai และ Tenkasi taluks), และตาลุกะใน Kasaragod (ปัจจุบันคือเขต Kasaragod District)
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.