คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
วัชเรศร วิวัชรวงศ์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
ดร.วัชเรศร วิวัชรวงศ์[1][2][3] (พระนามเดิม หม่อมเจ้าวัชเรศร มหิดล) หรือ ท่านชายอ้น (เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ และเป็นพระเชษฐาใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปัจจุบันได้ย้ายกลับมาพำนักที่ประเทศไทยเป็นการถาวร
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน (พฤศจิกายน 2567) |
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
วัชเรศร ประสูติวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ตรีศก จ.ศ. 1343 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 เมื่อแรกเกิดมีพระยศที่ “หม่อมเจ้า” พระนามว่า หม่อมเจ้าวัชเรศร มหิดล เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ มีพี่น้องร่วมมารดาอีก 4 คน และ 1 พระองค์ คือ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์, วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
และนอกจากนี้ท่านชายยังมีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาต่างพระมารดาทั้งสองพระองค์ได้แก่
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
บรรพชา
วัชเรศร วิวัชรวงศ์ เคยบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยความขัดแย้งภายในครอบครัว ทำให้หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ในขณะนั้น พาพระโอรส พระธิดา ไปประทับยังสหราชอาณาจักร ภายหลังพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (ขณะทรงดำรงพระยศที่ "หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล") พระธิดาองค์เล็ก มาประทับในประเทศไทย และในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2540 ได้มีหนังสือผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ลอนดอนแจ้งต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องว่า ท่านชายทั้งสี่ถูกถอดออกจากสถานะพระราชวงศ์ ไม่มีสิทธิ์ในการใช้ฐานันดร "หม่อมเจ้า" และเปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานว่า "วิวัชรวงศ์" แทน อย่างไรก็ตาม ไม่พบ ประกาศการถอดฐานันดรศักดิ์ในราชกิจจานุเบกษา[4][5]
วัชเรศรเป็นที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท แมนีย์ แอนด์ กอร์ดอน (Maney & Gordon, P.A., Tampa)[6] โดยพำนักอยู่กับมารดาและพี่น้อง ณ นครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา[7][8][9]
อุปสมบทครั้งที่ 1
วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 วัชเรศร วิวัชรวงศ์ ได้อุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา[10]
เดินทางกลับราชอาณาจักรไทย
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2566 วัชเรศรเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ย้ายไปพำนักที่ต่างประเทศ[11] นับเป็นการกลับไทยในรอบ 27 ปี[12] มีกำหนดการอยู่ในประเทศไทย 1 สัปดาห์[13] ก่อนออกเดินทางจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยสายการบินเอมิเรตส์[14]
ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2566 วัชเรศรเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีและมีกำหนดการอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 14 วัน[15] และได้เดินทางออกจากประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566[16]
ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 วัชเรศรเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3[17] เป็นการเดินทางกลับมาพำนักที่ประเทศไทยเป็นการถาวร
อุปสมบทครั้งที่ 2
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 วัชเรศร วิวัชรวงศ์ ได้อุปสมบท ณ วัดปริวาสราชสงคราม
Remove ads
การศึกษา
- โรงเรียนอนุบาลจุไรรัตน์ กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
- Trinity Preparatory School ประเทศสหรัฐอเมริกา[18]
- ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จาก Stetson University College of Law ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]
- ปริญญาโท สาขากฎหมายเปรียบเทียบระหว่างประเทศ จาก George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]
- ปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ จาก Stetson University College of Law ประเทศสหรัฐอเมริกา[7]
การทำงาน
- เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 จัดตั้งกองทุนการศึกษา Thai Heritage Scholarship Fund of New York สำหรับนักเรียนไทยในนครนิวยอร์ก เพื่อสนับสนุนให้เด็กนักเรียนไทยที่เกิดหรือศึกษาต่างแดนได้ระลึกถึงประเทศบ้านเกิดของตัวเอง และทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ[19][20][21]
- วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 วัชเรศรและพี่น้องมีสารแสดงความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรผ่านเฟซบุ๊ก[22]
- วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็นประธานทอดกฐินสามัคคี เนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปี ของสมาคมรวมไทย ประเทศฮ่องกง[23]
- วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563 รับเป็นประธานและส่งผู้แทนตั้งองค์กฐินและปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เพื่อสร้างสันติภาพสู่สันติสุขทั่วไทย น้อมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[24]
- วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567 ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกสภาทนายความ
- วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เยี่ยมชมกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ณ ศูนย์สื่อสารประสานงานภัยพิบัติ (ศูนย์สายลม)[25] สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ตามคำเชิญของสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สนใจที่จะสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
- วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ตอบรับเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ของ สมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร [26] และ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ องค์กรมิสเอิร์ธไทย
- วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ร่วมในการถวายพระพรชัยมงคลบนคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์สื่อสาร สำนักงาน กสทช. ซึ่งจัดโดย สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร
พระเกียรติยศ
ชื่อและฐานันดรศักดิ์
- หม่อมเจ้าวัชเรศร มหิดล (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 - 13 มกราคม 2540)
- วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ (13 มกราคม พ.ศ. 2540 - 2563)
- วัชเรศร วิวัชรวงศ์ (2563 - ปัจจุบัน)[ต้องการอ้างอิง]
Remove ads
ลำดับสาแหรก
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads