หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 – 10 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นนักการทูตและข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่าง พ.ศ. 2501-2505
ปีกทิพย์ มาลากุล | |
---|---|
![]() | |
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 27 สิงหาคม พ.ศ. 2500 – 18 เมษายน พ.ศ. 2501 | |
ก่อนหน้า | หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร |
ถัดไป | หม่อมเจ้าวงศานุวัตร เทวกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 |
เสียชีวิต | 10 กันยายน พ.ศ. 2517 (67 ปี) |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | ชนัฏ กาญจนะวณิชย์ (สมรส 2476) |
บุตร | 5 คน |
บุพการี |
|
อาชีพ | นักการทูต |
ประวัติ
หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล เป็นบุตรของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) และท่านผู้หญิงนงเยาว์ มาลากุล ณ อยุธยา มีพี่น้องร่วมมารดา ได้แก่
- หม่อมหลวงปม มาลากุล
- หม่อมหลวงประทิน มาลากุล
- หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล
- หม่อมหลวงประสาธะนี มาลากุล
- หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล
- หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล
- หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
- หม่อมหลวงศิริปทุม มาลากุล
มีพี่น้องต่างมารดา เกิดจาก เจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ ได้แก่
- ม.ล. เทียม มาลากุล
และมีพี่น้องต่างมารดา เกิดจาก คุณวงศ์ บุญยะรังคะ ได้แก่
- ม.ล. กวิน มาลากุล
- ม.ล. หวิว มาลากุล
- ม.ล. หวีด มาลากุล
ประวัติการทำงาน
หม่อมหลวงปีกทิพย์ เป็นนักการทูตไทยคนแรกในประเทศพม่า เป็นอุปทูตไทย เมื่อครั้งเปิดสถานทูต เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2492 หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ต่อมาจึงได้เลื่อนเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศพม่า แล้วจึงย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [1] ท่านเป็นผู้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรป 14 ประเทศ เป็นเวลา 7 เดือน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503
ชีวิตครอบครัว
หม่อมหลวงปีกทิพย์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ สมรสกับนางชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (บุตรีของพระยาประกิตกลศาสตร์) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
- ปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา
- ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตรชาย 1 คน คือ นายธรรมา มาลากุล ณ อยุธยา
- พลเอกแป้ง มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ คุณหญิงศิริรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา (เอื้อวิทยา)
- คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับหม่อมหลวงเสรี ปราโมช
- ทับทิม มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับนายอลาสแตร์ เลน (Alastair Lane) ชาวอังกฤษ มีบุตรคือ ซาร่า มาลากุล เลน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
สรุป
มุมมอง
หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2503 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2479 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2500 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2498 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2484 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช ชั้นที่ 3 ตติยาภรณ์ (CBE)[7]
- พ.ศ. 2504 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นที่ 1 อัศวินสูงสุด (GCVO)[8]
- พ.ศ. 2484 –
ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2486 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 3[9]
- พ.ศ. 2486 –
ประเทศแมนจูกัว :
ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 3 กอม็องเดอร์[11]
- พ.ศ. 2498 –
เบลเยียม :
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 2[11]
- พ.ศ. 2498 –
เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2 กางเขนมหาเกียรติคุณพร้อมดาราและสายสะพาย (ทวีติยาภรณ์)[11]
- พ.ศ. 2498 –
อิตาลี :
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[11]
- พ.ศ. 2498 –
เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2498 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[11]
- พ.ศ. 2498 –
กัมพูชา :
- พ.ศ. 2498 –
เหรียญมงกุฎกัมพูชา[12]
- พ.ศ. 2498 –
พม่า :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นที่ 3 มหาสเรสิธุ (ฝ่ายพลเรือน)[13]
- พ.ศ. 2499 –
ลาว :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ล้านช้างร่มขาว ชั้นที่ 2 ทุติยาภรณ์[14]
- พ.ศ. 2499 –
กรีซ :
- พ.ศ. 2499 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ฟีนิกซ์ ชั้นที่ 2[15]
- พ.ศ. 2499 –
สเปน :
- พ.ศ. 2500 –
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2500 –
ไต้หวัน :
- พ.ศ. 2500 –
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 2 (ชั้นสายสะพาย)[17]
- พ.ศ. 2500 –
เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1 อัศวินมหากางเขน[18]
- พ.ศ. 2507 –
มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 2[18]
- พ.ศ. 2507 –
อิหร่าน :
ปากีสถาน :
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.