Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 - 1 กันยายน พ.ศ. 2429) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี[1] (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) พระองค์เป็นต้นราชสกุล มาลากุล และเป็นพระโสทรอนุชาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ (ต้นราชสกุล อาภรณ์กุล) ทั้งสองราชสกุลจึงถือเป็นญาติใกล้ชิดกัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 เจ้าฟ้าชั้นเอก กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | |
ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและพระคลังทั้งปวง | |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สมุหนายก | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2421 - 2429 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) |
ถัดไป | เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) |
ประสูติ | 24 เมษายน พ.ศ. 2362 |
สิ้นพระชนม์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2429 (67 ปี) |
พระชายาและหม่อม | พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง หม่อมทรัพย์ หม่อมกลีบ |
พระบุตร | 11 พระองค์ |
ราชสกุล | มาลากุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี |
หลังทรงสำเร็จการศึกษา ทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการในกรมวัง ดูแลภายในพระบรมมหาราชวังและพิจารณาตัดสินคดีความ กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กรมการศาสนา) ถึงปีกุน พ.ศ. 2394 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฏิพัทธ์ บุรุษรัตน์วโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี ให้ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมหมื่นบำราบปรปักษ์[2] ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ชั้นกรมขุน ทรงศักดินา 50,000[3]
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพร้อมกันสมมติให้เป็น ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองต่างๆ และเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ ทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2417 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตรวิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิสรรพศุภการ สกลรักษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร์ ยุติธรรมาทวาธยาศรัย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพถบพิตร ทรงศักดิดา 50,000[4]
และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกิจ ปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริตจริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนราภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรประการ ปรัชาชาญยุติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตนสุขุมาลกระษัตริย์วิสุทธิชาติ ธรรมิกนาถบพิตร ทรงศักดินา 60,000[5]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เริ่มประชวรมาตั้งแต่เดือน 8 ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2429) มีพระอาการเสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ ถึงวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พระอาการทรุดลง เสวยได้แต่พระกระยาหารต้มไม่เกินหนึ่งฝาเล็ก ได้พระโอสถแล้วพระอาการทรงมาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ก็ทรุดลงอีก เสวยได้แต่น้ำพระกระยาหารต้ม ครึ่งฝาถ้วยเล็ก พระอาการทรุดลงเรื่อย ๆ ถึงวันอังคารที่ 31 สิงหาคม ทรงอ่อนเพลีย ประชวรพระนาภี ทรงหอบเป็นคราว ๆ พระเนตรมัว พระกรรณตึง จนกระทั่งวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 1 กันยายน[6] ทรงหอบและเพลียมากขึ้น สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 4.25 น. สิริพระชันษา 67 ปี 130 วัน ช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาสรงน้ำพระศพ แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ เครื่องสูง 9 คัน ชุมสาย 4 คัน พระพิธีธรรม 8 รูป สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2430
ทรงมีพระโอรสและพระธิดา จำนวน 11 พระองค์ กับพระชายา จำนวน 1 พระองค์ และหม่อมจำนวน 2 คน ดังนี้[8]
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.