พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2332 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายสุริยา ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 12 แรม 1 ค่ำ ปีระกา เอกศก จุลศักราช 1151 ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2332 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่ และเป็นองค์ต้นราชสกุล สุริยกุล
ข้อมูลเบื้องต้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร, ประสูติ ...
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร |
---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 1 พระองค์เจ้าชั้นเอก |
ประสูติ | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2332 |
---|
สิ้นพระชนม์ | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 (65 ปี) |
---|
พระบุตร | 32 องค์ |
---|
ราชสกุล | สุริยกุล |
---|
ราชวงศ์ | จักรี |
---|
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
---|
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาเพ็งใหญ่ ในรัชกาลที่ 1 |
---|
ปิด
ในปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นรามอิศเรศร และโปรดให้ว่าราชการความรับสั่งและความฎีกา ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมขุนรามอิศเรศร[1] และในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมพระรามอิศเรศร สรรพเชษฐบรมวงศ์ ปฐมพงศภูวนาถ วรราชศักดิสมมุติ วิสุทธิเกียรติคุณ วิบุลยเดชบดินทร นรินทรบพิตร[2]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1216 ตรงกับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่มีพระชันษาสูงที่สุด พระราชทานเพลิง ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2398[3]
- หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - 7 กันยายน พ.ศ. 2448)
- หม่อมเจ้าชายหนู สุริยกุล (พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าหญิงกลาง สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงประไภ สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงพยอม สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - 15 เมษายน พ.ศ. 2452)
- หม่อมเจ้าหญิงหรีด สุริยกุล (พ.ศ. 2374 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2434)
- หม่อมเจ้าชายสุนทรรส สุริยกุล
- หม่อมเจ้าชายประทม สุริยกุล (พ.ศ. 2375 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2428)[4]
- หม่อมเจ้าหญิงริต สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2435)
- หม่อมเจ้าชายนิ่ม สุริยกุล (พ.ศ. 2380 - 4 กันยายน พ.ศ. 2421)
- หม่อมเจ้าหญิงเสงี่ยม สุริยกุล (พ.ศ. 2380 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459)
- หม่อมเจ้าหญิงถนอม อิศรเสนา (สุริยกุล) เสกสมรสกับ หม่อมเจ้าจันตรี อิศรเสนา มีบุตรคือ หม่อมราชวงศ์รัด อิศรเสนา
- หม่อมเจ้าหญิงสงสาร สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2446)
- หม่อมเจ้าหญิงเครือวัน สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงเล็ก สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงลม้าย สุริยกุล (พ.ศ. 2384 - 2 กันยายน พ.ศ. 2460)
- หม่อมเจ้าชายเจ๊ก สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงเล็ก สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงสุ่ม สุริยกุล (พ.ศ. 2387 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2457)
- หม่อมเจ้าชายหนู สุริยกุล (พ.ศ. 2390 - 4 มกราคม พ.ศ. 2462)
- หม่อมเจ้าชายจำเริญ สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2462)
- หม่อมเจ้าชายภุชฌงค์ สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงสวัสดิ สุริยกุล (พ.ศ. 2393 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2420)
- หม่อมเจ้าชายจัน สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงกลิ่น สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429)
- หม่อมเจ้าหญิงเป้า สุริยกุล (10 มิถุนายน พ.ศ. 2394 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
- หม่อมเจ้าหญิงชุ่ม สุริยกุล
- หม่อมเจ้าหญิงพร้อม สุริยกุล
- หม่อมเจ้าชายอินทนิล สุริยกุล เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงทับทิม สุริยกุล (ราชสกุลเดิม นิลรัตน) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา มีธิดา คือ
- หม่อมเจ้าชายสุด สุริยกุล มีหม่อมชื่อหม่อมจั่น สุริยกุล ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์ชาย สุริยกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงปี สุริยกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์ สุริยกุล
- หม่อมเจ้าชายถมยา สุริยกุล มีโอรส คือ
- หม่อมราชวงศ์ไล้ สุริยกุล สมรสกับ หม่อมเจ้าเฉลิม กุญชร พระธิดาในกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ มีบุตรธิดา 3 คน คือ
- ร้อยเอก หลวงวรภักดิ์ภูบาล[5] (หม่อมหลวงอาจ สุริยกุล) สมรสกับหม่อมราชวงศ์เบ็ญรัตน์ หัสดินทร ธิดา พลตรี หม่อมเจ้าสีไสยเฉลิมศักดิ์ หัสดินทร มีบุตรธิดา 4 คน คือ
- นางสุรัตนา ศรีวรรณยศ
- นายอาจิต สุริยกุล ณ อยุธยา สมรสกับ นางสาวอัมพวัน กุญชร ณ อยุธยา
- นางวนิดา กีรติบุตร สมรสกับ นายประเทือง กีรติบุตร
- นางสุมาลี กิจการ สมรสกับ นาวาตรีบุญชุบ กิจการ
- และมีบุตรกับนางแก้วอีก 3 คน คือ
- นายอุกฤษ สุริยกุล ณ อยุธยา
- นายอุทัย สุริยกุล ณ อยุธยา
- นางสาวเอื้อม สุริยกุล ณ อยุธยา
- ร้อยโท หม่อมหลวงเลื่อน สุริยกุล
- หม่อมหลวงแฉล้ม อุปถัมภ์นรารมณ์
- หม่อมเจ้าชายทับทิม สุริยกุล (ไม่มีข้อมูล - สมัยรัชกาลที่ 5) รับราชการทหารประจำการอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แต่ถูกวางยาพิษจนถึงแก่ชีพิตักษัยเมื่อต้นรัชกาลที่ 5 มีโอรสและธิดา ได้แก่
- เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ประดับ สุริยกุล ในรัชกาลที่ 5
- หม่อมราชวงศ์คล้อย สุริยกุล สมรสกับจิ๋ว (สกุลเดิม ธนภูมิ) มีบุตรธิดา คือ
- หม่อมหลวงเคลิ้ม สุริยกุล
- หม่อมหลวงทรัพย์ สุริยกุล[6]
- หม่อมหลวงสิทธิ์ สุริยกุล
ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร |
---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
---|
ปิด
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2332 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยา
- 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2367 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยา
- พ.ศ. 2367 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรามอิศเรศร
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นรามอิศเรศร
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนรามอิศเรศร
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร สรรพเชษฐบรมวงศ์ ปฐมพงศภูวนาถ วรราชศักดิสมมุติ วิสุทธิเกียรติคุณ วิบุลยเดชบดินทร นรินทรบพิตร
ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร ...
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร |
|
ปิด
- เชิงอรรถ
หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวรภักดิ์ภูบาล (ม.ล.อาจ สุริยกุล) ณ วัดธาตุทอง สุขุมวิท วันที่ 16 มีนาคม 2507
หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงทรัพย์ สุริยกุล
- บรรณานุกรม
- ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่-๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561. [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณอยุธยา)]
- ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561. [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)]
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 18-20. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. ISBN 978-974-417-594-6