Remove ads
พระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) มีนามเดิมคือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา[1][2] เป็นอดีตหม่อมในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอดีตนักแสดงชาวไทย มีชื่อแรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ ชื่อเล่น เบนซ์ และเคยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่งช่วงปี พ.ศ. 2520–2522 แล้วออกจากวงการบันเทิง และยังเป็นพระมารดาใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
สุจาริณี วิวัชรวงศ์ | |
---|---|
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ยุวธิดา ผลประเสริฐ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | ธนิต ผลประเสริฐ |
มารดา | เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2537–2539) |
บุตร | จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ วัชเรศร วิวัชรวงศ์ จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2520–2522 |
ผลงานเด่น | กาหลง - เลือดในดิน (2520) ช้อย - แสนแสบ (2521) |
ปัจจุบันสุจาริณีและพระราชโอรสทั้งสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ พำนักอยู่สหรัฐ[3]
สุจาริณีมีชื่อแต่แรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ เป็นธิดาของธนิต ผลประเสริฐ และเยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร[4] (วงศ์นาคน้อย) เยาวลักษณ์ เป็นนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานเพลงจำนวนหนึ่ง เธอเป็นธิดาของ นายเล็ก วงศ์นาคน้อย กับนางสมัคร วงศ์นาคน้อย คุณตา ของเธอ คือ นายฉันท์ โกมารกุล ณ นคร คุณตาของเธอ ยังเป็นพี่น้องกับ เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อีกด้วยสกุล โกมารกุล ณ นคร เป็นราชสกุลเชื้อสายตรงพระเจ้าตากสินมหาราช
หมวดหมู่:ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ยุวธิดา เธอ สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป
ธนิต ผลประเสริฐ (ชื่อเดิม เรือง[5]) บิดาของเธอเป็นอดีตนักแต่งเพลงและนักดนตรีของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้สมัครเป็นหน่วยกล่อมขวัญในกองทัพไทยช่วงสงครามเกาหลี[6]และสงครามเวียดนาม[5] ทั้งนี้บันทึกจากหนังสือ "อนุสรณ์สุนทราภรณ์ครบรอบ 30 ปี" ระบุว่าธนิตเขียนทำนองเพลงให้วงดนตรีสุนทราภรณ์จำนวน 300 – 400 เพลง[5] [7]
สุจาริณีเข้าสู่วงการแสดงจากการชักนำของศรินทิพย์ ศิริวรรณ โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี และยุวธิดา ผลประเสริฐ ที่เป็นชื่อจริงด้วย แสดงละครโทรทัศน์เรื่อง "กฎแห่งกรรม" และ "มนุษย์ประหลาด" จากนั้นรับบทตัวประกอบในภาพยนตร์ "15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน" (พ.ศ. 2520) กำกับโดยชนะ คราประยูร และบทรองใน "เลือดในดิน" (พ.ศ. 2520) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี และอรัญญา นามวงศ์ กำกับโดยสมสกุล ยงประยูร[8] และได้รับบทนำเป็น ช้อย ในภาพยนตร์เรื่อง "แสนแสบ" (พ.ศ. 2521) คู่กับไพโรจน์ สังวริบุตร กำกับโดยไพรัช กสิวัฒน์ "ไอ้ถึก" (พ.ศ. 2522) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี กำกับโดยจรัล พรหมรังสี อำนวยการสร้างโดยชาญ มีศรี [8] และ "หัวใจที่จมดิน" (พ.ศ. 2522) กำกับโดยเชาว์ มีคุณสุต คู่กับพิศมัย วิไลศักดิ์, พิศาล อัครเศรณี, อุเทน บุญยงค์ และมารศรี ณ บางช้าง [9][10][11]
ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 ยุวธิดาได้ออกจากวงการบันเทิง โดยปรากฏตามข่าวเพียงว่า "เธอ ยุวธิดา ผลประเสริฐ อดีตนางเอกดาวรุ่งหันหลังให้กับวงการบันเทิงด้วยความจำเป็นหลายประการ..."[12]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถแล้ว ได้มีปฏิสันถารกับสุจาริณีที่ขณะนั้นเป็นนักแสดงสาวที่มีชื่อเสียง และมีความสัมพันธ์ต่อกันช่วงปี พ.ศ. 2522-2530 ก่อนอภิเษกสมรสกัน สุจาริณีได้ให้ประสูติพระโอรส-ธิดา จำนวนห้าองค์ ได้แก่[13][14]
ล่วงมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ทั้งสองได้อภิเษกสมรส โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมาร่วมพิธี แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนีพันปีหลวงมิได้เสด็จพระราชดำเนินด้วย หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้มียศเป็น พันตรีหญิง แห่งกองทัพบกไทย และปรากฏตัวร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพระราชพิธีต่าง ๆ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพ.ศ. 2539 หม่อมสุจาริณีและพระโอรส-ธิดาทั้งห้าองค์ได้ลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษด้วยเหตุขัดแย้งกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำให้มีการโปรยใบประกาศรอบพระตำหนักนนทบุรี กล่าวหาว่าหม่อมสุจาริณีคบชู้กับพลอากาศเอกอนันต์ รอดสำคัญ ผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์[19] ตามมาด้วยการถอดยศทหารอากาศคนดังกล่าว ด้วยข้อหาผิดวินัยและหลบหนีคดีอาญา[20][21](ทั้งหมดคือข้อกล่าวหา ซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าคือความจริงหรือไม่?)
หลังหม่อมสุจาริณีลี้ภัยไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า วิวัชรวงศ์ ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่ประเทศไทยโดยอยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[22] ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[23][24] ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน[25]
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2514 | กฎแห่งกรรม | |
มนุษย์ประหลาด | ||
2520 | คมพยาบาท | น้อย |
2521 | ป่าฆาตกร |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.